fbpx
HAPPY SCHOOL MODEL KIT : 7 ตัวต่อชิ้นใหม่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ครู

HAPPY SCHOOL MODEL KIT : 7 ตัวต่อชิ้นใหม่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ครู

ร่วมคิดโดย ฟ้าใหม่ พงศกรเสถียร, ศศิกานต์ นารถดิลก

ภาพประกอบโดย ธนภรณ์ สร้อยภู่ระย้า

 

เปิดเทอมใหม่ครั้งนี้ มาประกอบโรงเรียนปลอดภัย ด้วย ‘HAPPY SCHOOL MODEL KIT’ สำหรับ ครู กันเถอะ!

กำหนดการเปิดเทอมใหม่ใกล้เข้ามา พร้อมกับโจทย์การสร้าง ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ภายในโรงเรียน ที่ไม่ใช่แค่การสร้างสภาพแวดล้อมปลอดโรคระบาด เพื่อให้ ‘เด็ก’ กลับมาเรียนได้อีกครั้ง

แต่ยังหมายถึงการสร้างบรรยากาศและสังคมภายในสถานศึกษาที่เหมาะกับ ‘ครู’ ผู้เป็นแกนหลักสำคัญของระบบอีกด้วย (อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่)

ทำอย่างไรครูถึงสามารถกลับมาสอนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ? 101 ชวนอ่านมาตรการดูแลครู ทั้งเรื่องสุขภาพกายใจ ช่วยเหลือแผนการสอน และความมั่นคงในหน้าที่การงานหลังวิกฤต COVID-19

 

1. ห้องสุมหัว

 

พื้นที่ brainstorm รับฟังปัญหาอย่างครอบคลุม สะท้อนปัญหาให้รอบด้าน เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด

ก้าวแรกของการสร้างนโยบาย คือ การฟังเสียงและปัญหาคนทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไข วางแผนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ สร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัย และไม่ลืมสื่อสารข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบโดยทั่วกัน

 

2. ห้องพร้อมรบ

 

พื้นที่เตรียมพร้อมในการรักษาอนามัยในทุกๆ ด้าน ทั้งความรู้เรื่อง COVID-19 และอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น

การเตรียมพร้อม ผ่านการให้ความรู้เรื่อง COVID-19 จัดเครื่องป้องกันที่จำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ให้เพียงพอต่อบุคลากร รวมถึงการรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างเคร่งครัด จะยิ่งทำให้ครูปลอดภัยและมั่นใจ สามารถสอนนักเรียนได้เต็มที

 

3. ห้องพักใจ

 

พื้นที่ช่วยกันดูแลสุขภาพจิตใจ ให้ความมั่นใจเรื่องความมั่นคงทางอาชีพและลดภาระงานเพื่อบรรเทาความเครียด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจทำให้ครูรู้สึกหม่นหมองและเคร่งเครียด สถานศึกษาจึงควรมอบเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ตามปกติ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ครูว่ามีความมั่นคงด้านอาชีพการงาน และอบรมให้บุคลากรคอยสังเกตสภาพจิตใจ พร้อมหยิบยื่นความช่วยเหลือแก่กันและกัน

 

4. ห้องปล่อยของ

 

พื้นที่ให้อิสระแก่ครูในการวางแผนการเรียนการสอน พร้อมช่วยเหลือ สนับสนุนด้านทรัพยากร และองค์ความรู้แก่ครู

ผู้กำหนดนโยบายควรให้อิสระเรื่องการวางแผนการเรียนการสอนแก่ครู คอยสนับสนุนด้านทรัพยากร เครื่องมือ ช่วยสร้างทักษะใหม่แก่ครู เช่น ทักษะดิจิทัล เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต รวมถึงช่วยสร้างชุมชนครูเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แก่กัน

 

5. ห้องรับประกัน

 

พื้นที่ดูแลครูตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งสวัสดิการ และเงินเดือนครู ปรับเปลี่ยนนโยบายการสอนให้ยืดหยุ่นช่วยเหลือครูไม่ให้รับภาระหนักเกินไป

ผู้มีอำนาจในสถานศึกษาควรให้การดูแลครูตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ โควต้าวันลาหยุด ลาป่วย แก่ครูอย่างครบถ้วน ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารและการสอนให้ยืดหยุ่น สร้างทางเลือกการสอนแบบอื่นๆ รวมถึงช่วยเหลือครูไม่ให้รับภาระส่วนตัวและครอบครัวหนักเกินไป

 

6. ห้องพร้อมเปย์

 

พื้นที่ลงทุนกับบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเรียนการสอนและอุปกรณ์ป้องกันโรค รวมถึงการดูแลสภาพจิตใจของบุคลากร อย่างเต็มที่

ผู้กำหนดนโยบายควรลงทุนกับครูและบุคลากรด้านการศึกษา อุปกรณ์ป้องกันโรค การดูแลสุขภาพจิต การศึกษาทางไกล โครงสร้างพื้นฐานภายในโรงเรียน ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเรียนการสอน หากภาคส่วนใดขาดแคลนเงินทุน อาจเลือกปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การบริหารใหม่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพการทำงานของครูเป็นหลัก

 

7. ห้องส่องทางไกล

 

พื้นที่ดูแลสุขภาพจิตและพลานามัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง พัฒนาและสร้างระบบติดตามสถานการณ์ความเครียด ชีวิตความเป็นอยู่ในที่ทำงานของครู

ภาครัฐควรกระจายอำนาจให้โรงเรียนในแต่ละพื้นที่พัฒนาเกณฑ์ประเมินที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของตนเอง โดยมีหลักการว่าต้องคอยติดตาม ตรวจสอบสุขภาพกาย สุขภาพจิต รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปปรับปรุง


‘พื้นที่ปลอดภัย’ สำหรับครูอาจไม่ใช่เพียงเพื่อสนับสนุนครูกลับสู่โรงเรียนหลังวิกฤต COVID-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ


ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Education

20 Jul 2023

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

เสียงเล็กๆ จากประชาคมอักษร

20 Jul 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save