fbpx
ศิลปินที่ทำให้ ‘ดวงอาทิตย์’ และงานศิลปะเป็นของใครก็ได้

ศิลปินที่ทำให้ ‘ดวงอาทิตย์’ และงานศิลปะเป็นของใครก็ได้

[et_pb_section bb_built=”1″][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.0.106″ background_color=”#eaeaea” background_layout=”light”]

บทความชวนดูงานศิลปะจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคนผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.0.106″ background_layout=”light”]

Eyedropper Fill เรื่อง

เมษาหน้าร้อนแบบนี้ หากใครชวนเข้าแกลอรี่เพื่อไปดู ‘ดวงอาทิตย์’ คงโดนหาว่าบ้า แต่วาร์ปไปยังกรุงลอนดอน ที่ที่ดวงอาทิตย์จะโผล่ให้เห็นนานครั้ง การที่ Olafur Eliasson ศิลปินชาวเดนิช-ไอแลนดิก ยกดวงอาทิตย์มาตั้งไว้ใจกลางพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Tate Modern สร้างปรากฏการณ์ที่มากไปกว่าเหงื่อไคลและอุณหภูมิ

‘Weather Project’

‘Weather Project’ เริ่มต้นจากไอเดียง่ายๆ ที่อยากจะให้ ‘ใครก็ได้’ เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่เดียวกัน Eliasson บอกว่าไม่มีอะไรจะธรรมดาสามัญไปกว่าเรื่องของสภาพอากาศหรือแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในบทสนทนาของทุกคนในทุกวัน และเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติไม่กี่อย่างที่คนในเมืองยังเชื่อมโยงได้อยู่

แผ่นโปร่งแสงครึ่งวงกลมขนาดเกือบยี่สิบเมตร ภายในมีหลอดไฟกว่าสองร้อยดวงส่องแสงสีเหลืองส้ม ติดตั้งอยู่ที่ผนังด้านในสุดของ Turbine Hall โถงยาว 150 เมตรที่ปกคลุมด้วยม่านหมอก ครึ่งวงกลมสะท้อนแผ่นกระจกบนเพดานจนกลายเป็นวงกลมสมบูรณ์เหมือนดวงอาทิตย์ขนาดยักษ์

‘Weather Project’

สำหรับประชาชนในเมืองที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า และมีพื้นที่สาธารณะนับนิ้วได้อย่างกรุงเทพฯ ภาพของการนอนอ่านหนังสือ, นั่งซบไหล่แฟน หรือสุมหัวคุยงานกันนอกบ้าน ในที่ที่ไม่ใช่ห้าง อย่างที่เราเห็นในต่างประเทศจึงเป็นภาพที่ห่างไกลคนไทยจนงงว่า มันมีด้วยเหรอ !?

แต่กับ Weather Project หลังหลุดจากภวังค์ของดวงอาทิตย์ที่ตระหง่านปะทะสายตาคนที่ก้าวเข้ามาในโถง พื้นที่ว่างภายในแกลอรี่กลับเปิดให้ทุกคนเข้ามาเป็นเจ้าของร่วมกัน ทั้งยืนดู, นั่งคุย ไปจนถึงเอาหนังสือมาอ่าน บางกลุ่มสร้างสรรค์หน่อยก็นอนเรียงกันเป็นตัวอักษร ต่อกันเป็นประโยคและถ่ายภาพสะท้อนจากกระจกบนเพดาน หรือจับกลุ่มเต้นกันในแกลอรีก็มี !

