fbpx
อินเทอร์เน็ตเทรนด์ 2019 จาก แมรี่ มีคเกอร์ ‘เจ้าแม่แห่งอินเทอร์เน็ต’

อินเทอร์เน็ตเทรนด์ 2019 จาก แมรี่ มีคเกอร์ ‘เจ้าแม่แห่งอินเทอร์เน็ต’

โตมร ศุขปรีชา เรื่อง

กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ

 

ถ้าถามว่า ใครเป็นระดับเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งอินเทอร์เน็ตบ้าง หลายคนอาจตอบว่า ก็มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กไง หรือไม่ก็เจฟ เบซอส หรือบางทีก็ไปถึงบิล เกตส์ หรือบิ๊กเนมทั้งหลาย

แต่เอาเข้าจริง คนเหล่านั้นไม่ได้รู้จักอินเทอร์เน็ตแบบ ‘กว้าง’ นะครับ ส่วนใหญ่ทำธุรกิจของตัวเอง แม้ว่าธุรกิจจะใหญ่มาก แต่ก็ไม่สามารถครอบคลุมทุกมิติแห่งอินเทอร์เน็ตได้ เช่น มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก อาจรู้จักเฟซบุ๊กดีกว่าใครในโลกนี้ (แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจน้อยกว่าเอไอและอัลกอริธึมที่ทำงานอยู่ข้างหลัง) แต่กระนั้น มาร์คอาจไม่รู้เรื่องยอดขายมือถือ หรือปริมาณผู้ใช้กูเกิล หรือเรื่องของ E-Commerce ต่างๆ ในด้านลึก เพราะบิ๊กเนมเหล่านี้ต่างรู้เรื่องเฉพาะของตัวเองในแง่ ‘ลึก’ มากกว่า

ในวงการอินเทอร์เน็ตระดับโลกอย่างซิลิคอน วัลเลย์ คนที่ถือได้ว่าเป็น ‘เจ้าแม่’ แห่งอินเทอร์เน็ต (Queen of Internet) ตัวจริง ก็คือแมรี มีคเกอร์ (Mary Meeker) ต่างหากเล่า

เธอคือ V.C. หรือ Venture Capitalist และเคยเป็นนักวิเคราะห์ของวอลสตรีทมาก่อน แต่งานหลักๆ ของเธอก็คือเรื่องของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเธอมีประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการธุรกิจมามากมาย ตั้งแต่เคยทำงานร่วมกับเมอรีลลินช์ ในยุคแปดศูนย์ในฐานะโบรกเกอร์ค้าหุ้น แล้วก็คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่สมัย Netscape อันเป็นช่วงที่เธอทำงานอยู่กับมอร์แกน สแตนเลย์

มีคเกอร์ผ่านยุคดอทคอมบูม (Dot Com Boom) ก่อนปี 2000 มาแล้วหนหนึ่ง ก่อนจะมาพบกับภาวะฟองสบู่ดอทคอม (Dotcom Bubble) ในช่วงปี 2000 ถึง 2002 เธอยังเคยเป็นหุ้นส่วนของ Kleiner Perkins Caufield & Byers ซึ่งทำเรื่อง V.C. และเธอเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทุกเรื่อง ตั้งแต่การผลักดันเรื่องโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตในละตินอเมริกาและทั่วโลก

ในแต่ละปี สิ่งที่คนในวงการอินเทอร์เน็ตเฝ้าคอยมากที่สุด ก็คือรายงานประจำปีของเธอที่เรียกว่า Annual Internet Trends Report โดยเธอนำเสนอ ‘สไลด์’ ของเธอในงาน Code Conference ประจำปี โดยเจ้าสไลด์ที่ว่านี้ มีมากกว่า 300 ชิ้น จึงเป็นข้อมูลมากมายมหาศาลที่ต้องนำมากลั่นกรองกันอีกที

ในที่นี้ จะขอเลือกเทรนด์บางส่วนที่คิดว่าสำคัญต่อตลาดอินเทอร์เน็ตไทยมานำเสนอนะครับ แต่ถ้าใครอยากดูสไลด์เต็มๆ ก็เข้าไปดูได้ที่นี่ สามารถดาวน์โหลดมานั่งดูนอนดูได้เลยครับ

