จาก Petrostate ถึง Electrostate

นายพลไมค์ มูลเลน อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า หากครั้งหนึ่งสหรัฐฯ เคยตกใจว่าหัวเว่ยกำลังจะยึดครองโลกเทคโนโลยีดิจิทัล วันนี้สหรัฐฯ ก็กำลังตกใจอีกครั้งว่า จีนกำลังยึดห่วงโซ่ซัพพลายเชนพลังงานสะอาดของโลกอย่างเบ็ดเสร็จ

ถ้ากางแผนที่ดูแล้ว ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังหลับอยู่เพราะทรัมป์ไม่สนใจเรื่องพลังงานสะอาด จีนได้บุกยึดแหล่งแร่สำคัญทั่วโลกที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตโซลาร์เซลล์และแบตเตอรีในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด จีนมีเหมืองตั้งแต่ที่คองโก ชิลี ไปจนถึงออสเตรเลีย

หากทรัพยากรสำคัญในโลกยุคเก่าคือก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมัน ทรัพยากรสำคัญในโลกยุคใหม่ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นแร่อย่างคอปเปอร์ นิกเกิล โคบอล์ต ลิเธียม กราไฟต์ และแร่แรร์เอิร์ธ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นแร่ที่ต้องใช้ในการผลิตโซลาร์เซลล์ แบตเตอรีของรถยนต์ EV และแบตเตอรีที่ใช้เก็บพลังงานที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

จีนผลิตสองในสามของแผงโซลาร์และครึ่งหนึ่งของกังหันลมทั้งหมดในโลก จีนยังเป็นผู้นำทั้งในเทคโนโลยีนิวเคลียร์และพลังงานน้ำ สำหรับอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ยุทธศาสตร์เช่นนี้ชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2000 โดยรัฐบาลจีนทุ่มเงินอุดหนุนมหาศาล ทำให้การผลิตแผงโซลาร์มีต้นทุนถูกและสามารถยึดครองส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลก ผลดีคือทำให้แผงโซลาร์ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก เพราะราคาถูกลงมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้บริษัทคู่แข่งในสหรัฐฯ และยุโรปแข่งขันไม่ได้และต้องปิดตัวลง

ปัจจุบัน จีนเกือบผูกขาดการผลิตโพลิซิลิคอน ชิ้นส่วนหลักในโซลาร์เซลล์ในโลกด้วยสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 80 ของ โดยที่ครึ่งหนึ่งของโพลิซิลิคอนมาจากมณฑลซินเจียงของจีน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโพลิซิลิคอนในโลกมาจากแหล่งผลิตในสหรัฐฯ

การเมืองเรื่องซินเจียงทำให้สหรัฐฯ กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก เพราะในแง่หนึ่ง สหรัฐฯ ต้องการแสดงจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชน และเล่นประเด็นการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงในอุตสาหกรรมการผลิตฝ้าย แต่ยังรวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตโพลิซิลิคอนด้วย

แต่หากสหรัฐฯ ตัดสินใจแบนบริษัทจีนจากซินเจียงก็จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าโพลิซิลิคอนราคาถูกจากจีน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการขยายการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสหรัฐฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายนโยบายพลังงานสะอาดของรัฐบาลไบเดน ที่รวมไปถึงการประกาศกลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีส และวางเป้าให้สหรัฐฯ บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ในปี 2050     

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของสมรภูมิพลังงานสะอาดว่า “คิดไม่ออกว่าสหรัฐฯ จะชนะการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวกับจีนได้อย่างไร หากสหรัฐฯ ไม่สามารถเป็นผู้นำในการปฏิวัติพลังงานสะอาดได้ ซึ่งหากดูตอนนี้ เรากำลังตกขบวน”

แล้วไบเดนจะมีทางแก้เกมอย่างไร คำตอบก็คล้ายทางออกของจีนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ถ้าทางออกของจีนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์คือการเร่งสร้างสรรค์และเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีเพื่อแหวกวงล้อมของสหรัฐฯ ทางออกเดียวของสหรัฐฯ ในเรื่องพลังงานสะอาดก็ทำนองเดียวกัน

ทีมของไบเดนมองว่า แทนที่สหรัฐฯ จะแข่งกับจีนในเทคโนโลยีที่คิดค้นเมื่อสิบปีที่แล้ว วันนี้สหรัฐฯ ต้องคิดข้ามช็อตไปถึงเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเริ่มและต่อไปทุกคนจะต้องใช้ เช่น เทคโนโลยีกรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Advanced geothermal) เทคโนโลยีแบตเตอรียุคใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบที่จีนคุมซัพพลายเชนอยู่

เพียงแต่ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการเมืองสหรัฐฯ ก็คือ เรื่องพลังงานสะอาดไม่ใช่เรื่องที่ทั้งสองพรรคการเมืองเห็นตรงกัน โดยความมุ่งมั่นเรื่องพลังงานสะอาดเป็นนโยบายหลักเพียงแค่ของพรรคเดโมแครต แต่พรรครีพับลิกันยังต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมถ่านหินและไม่เชื่อเรื่องภัยจากโลกร้อน ยุทธศาสตร์พลังงานสะอาดของสหรัฐฯ จึงมีความเสี่ยงที่จะไม่มีความต่อเนื่อง หากเกิดการเปลี่ยนรัฐบาลกลับไปเป็นพรรครีพับลิกัน

โลกที่กำลังมุ่งสู่พลังงานสะอาดไม่ต้องอาศัยทรัพยากรน้ำมัน เพราะลม แสงอาทิตย์ น้ำ ล้วนเป็นของที่ทุกพื้นที่มี แต่การจะนำทรัพยากรเหล่านี้มาแปลงเป็นพลังงานต้องอาศัยแผงโซลาร์ กังหันลม แบตเตอรีสำหรับเก็บพลังงาน ซึ่งจีนยึดห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมเหล่านี้เกือบทั้งหมด สำหรับจีน พลังงานสะอาดจึงไม่ใช่เพียงเรื่องความมั่นคงภายในประเทศที่จะช่วยลดการพึ่งพาทรัพยากรน้ำมันจากประเทศอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจมหาศาล และเป็นตัวสร้างอำนาจต่อรองของจีนต่อประเทศที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบต้นทุนถูกจากจีน

ในอดีต เราเคยพูดกันว่าจะเข้าใจการเมืองโลก จำเป็นต้องเข้าใจการเมืองเรื่องน้ำมัน เราเคยมีคำเรียกกลุ่มประเทศที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมันว่า ‘Petrostate’ แต่วันนี้ที่ความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติกดดันให้ทุกคนต้องปรับตัวสู่พลังงานใหม่ การเมืองโลกจึงเปลี่ยนเป็นการเมืองเรื่องพลังงานสะอาด และจีนกำลังผงาดเป็น ‘Electrostate’ อย่างเต็มตัว

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save