fbpx

หัวลำโพงที่ไม่เหมือนเดิม เมื่อรถไฟขบวนสุดท้ายกำลังมาถึง?

เรื่องและภาพ เมธิชัย เตียวนะ

กว่า 105 ปีที่สถานีรถไฟหัวลำโพงทำหน้าที่รับผู้คนจากหลายภูมิภาคเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเป็นยานพาหนะรับผู้โดยสารจากชานเมืองเข้ามาทำงานในตัวเมือง ไม่เพียงแต่ผู้คนที่โดยสารมาเท่านั้น แต่สินค้าต่างๆ ก็หลั่งไหลเข้ามาพร้อมขบวนรถไฟซึ่งต่างมาบรรจบที่สถานีรถไฟแห่งนี้

HuaLampong_02

กระทั่งปลายปี 2564 มีข่าวว่าจะการรถไฟไทยจะยุติการให้บริการรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพง วันที่ 24 ธันาคม 2564 จะไม่มีขบวนรถไฟโดยสารเข้าสถานีหัวลำโพงอีกต่อไป หลังจากสังคมได้ยินคำประกาศนี้ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงประเด็นที่ว่า ‘การอนุรักษ์’ กับ ‘การพัฒนา’ จะเดินไปด้วยกันอย่างไร

ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับสถานีรถไฟหัวลำโพง เสียงจากอีกด้านค่อยๆ ดังขึ้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมคัดค้านการยกเลิกการเดินรถที่หัวลำโพง รวมไปถึงเวทีรับฟังความคิดเห็นต่างๆ

ประเด็นสำคัญคือคำถามเรื่อง ‘ชีวิต’ ที่จะเปลี่ยนไป เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาศัยขบวนรถไฟสายชานเมืองเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ รวมถึงการเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในการกำเนิดรถไฟไทย คุณค่าทางสถาปัตยกรรม และการเป็นอุตสาหกรรมศิลป์ครั้งแรกของสยาม

จนเวลาต่อมาจะมีการประกาศจากกรมขนส่งทางรางว่าจะไม่มีการทุบ และไม่มีการปิดสถานีแห่งนี้ แต่จะเป็นการลดบทบาทของสถานีรถไฟหัวลำโพงลง และไปใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นหลัก โดยจะเหลือรถไฟวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง 22 ขบวนต่อวัน จากเดิม 114 ขบวนต่อวัน ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 23 ธันวาคม 2564

ในวันที่สถานีรถไฟหัวลำโพงกำลังถูกลดบทบาทลง ยังมีคำถามที่ยังไม่มีใครตอบได้ว่า สุดท้ายแล้วลมหายใจของหัวลำโพงจะเป็นอย่างไร จะทำหน้าที่รับใช้ประชาชนต่อไป จะลดบทบาทลง หรือท้ายที่สุดจะยุติการเดินรถและกลายเป็นสถานีที่ไร้เสียงหวูดรถไฟ

Facebook
Twitter

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save