เทรนด์ต่างๆ ที่ว่า ได้แก่

1.ในบรรดาบริษัทที่มีมูลค่าที่สุดในโลก 10 อันดับแรก (โดยดูจาก Market Capitalization หรือ Market Cap ซึ่งก็คือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด) นั้น มีถึง 7 บริษัทด้วยกัน ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี โดยอันดับแรกคือ Microsoft ตามมาด้วย Amazon, Apple, Alphabet, Berkshire Hathaway, Facebook, Alibaba, Tencent, Visa และ Johnson & Johnson โดยบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทเทคฯ ได้แก่ Berkshire Hathaway, Visa และ Johnson & Johnson แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดีว่าบริษัทเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงในหลายเรื่อง

2.การค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E-Commerce นั้น ตอนนี้มีมูลค่า 15% ของค้าปลีกทั้งหมด แม้ว่าอัตราเติบโตจะช้าลง แต่ว่าก็ยังสูงกว่าการค้าปลีกแบบปกติทั่วไปอยู่ดี นั่นคือ E-Commerce เติบโต 12.4% ในไตรมาสแรก แต่ค้าปลีกทั่วไปโตแค่ 2% เท่านั้นเอง

3.คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตในโลกนี้ (มีคเกอร์เรียกว่า Internet Penetration หรือการ ‘เจาะทะลวง’ เข้าถึงอินเทอร์เน็ต) ปัจจุบันมีอยู่ 51% ของประชากรโลก คือเกินครึ่งไปแล้ว โดยเพิ่มจากแค่ 24% ในปี 2009 มาเป็น 49% ในปี 2017 และ 51% ในปี 2018 ซึ่ง 51% นี่ เท่ากับสามพันแปดร้อยล้านคน ซึ่งมากมายก่ายกอง

4.แต่กระนั้น มีคเกอร์ก็บอกด้วยว่า อัตราการเติบโตเริ่มช้าลงแล้ว เพราะเหมือนตลาดออนไลน์เริ่มอิ่มตัว คนหน้าใหม่เข้ามาน้อยลง ซึ่งถ้าดูจากยอดขายมือถือแบบสมาร์ทโฟน จะเห็นได้ชัดเลย เพราะว่าสมาร์ทโฟนคือจุดเข้าถึงหลักของคนทั้งโลก และยอดขายสมาร์ทโฟนก็กำลังลดลง ทั้งนี้เพราะคนส่วนใหญ่เข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์เรียบร้อยแล้ว (อย่างน้อยๆ ก็มากกว่าครึ่งโลก)

5.ทีนี้ถ้ามาดูเฉพาะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง เราจะพบว่า ภูมิภาคที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเยอะที่สุดตอนนี้ไม่ใช่ยุโรปหรืออเมริกาแล้วนะครับ แต่คือเอเชีย เฉพาะในภูมิภาคเอเชียนั้น คนเอเชียเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 48% ซึ่งคิดเป็น 53% ของทั้งโลก ในยุโรป คนยุโรปอาจจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 78% ก็จริง แต่เพราะจำนวนคนน้อย ทำให้คิดเป็นสัดส่วนของทั้งโลกแค่ 15% เท่านั้นเอง หรือในอเมริกาเหนือ คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ 89% แต่ก็คิดเป็นแค่ 9% ของทั้งโลก ในขณะที่แอฟริกาและตะวันออกกลาง คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 13% แต่คิดเป็นถึง 32% ของทั้งโลก ดังนั้น ภูมิภาคที่น่าจับตามองมากๆ จึงคือเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางนี่แหละครับ เพราะยังเติบโตได้อีกมาก แถมยังเป็นผู้เล่นที่มีขนาดใหญ่ด้วย

6.แล้วถ้าแตกออกมาเป็นประเทศ เราจะพบว่า ประเทศสิบอันดับแรกที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สด คือจีน ตามด้วยอินเดีย, สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, บราซิล, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เม็กซิโก, เยอรมนี และฟิลิปปินส์

7.สิ่งสำคัญมากๆ อีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในโลก ก็คือความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy มีคเกอร์พบว่า ในไตรมาสแรกของปี เว็บทราฟฟิกในโลกมีอยู่ถึง 87% ที่เข้ารหัส (encrypted) กระโดดขึ้นมาจาก 53% ใน 3 ปีที่แล้ว

