
เมื่อพูดถึง ‘เรือนจำ’ หรือที่คนมักเรียกกันติดปากว่า ‘คุก’ ภาพในใจใครหลายคนคงหนีไม่พ้นอาคารสูงทะมึน กำแพงสูงหนา กั้นคนภายในออกจากภายนอก ตามความคิดที่เราเชื่อกันมานานแสนนานว่า คนที่อยู่ในคุกเป็นคนไม่ดี จำเป็นต้องถูกกักขังและได้รับบทลงโทษ อีกทั้งยังเพื่อบำบัดฟื้นฟูพวกเขาและสร้างความปลอดภัยให้กับสังคมส่วนรวม
นั่นไม่ใช่ความคิดที่ผิดไปเสียทั้งหมด ผู้ต้องขังจำนวนหนึ่งทำความผิดและจำเป็นต้องได้รับโทษคุมขัง แต่ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ต้องขังอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ทำความผิดในคดีร้ายแรง แต่ด้วยตัวกระบวนการทำให้เขาหรือเธอจำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ จนเกิดปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำซึ่งเป็นปัญหาที่กระบวนการยุติธรรมไทยและอีกหลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ ยังไม่นับปัญหาความไม่อ่อนไหวด้านเพศภาวะที่เกิดขึ้นในเรือนจำ ทำให้ผู้ต้องขังหลายคนต้องเจอกับปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ปัญหาในกระบวนการยุติธรรมกลายเป็นปัญหาสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการแก้ปัญหา หนึ่งในนั้นคือ ‘ข้อกำหนดกรุงเทพ’ (The Bangkok Rules) ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางอย่างผู้หญิง ตั้งแต่แรกรับเข้าสู่เรือนจำจนถึงวันที่พ้นออกจากรั้วเรือนจำไปแล้ว กระนั้นก็ดี นอกจากข้อกำหนดกรุงเทพที่มุ่งทำงานกับผู้ต้องขังในเรือนจำแล้ว ยังมีประเด็นอื่นที่ควรพิจารณาอีกด้วย – เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะแก้ที่รากฐานของปัญหาตั้งแต่ต้น โดยการใช้มาตรการอื่นแทนการส่งคนเข้าคุก และเราจะลดช่องว่างระหว่างชุมชนกับเรือนจำอย่างไร เพื่อไม่ให้อดีตผู้ต้องขังต้องรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเสมือนถูกสังคมตีตรา
เรื่องที่ว่ามาอาจฟังดูไกลตัว เป็นเรื่องคน (ใน) คุก หรือเรื่องของคนในกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่ถ้ามองให้ลึกกว่านั้น นี่คือเรื่องของมนุษย์ และเรากำลังพูดโดยคำนึงถึงมิติของความเป็นมนุษย์ที่ถูกทั้งกำแพงหนาสูงและอคติในใจของเราบดบังอยู่
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ข้อกำหนดกรุงเทพ ในเดือนธันวาคมนี้ 101 ชวนคุณสำรวจเรื่องราวในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ได้ไกลตัวเราอย่างที่คิด ไล่เรียงตั้งแต่ภาพใหญ่จนกระทั่งถึงเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ที่ดำเนินอยู่ในทุกวัน
เพียงแค่คุณลองเปลี่ยนมุมมอง
ภาพที่เคยเห็นก็อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เคยคิดเสมอไป

101world | Nov 11, 2019
ประมวลผลงานชุด ‘ชีวิตในเรือนจำ’ ซึ่งอาจช่วยลบภาพจำเดิมๆ เกี่ยวกับเรือนจำ รวมถึงผู้ต้องขัง ที่ไม่ได้มีแต่ความมืดมิดหรือเลวร้ายเสมอไป
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย | Feb 9, 2020
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย สนทนากับ สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ ว่าด้วยแนวโน้มการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน การนำกีฬามาใช้เพื่อป้องกันและลด
วจนา วรรลยางกูร | Apr 3, 2020
คุยกับ ดร.นัทธี จิตสว่าง ถึง 10 ปี ‘ข้อกำหนดกรุงเทพ’ สำรวจสถานะปัจจุบันของเรือนจำไทย และมองไปยังอนาคตในการพัฒนาเชิงนโยบาย
ปกป้อง จันวิทย์ | Jun 16, 2020
101 สนทนากับ กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เพื่อร่วมหาคำตอบว่า โจทย์เรื่องความยุติธรรมในยุคโควิด-19 เปลี่ยนไปอย่างไร เราจะพลิกวิกฤตใหญ่ครั้งนี้
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย | Dec 17, 2020
101 ชวนร่วมเดินตามเส้นทางของข้อกำหนดกรุงเทพที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิง – โครงการนี้เริ่มต้นได้อย่างไร ข้อกำหนดกรุงเทพอยู่ตรงไหน
วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา | Dec 21, 2020
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของข้อกำหนดกรุงเทพ 101 สนทนากับ มิวะ คาโต้ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ UNODC ย้อนมองการใช้ข้อกำหนดกรุงเทพ
ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย | Jan 6, 2021
101 นัดคุยกับ ‘ป้ามล’ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก ผู้ทำงานกับผู้กระทำผิดมาหลายสิบปี

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ | Dec 28, 2020
101 สนทนากับ กรกนก คำตา ถึงประสบการณ์และมุมมองของเธอต่อมาตรการและความเป็นอยู่ในเรือนจำหญิง และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาเรือนจำ
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ | Dec 28, 2020
101 สนทนากับอนุสรณ์ อุณโณ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องปัญหาในเรือนจำ
ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย | Apr 19, 2021
101 ชวนอ่านเรื่องเล่าในเรือนจำหญิงจากอดีตผู้ต้องขัง สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ทั้งการกินอยู่ นอนหลับ และกิจกรรมที่ทำระหว่างช่วงวัน เมื่อคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังหญิงจำเป็นต้องได้รับการใส่ใจและแก้ไข

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย | Jul 7, 2020
101 สนทนากับ ธิษณา ธิติศักดิ์สกุล และ นพพล ชูกลิ่น สองผู้เข้าร่วมหลักสูตร RoLD (TIJ Executive Program on Rule of Law and Development)
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย | Jan 6, 2021
101 เก็บความจากงานเสวนาที่รวมเอาภาคส่วนต่างๆ ของสังคมมาร่วมเสวนาเกี่ยวกับ ‘นวัตกรรมทางความคิดเพื่อสร้างกลไกความช่วยเหลือผู้ก้าวพลาด’
ชลิดา หนูหล้า | Jan 11, 2021
101 ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ ‘จอย’ พิมลัดดา มารยาตร์ ผู้ได้รับโอกาสครั้งที่สองจากโครงการ ‘Street Food สร้างโอกาส’ เพื่อประกอบอาชีพหลังออกจากเรือนจำ

101world | Dec 17, 2020
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ข้อกำหนดกรุงเทพ 101 ชวนคุณเปิดตาและเปิดใจ มองให้ไกลกว่ากำแพงเรือนจำและกำแพงอคติที่กั้นขวางเรากับคน (ใน) คุก
101 One-on-One | Dec 24, 2020
สนทนาถึงปัญหาและหนทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และภาพแบบไหนในกระบวนการยุติธรรมที่เขาใฝ่ฝันถึง