fbpx
5 เคล็ดลับการลงทุน เปลี่ยนชีวิตให้รวยขึ้น 100 เท่า

5 เคล็ดลับการลงทุน เปลี่ยนชีวิตให้รวยขึ้น 100 เท่า

เบื่อแล้วกับการลงทุนลองผิดลองถูก
ฝันอยากมีฐานะที่มั่นคง
ต้องการมีอนาคตทางการเงินที่ยั่งยืนแบบฉบับเศรษฐีพันล้าน
…วิถีคนรวยทั้งหมดนี้สามารถเป็นจริงได้

พบกับ 5 เคล็ดลับการลงทุน ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณให้รวยขึ้นเป็น 100 เท่า!!!
อย่าปล่อยให้ความมั่งคั่งพัดลอยไปกับสายน้ำ
คุณเองก็ทำได้ หากเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

 5เคล็ดลับการลงทุน เปลี่ยนชีวิตให้รวยขึ้น 100เท่า

เคล็ดลับที่ 1 : ทำความรู้จักกับแหล่งทำเงิน เปลี่ยนชาวประมง เป็นเศรษฐีเงินล้าน

เศรษฐศาสตร์ The economyfish

การลงทุนที่อยากแนะนำเป็นอันดับแรก คือการลงทุนด้านการประมง อย่าลืมทำความรู้จักและสำรวจแหล่งที่มาของเงินจาก “ชนิดปลา” และ “วิธีการจับปลา” ทุกครั้งที่ชาวประมงออกเรือจับหาปลา สัตว์น้ำที่ถูกจับจะถูกติดอวนรวมๆกันมา จะมีทั้งปลาขนาดใหญ่ที่ขายได้ราคาแพง และปลาตัวเล็กที่ขายได้ราคาถูก ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นปลาเป็ด (ปลาที่ไม่ได้ขนาด มีขนาดเล็กไว้สำหรับเลี้ยงเป็ด หรือบางครั้งถูกเอาไปทำเป็นลูกชิ้น)

เคล็ดลับที่ 2 : รู้จังหวะว่าเวลาไหนควรช้อน เวลาไหนควรรอ

รู้จังหวะว่าเวลาไหนควรช้อน เวลาไหนควรรอ

การลงทุนที่ดีต้องใช้เวลา คุณสามารถเปลี่ยนมูลค่าของปลาบางชนิดให้เพิ่มขึ้นกว่า 180 เท่า!!! แบบง่ายๆ…ด้วยการรอ

เส้นทางการทำเงิน…ช้าๆ ได้เงินก้อนงาม

เส้นทางการทำเงิน...ช้าๆ ได้เงินก้อนงาม

อยากรวยต้องรู้จักรอ อยากมีเงินพอต้องรู้จักวิธี ถ้าคุณใช้วิธีการจับปลาที่ไม่ถูกต้อง และมีปลาจะละเม็ดเทาที่ไม่ได้ขนาดติดมากับอวนลาก ปลาจะละเม็ดเทาจะกลายเป็นเพียงปลาเป็ด และมีมูลค่าเพียงแค่ 5 บาท ต่อ กิโลกรัม แต่หากคุณรอจนปลาโตได้ขนาด และใช้อุปกรณ์การจับปลาที่ถูกต้อง ปลาจะละเม็ดเทา จะมีมูลค่าถึง 900 บาท ต่อ กิโลกรัม!!!

คิดดู นี่เป็นเพียงตัวอย่างแค่ปลา 1 ชนิด และคุณคงไม่ได้จับปลาได้แค่ชนิดเดียวตลอดการเดินเรือแน่

สำหรับเรือประมง 1 เที่ยว จำนวน 9 ลำ ถ้าจับปลาเป็ดจะได้มูลค่า 14,000 บาท

แต่หากจับสัตว์น้ำที่เติบโตจนได้ขนาด จะได้มูลค่าสูงสุด 331,000 บาท

ลองคิดดูในรอบ 1 ปี ถ้ามีการออกเรือทำการประมง 30 เที่ยว จะได้เงินมากถึง 10 ล้านบาท!!!

นอกจากคุณจะได้เงินเพิ่มแล้ว คุณยังจะช่วยเพิ่มสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในทะเลให้ดีขึ้นอีกด้วย

Tip : อย่าลืม เล็งไปที่เงินล้าน ไม่ใช่เงินเพียงไม่กี่บาท!!

เคล็ดลับที่ 3 : หาตัวช่วยเพิ่มกำไร

หาตัวช่วยเพิ่มกำไร

เพิ่มกำไรที่มากกว่าด้วยการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องมือทำเงิน หันมาใช้เครื่องมือการประมงหรืออวนที่ถูกต้อง การใช้อวนตาถี่ อวนลาก อวนดัดแปลง และเรือปั่นไฟจับปลากะตักนั้นจะเป็นการฉุดกำไร เพราะมันทำลายสิ่งกีดขวางในพื้นที่ทะเลที่ลากผ่าน รวมไปถึงสัตว์น้ำเช่นปลาเป็ดที่สำคัญมันทำลายระบบนิเวศของแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เสียโอกาสที่ปลาจะเติบโตเป็นปลาขนาดใหญ่สร้างกำไรต่อไปในอนาคต

เคล็ดลับที่ 4. : กำหนดพื้นที่การลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาว

กำหนดพื้นที่การลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาว

ลงทุนสนับสนุนให้มีการบังคับมาตรการกำหนดเขตรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ เขตคุ้มครองหรือเขตห้ามจับสัตว์น้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อผลตอบแทนทางการเงินในระยะยาว

เคล็ดลับที่ 5 : เริ่มออมเพื่ออนาคตที่งอกเงยตั้งแต่วันนี้

เริ่มออมเพื่ออนาคตที่งอกเงยตั้งแต่วันนี้

รู้คุณค่าของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล สิ่งมีชีวิตในน้ำไม่ได้มีคุณค่าแค่ในเชิงเศรษฐกิจ แต่มันยังมีคุณค่าในเชิงระบบนิเวศ เรียนรู้ที่จะทำประมงอย่างยั่งยืน เรียนรู้ทำประมงอย่างถูกวิธี เพื่อใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

เริ่มต้นลงทุนวันนี้ แล้วสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลจะคืนทุนให้คุณเร็วกว่าที่คิ

เพื่อคุณจะได้มี (ปลา) ให้ตักตวง (ความรวย) ไปอีกนานๆ

……
ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่ออาหารทะเลที่เป็นธรรมและยั่งยืน

และข้อมูลจากรายงานวิจัย ‘โครงการสำรวจองค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำในปลาเป็ดจากการประมงขนาดใหญ่ (Phase I สงขลา)’ โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ , ผศ.ดร.จารุณี เชี่ยววารีสัจจะ และคณะ

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save