fbpx

การคลี่คลายของสถาบันครอบครัวในสแกนดิเนเวีย

ในสาขาวิชาการศึกษาด้านสังคมวิทยาและประชากรศาสตร์ ภูมิภาคยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่มีพัฒนาการประวัติศาสตร์ค่อนข้างเฉพาะในเรื่องว่าด้วยสถาบันครอบครัว โดยถือว่าเป็นบริเวณที่การแต่งงานและการหย่าร้างนั้นมีพลวัตสูงยิ่งโดยเฉพาะในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

ยุโรปเหนือมีลักษณะสถาบันครอบครัวที่สร้างกรณีศึกษาเปรียบเทียบแตกต่างออกไปจากบริเวณอื่นของโลก โดยเฉพาะเรื่องอำนาจตัดสินใจของปัจเจกบุคคลมีความสำคัญเหนือกว่าความเป็นทองแผ่นเดียวกันของสถาบันครอบครัว (ในทางทฤษฎี)

อย่างครอบครัวในภูมิภาคสแกนดิเนเวียหรือนอร์ดิค (ที่รวมฟินแลนด์) มาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างเฉพาะตัว จึงทำให้มีลักษณะไม่ว่าจะเป็น

1. ครอบครัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยผู้ปกครอง (พ่อ แม่ หรืออะไรก็ตาม) และลูก เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว

2. อายุของผู้หญิงเมื่อมีลูกถือว่าช้าที่สุด หากเปรียบเทียบกับบริเวณอื่นของโลก

3. อายุของคู่แต่งงานจะไม่ห่างกันมาก อาจจะไม่กี่ปี

4. การมีสมาชิกของครอบครัวที่ไม่ใช่ญาติ นั่นก็คือคนรับใช้นั่นเอง นี่ทำให้เด็กค่อนข้างมีอิสระจากพ่อและแม่ในช่วงวัยเด็ก

ปีเตอร์ ลาสเล็ตต์ (Peter Laslett, 1915-2001) นักประวัติศาสตร์ครอบครัวคนสำคัญ (ที่มาภาพ)

ท่ามกลางลักษณะเหล่านี้ ยังมีลักษณะทางสังคมวิทยาและทางความคิดอื่นๆ อาทิ การมีสถาบันทาส (serfdom) ที่ไม่เข้มข้นตกผลึกนัก การแผ่ขยายของคริสต์ศาสนาโปรแตสแตนท์ที่เน้นเรื่องตัวบทในพระคัมภีร์ (scripture) พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลโดยตรงกับพระเจ้า

นี่จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มีผู้พยายามหาสัมประสิทธิ์ระหว่างรูปแบบครอบครัว กับกำเนิดและพัฒนาการของทุนนิยมในบริเวณดังกล่าวนี้

Second Demographic Transition (SDT)

สำหรับนักประชากรศาสตร์ สังคมตะวันตกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของครอบครัวแบบประเพณีไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางประชากรครั้งที่สอง (Second Demographic Transition – SDT)

ในทางวัฒนธรรมและความคิดเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าด้วยบทบาททางเพศสภาวะ เพศวิถี การแต่งงานและการหย่าไปอย่างมาก ทั้งหมดนี้มาจากการการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งในสังคมเสรีนิยมประชาธิปไตยชนะสงครามในตะวันตก ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ขึ้นได้

การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรในภูมิภาคนอร์ดิค 1997-2017 ตรงไหนยิ่งแดงยิ่งคนน้อยลง (ที่มาภาพ)

SDT นี้ก็มาพร้อมๆ กับการตระหนักถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเหนือคุณค่าของครอบครัว ท่ามกลางอัตราการเกิด ตาย แต่งงานที่ต่ำ รวมไปถึงอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านนี้ ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียและนอร์ดิคเป็นหัวหอกในการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 นำไปสู่ระบอบการหย่าร้างสูง (high divorce rate regime)

ผู้หญิงกระฎุมพีผลักดันกฎหมายสมรส

การเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ มีฐานมาตั้งแต่หลายทศวรรษก่อนหน้าในภูมิภาคนอร์ดิค โดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมายสมรสที่ให้สิทธิคู่สมรสเท่าเทียมกันในการหย่าร้างตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20  โดยทั้งคู่มีสิทธิในการหย่าร้างโดยไม่ถือเป็นความผิด หรือไม่ต้องหาผู้ผิด (no-fault)

สมควรบันทึกไว้ตรงนี้ว่า ในช่วงการปฏิวัติบอลเชวิคในปี 1917 นั้น สหภาพโซเวียตมีการผลักดันกฎหมายสมรส เรื่องสิทธิเท่าเทียมของคู่สมรสในการหย่าร้างโดยไม่ถือเป็นความผิดนี้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว

และสมควรบันทึกต่อไปอีกด้วยว่า กลุ่มผู้ที่ผลักดันเรื่องการปฏิรูปกฎหมายในประเทศกลุ่มนอร์ดิคแรกๆ คือผู้หญิงชนชั้นกระฎุมพีที่เสียผลประโยชน์จากกฎหมายดั้งเดิม เพราะการแต่งงานของพวกเธอนั้นมาจากผูกผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งภายใต้กฎหมายเก่าทำให้พวกเธอต้องอยู่ภายใต้ความกลัวว่าสามีจะขอหย่าจากพวกเธอ ทำให้ต้องพึ่งพิงกับผู้ชายอยู่ภายใต้สถาบันการแต่งงาน จึงใช้สมาคมสตรีเป็นกลุ่มในการมุ่งล็อบบี้ผลักดันให้กฎหมายสิทธิในการหย่าร้างโดยไม่ถือเป็นความผิด (no-fault) ของทั้งสองฝ่ายจนเป็นผลสำเร็จ

Hajnal Line ของนักประชากรศาสตร์ ซึ่งภายในเส้นคือระบบครอบครัวตะวันตก ทฤษฎีนี้ได้รับการถกเถียงกันมาก และถูกพิสูจน์ว่าผิดพลาดเนืองๆ (ที่มาภาพ)

กรณีการหย่าร้างในฟินแลนด์ช่วงปลายสงคราม

การพิจารณาบริบทประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากพิจารณาภูมิภาคนอร์ดิคแล้ว จะเห็นว่าฟินแลนด์มีประวัติศาสตร์ที่แยกออกไปจากประสบการณ์ของเหล่าประเทศมีกษัตริย์ของสแกนดิเนเวียอยู่พอสมควร โดยเฉพาะหากเราพิจารณากรณีการหย่าในช่วงเวลาหลังสงครามหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

จะว่าไปแล้ว ฟินแลนด์ผ่านประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่สองที่โหดร้ายกว่ากลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียอย่างมาก เมื่อเจาะจงดูที่หลังจากปี 1944 เมื่อฟินแลนด์ต้องอยู่ในสถานะผู้ร่วมกับเยอรมนีรบกับสหภาพโซเวียตและต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ หลังจากปีนั้น อัตราการหย่าร้างพุ่งขึ้นสูงอย่างมาก แม้ว่าอัตราการหย่าร้างช่วงสิ้นสุดสงครามนั้นเพิ่มขึ้นทั่วทุกประเทศในยุโรป แต่สำหรับฟินแลนด์ถือว่าเป็นการเพิ่มอย่างรวดเร็วที่สุด

รัฐบาลฟินแลนด์จึงต้องก่อตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ประมาณว่าเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาในการประคองชีวิตคู่อะไรแบบนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มักจะเป็นปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์และความรุนแรงในครอบครัวของผู้ชายต่อผู้หญิง 

การพยายามจะรักษาสถาบันครอบครัวของฟินแลนด์จึงมีลักษณะเฉพาะ ในแง่ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายแบบอนุรักษนิยมหากเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย แต่อันที่จริงแล้วมีข้อแม้เรื่องประสบการณ์สงครามเป็นปัจจัยในการกำหนดนโยบายทางสังคมของประเทศ

Scanian Law ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ตั้งแต่การกลายเป็นคริสต์ศาสนาของภูมิภาคสแกนดิเนเวีย (ที่มาภาพ)

คริสต์ศาสนาลูเทอแรน

ปัจจัยหนึ่งที่ผู้ศึกษาเรื่องการคลี่คลายของสถาบันครอบครัวในสแกนดิเนเวียระบุร่วมกัน คือบทบาทของสถาบันคริสต์ศาสนาลูเทอแรน ที่ทำหน้าที่เป็นพลังทางประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนครอบครัวจากการรวมกันของชายหญิงภายใต้พระเจ้า ไปสู่ครอบครัวที่เป็นการตกลงเข้าร่วมสัญญาของปัจเจกสองคน การประสาน (หรือแทนที่?) ของคริสต์ศาสนากับรัฐโลกวิสัย/ระบบราชการ นำมาซึ่งการผลักดันให้การหย่าร้างโดยไม่ต้องหาความผิด (no-fault) นั้นเกิดขึ้นได้ก่อนที่อื่น ในประเทศสแกนดิเนเวียทุกประเทศ

ก็คือเมื่อชีวิตครอบครัวไม่มีความสุข จะทนอยู่ไปทำไมเล่า เขาว่ากันแบบนี้ 


อ้างอิง

– Peter Laslett, Family Life and Illicit Love in Earlier Generations (1977)

– Glenn Sandström & Ólöf Garðarsdóttir, ‘Long-Term Perspectives on Divorce in the Nordic Countries – Introduction’ Scandinavian Journal of History 43:1, 1-17.

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save