8.ในสหรัฐอเมริกา การใช้เงินค่าโฆษณาในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 22% ในปี 2018 โดยส่วนใหญ่เป็นโฆษณาที่ไปลงในกูเกิลและเฟซบุ๊ก แต่อะเมซอนและทวิตเตอร์ก็กำลังเติบโตแย่งส่วนแบ่งตลาดอยู่ด้วยเช่นกัน โดยโฆษณาส่วนใหญ่ราว 62% เป็นโฆษณาแบบตั้งโปรแกรม (Programmatic Ads) คือมีการใช้อัลกอริธึมเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด โฆษณาประเภทนี้ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

9.คนอเมริกันใช้เวลาอยู่กับสื่อออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2018 มีการใช้งานเฉลี่ยถึงวันละ 6.3 ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 7% จากปีที่ผ่านมา โดยการใช้งานจะหันไปใช้งานจากมือถือกันมากขึ้น ในขณะที่การใช้งานจากคอมพิวเตอร์กลับลดลง ที่น่าสนใจก็คือ มีถึงกว่าหนึ่งในสี่ ที่แทบจะออนไลน์ ‘ตลอดเวลา’

10.ส่วนเรื่องที่กำลังฮิตกันมากในไทย คือพ็อดแคสต์นั้น มีคเกอร์บอกว่าคนฟังพ็อดแคสต์ในอเมริกาก็เพิ่มมากขึ้นเหมือนกัน คือจาก 22 ล้านคน ในปี 2008 มาเป็น 70 ล้านคน ในปี 2018 โดยสิบอันดับพ็อดแคสต์ยอดนิยมได้แก่

  • The Daily โดย The New York Times
  • The Joe Rogan Experience โดย Joe Rogan
  • Stuff You Should Know โดย iHeartMedia
  • Fresh Air โดย National Public Radio
  • The Dave Ramsey Show โดย Dave Ramsey
  • My Favorite Murder โดย Exactly Right
  • TED Talks Daily โดย TED
  • Up First โดย National Public Radio
  • The Ben Shapiro Show โดย The Daily Wire
  • Pod Save America โดย Crooked Media

 

11.ในสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ใช้ Wearable Device คืออุปกรณ์ติดตัวที่วัดค่าโน่นนั่นนี่ได้ เพิ่มขึ้นจาก 25 ล้านคน ในปี 2014 มาเป็น 52 ล้านคน ในปี 2018 และที่น่าสนใจก็คือ ถ้าดูตัวเลขทั่วโลก ดูเหมือนคนจะออกกำลังกายมากขึ้น เพราะตัวเลขของ Active Neighbourhood หรือย่านที่มีความแอ็คทีฟ (คือคนออกมาออกกำลังกายกันมากขึ้นโดยใช้ Wearable Devices ต่างๆ) เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ภายในเวลา 2 ปี คือจากที่เคยมี Active Neighbourhood ราว 125,000 แห่งในปี 2017 พอถึงปี 2019 พุ่งขึ้นไปเป็นราว 250,000 แห่ง

12.ปิดท้ายด้วยเทรนด์น่าสนใจในเรื่องเสรีภาพของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต รายงานนี้พบว่า ประชากรกลุ่มที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเสรีลดลง จากปี 2016 มีอยู่ 24% พอถึงปี 2018 เหลือ 20% แต่ที่เข้าถึงได้บางส่วน (Partly Free) เพิ่มขึ้น คือจาก 29% ในปี 2016 มาเป็น 33% ในปี 2018 และที่ไม่มีเสรีภาพเลยก็ลดลง จาก 35% ในปี 2016 มาเป็น 34% ในปี 2018

 

รายงานนี้ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่น่าวิเคราะห์และเขียนถึง ลงลึกถึงไปการจ้างงาน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หรือกระทั่งความปลอดภัยในการใช้วิธีปลดล็อกสองชั้น (2-Factor Authentication) และอื่นๆ อีกมากมาย

สิบสองข้อที่ยกมานี้เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ เท่านั้นครับ ถ้าอยากเจอกับอาหารจานโตโอชะละก็ ต้องคลิกเข้าไปดู

สนุกมาก!

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save