วิดีโอ Weather Project

ด้วยระยะเวลาการจัดแสดงที่นานทำให้พื้นที่ของงานกลายเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ชาว London แวะเวียนมาใช้บริการ พักผ่อน และทำกิจกรรมไม่ต่างกับสวนสาธารณะ สมความตั้งใจที่ Eliasson บอกว่าอยากให้งานศิลปะชิ้นนี้สร้างความรู้สึกของความเป็นชุมชน, การอยู่ร่วมกัน และประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของศิลปะ

แสงสว่างเป็นสิ่งที่ยึดโยงและเชื่อมคนเข้าไว้ด้วยกัน’ – Olafur Eliasson

จากดวงอาทิตย์ดวงที่สองใน Weather Project สิบปีต่อมา Olafur Eliasson คนเดิมเนรมิตดวงอาทิตย์ดวงที่สอง สาม สี่ ห้า … แต่ย่อจากไซส์ยักษ์ลงเหลือเพียงครึ่งไม้บรรทัด

‘Little Sun’

‘Little Sun’ โคมไฟพกพารูปดอกทานตะวันสีเหลืองใช้พลังงานจากแผงโซล่าร์เซลล์ที่อยู่ด้านหลังชิ้นนี้เป็นการร่วมมือกันของ Eliasson และวิศวกร Frederik Ottesen เป็นงานศิลปะที่ Eliasson นิยามว่าเป็น ‘work of art that works in life’ หรืองานศิลปะที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

วิดีโอ Little Sun

https://vimeo.com/66316402

Eliasson ออกตัวว่าเขาหมกมุ่นกับเรื่องแสง Little Sun จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของ ‘แสงสว่าง’ โดยเฉพาะกับคนในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงที่เคยต้องใช้แสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันก๊าดที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพในระยะยาว

‘Little Sun’

หลังจากเปิดตัวและจัดแสดงใน Tate Modern โคมไฟ Little Sun ถูกวางขายที่ MoMa Design Store กว่าหนึ่งแสนชิ้น

โคมไฟทั้งหมดไม่ได้ถูกหยิบไปวางอยู่บนชั้นวางของเก๋ไก๋ของดีไซเนอร์เพียงอย่างเดียว เพราะหนึ่งในสามถูกส่งออกไปจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ งานศิลปะชิ้นนี้สร้างรายได้ให้ร้านขายปลีกในชุมชน เป็นงานศิลปะไม่กี่ชิ้นที่เดินทางไปถึงมือของผู้คนในดินแดนที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงในทวีปแอฟริกา, อเมริกา และคนในอีกหลายประเทศทั่วโลก Little Sun มอบแสงสว่างให้เด็กๆ ได้อ่านหนังสือตอนกลางคืน, แพทย์ชุมชนสามารถรักษาคนไข้ได้ทุกเวลา และอีกหลายอาชีพที่มีโอกาสทำงานได้หลังพระอาทิตย์ตกดิน

‘Little Sun’

แสงอาทิตย์ของ Weather Project และ Little Sun จาก Olafur Eliasson นอกจากจะทำให้เรานึกย้อนไปถึงสิ่งธรรมดาสามัญอันเป็นต้นกำเนิดชีวิตอย่างดวงอาทิตย์แล้ว

งานศิลปะยังมอบพลังงานให้แก่ผู้ชม (หรืออาจะต้องเรียกว่าผู้ใช้) ได้จริงแบบเป็นรูปเป็นร่าง ทั้งพลังงานของคนหลากหลายที่รวมตัวกันทำให้แกลอรี่กลายเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมแห่งใหม่ หรือแม้กระทั่งพลังงานแสงสว่างที่ทำให้ชีวิตของผู้คนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้กลับดีขึ้นได้

ย้ำอีกที ทั้งหมดนี้คืองานศิลปะ !

อ้างอิง

http://olafureliasson.net/archive/artwork/WEK101003/the-weather-project

http://olafureliasson.net/archive/artwork/WEK107424/little-sun

http://artlead.net/content/journal/modern-classics-olafur-eliasson-the-weather-project-2003/

http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series/unilever-series-olafur-eliasson-weather-project-0

https://onartandaesthetics.com/2016/04/25/the-weather-project/

https://www.moma.org/explore/inside_out/2014/03/26/olafur-eliassons-little-sun-a-work-of-art-that-works-in-life/

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save