fbpx
อากาศยิ่งร้อน อารมณ์ยิ่งร้าย : Why หัวร้อน?

อากาศยิ่งร้อน อารมณ์ยิ่งร้าย : Why หัวร้อน?

แดดเปรี้ยงๆ อย่างนี้ คงเป็นสภาพอากาศที่หลายคนไม่พิสมัย ทำอย่างไรก็ไม่ชินสักที บางทีก็พาลหงุดหงิดหรือ ‘หัวร้อน’ ขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ

 

หลายคนอาจงงว่า ‘หัวร้อน’ คืออะไร ยอมรับว่าตอนแรกที่เราได้ยินคำนี้ก็แอบงงเหมือนกัน แต่พอเห็นวัยรุ่นพูดกันบ่อยๆ จึงค่อยเข้าใจว่ามันหมายถึงเวลาที่เราอารมณ์ร้อน ฉุนเฉียวขึ้นมาฉับพลัน คล้ายเวลาที่พิมพ์กับงานใกล้เสร็จแล้วไฟดับกะทันหัน อะไรทำนองนั้น

เขาบอกว่า อุณหภูมิที่ต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ผู้อ่อนไหวอย่างเราๆ ไม่น้อย ดังนั้น เมื่อฤดูกาลเคลื่อนคล้อย อารมณ์ของเราก็พลอยเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นนั้น มีโรคยอดฮิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘SAD’ หรือ Seasonal Affective Disorder เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดู

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์หดหู่ ซึมเศร้า ไม่อยากพบปะผู้คน ฝังตัวอยู่บนเตียงนานกว่าปกติ และมีอารมณ์ผันผวนอย่างหนักในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่านี่คืออาการขั้นรุนแรงของภาวะ ‘Winter Blues’ หรือภาวะหดหู่ในช่วงฤดูหนาว มีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของแสงแดด ที่ส่งผลต่อสมดุลของสาร serotonin และ melatonin ในสมอง ซึ่งสัมพันธ์กับการควบคุมอารมณ์ต่างๆ ยิ่งเจอแสงแดดน้อยเท่าไหร่ โอกาสประสบภาวะซึมเศร้าก็ยิ่งมากเท่านั้น เช่นเดียวกันกับเวลาที่เราเจอสภาพอากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว อารมณ์ของเราจึงขึ้นๆ ลงๆ ตามไปด้วย นอกจากนี้สภาพจิตใจและลักษณะทางกรรมพันธุ์ของแต่ละคน ก็มีผลด้วยเช่นกัน

แต่สำหรับคนไทย เราอาจไม่คุ้นเคยกับโรค SAD นี้เท่าไหร่นัก เพราะประเทศของเราเป็นเมืองร้อนถึงร้อนมาก เวลาเข้าหน้าหนาวแต่ละปีก็ต้องลุ้นทุกทีว่าจะหนาวสักกี่วัน

กระนั้นแล้ว เจ้าโรค SAD นี้ใช่ว่าจะมีเฉพาะแต่ในเมืองหนาวเท่านั้น เพราะทีมที่ศึกษาวิจัยเรื่องนี้ บอกว่าคนที่อยู่ในเมืองร้อนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แค่สลับจาก Winter Blues มาเป็น Summer Blues เท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องที่ว่าอากาศร้อน ทำให้คน ‘หัวร้อน’ หรือฉุนเฉียวง่ายขึ้นหรือไม่นั้น คำตอบคือมี โดยหนึ่งในคนที่ศึกษาเรื่องนี้คือ เครก แอนเดอร์สัน (Craig Anderson) แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา

เขาอธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทความชื่อ ‘Heat and Violence’ ที่รวบรวมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมีมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยมีข้อสรุปสำคัญว่า ความร้อนหรืออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวและการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ แถมยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ ด้วย

ในบทความดังกล่าว เขาอ้างอิงถึงผลการศึกษาในอเมริกาช่วงปี 2008 ที่เปรียบเทียบอัตราการฆ่าตัวตายและการใช้ความรุนแรง ว่าสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนหรือไม่ อย่างไร

ผลปรากฏว่าในช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการก่ออาชญากรรมหรือการฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้นด้วย สัมพันธ์กับข้อมูลที่บ่งชี้ว่าในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน มีความเสี่ยงที่ผู้คนจะใช้ความรุนแรงมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศเย็น

นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองเชิงจิตวิทยาอีกหลายชิ้น ที่พิสูจน์ว่าอากาศร้อนและสภาพแวดล้อมที่อึดอัด มีผลทำให้คนใจร้อนและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ทั้งในระดับปัจเจก เช่น การเจรจาธุรกิจหรือพูดคุยแบบสองต่อสอง หากอยู่ภายใต้สถานที่หรือบรรยากาศที่อึดอัด โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งก็มีสูงขึ้นด้วย หรือถ้าเป็นการรวมกันของคนหมู่มาก เช่นในผับ หรือในม็อบ

การกระทบกระทั่งกันเล็กๆ ก็อาจลุกลามหรือเลยเถิดได้ หากคนเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมถึงบรรยากาศที่แออัด ไม่สะดวกสบาย

จากผลการศึกษาทั้งหลายที่ว่ามา ทำให้มีการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาความรุนแรงตามสถานที่ต่างๆ เช่น คุก โรงเรียน และสถานที่ทำงาน โดยใช้การควบคุมอุณหภูมิ เพื่อควบคุมอารมณ์ของคนอีกที เช่นการออกแบบสถานที่ให้ปลอดโปร่ง หรือติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพื่อทำให้คนในสถานที่นั้นๆ รู้สึกผ่อนคลาย ความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงหรือพฤติกรรมก้าวร้าวก็สามารถลดลงได้ตามระดับ

ใครที่สนใจ จะลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดูก็ได้ แต่ไม่รับประกันว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะ ‘ความร้อน’ เป็นแค่เพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น และคนไทยที่เขาว่ากันว่าโอบอ้อมอารี บางทีก็ ‘เถื่อน’ แบบไม่มีสาเหตุ

ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ถึงได้ ‘หัวร้อน’ กันไปทั้งประเทศแบบนี้!

 

อ่านเพิ่มเติม

บทความเรื่อง ‘Mortality rates increase due to extreme heat and cold’ จาก Science Daily 

บทความเรื่อง Understanding Seasonal Affective Disorder (SAD) จาก WedMD

บทความเรื่อง ‘Heat and Violence’ โดย Craig Anderson

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save