fbpx

Exclusive Interview “ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา เราประกาศต่อโลกว่ายังไม่แพ้ และจะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้น” – ‘คีรา รูดิก’ ส.ส. ยูเครนที่ตัดสินใจจับปืนเพื่อประเทศ

“ในฐานะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคโฮโลส ฉันจะอยู่ที่คีฟ จับอาวุธ และรวบรวมคนที่สามารถถืออาวุธได้เข้ากลุ่มร่วมต่อต้าน”

“ทุกๆ ค่ำคืน โลกและพันธมิตรจะบอกว่า นี่อาจเป็นคืนสุดท้ายของคีฟแล้ว แต่ทุกเช้าที่เราตื่นขึ้นมา เราประกาศต่อโลกว่า เรายังไม่แพ้ คีฟยังไม่ถูกยึด บอกตามตรง เราวางแผนว่าจะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้น เราจะต่อต้านและสู้รัสเซียกลับ ไม่ใช่แค่ให้ถอยร่นจากยูเครนเท่านั้น แต่ให้ถอยกลับไปยังรัสเซียเลย”

รุ่งเช้าวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 เมื่อประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศ ‘ปฏิบัติการทางการทหารพิเศษ’ บุกโจมตียูเครน นั่นคือสัญญาณว่าความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนยกระดับไปสู่สงครามเต็มขั้นแล้ว

ขณะที่รัสเซียมุ่งรุกเปิดฉากโจมตียูเครนจนปรากฏเป็นโศกนาฏกรรมอันเลวร้ายครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ณ ใจกลางยูเรเชีย ในบรรดาประชาชนร่วมหลายหมื่นที่ตัดสินใจละทิ้งชีวิตสามัญธรรมดาและร่วมจับปืนต่อต้านการใช้กำลังทางทหารที่ก้าวร้าวและไร้ความชอบธรรมของรัสเซีย ‘คีรา รูดิก’ ส.ส. หญิงยูเครน หัวหน้าพรรคโกโลส คือหนึ่งในนั้น

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกจับตามองสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย 101 มีโอกาสต่อสายตรงไปยังกรุงคีฟเพื่อคุยกับคีราว่า อะไรที่ทำให้นักการเมืองอย่างเธอที่ไม่เคยคิดฝันจะจับอาวุธตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มต่อต้านและรับการฝึก พร้อมชวนคุยถึงความคิดความอ่านของเธอในห้วงเวลาสำคัญที่จะนำสันติภาพกลับมาสู่ยูเครน

อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ ที่นี่

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

9 Mar 2018

สีจิ้นผิงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

อาร์ม ตั้งนิรันดร วิเคราะห์เส้นทางการเมืองของสีจิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนที่สามารถรวบอำนาจมาอยู่ในมือได้สำเร็จเด็ดขาด สีจิ้นผิงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? และสุดท้ายเขาจะพาจีนพังกันหมดหรือไม่?

อาร์ม ตั้งนิรันดร

9 Mar 2018

World

17 Jul 2020

ร่วมรากแต่ขัดแย้ง ความบาดหมางระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ทั้งสองประเทศมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง จนนำไปสู่ความขัดแย้งในการช่วงชิงความเป็นเจ้าของภาษาและวัฒนธรรมมลายู

อรอนงค์ ทิพย์พิมล

17 Jul 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save