fbpx
Existential Crisis : เมื่อความอ้างว้างนำไปสู่การตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของชีวิต

Existential Crisis : เมื่อความอ้างว้างนำไปสู่การตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของชีวิต

[et_pb_section transparent_background=”off” allow_player_pause=”off” inner_shadow=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” make_equal=”off” use_custom_gutter=”off” fullwidth=”off” specialty=”off” admin_label=”section” disabled=”off”][et_pb_row make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” use_custom_gutter=”off” gutter_width=”3″ allow_player_pause=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_equal=”off” parallax_1=”off” parallax_method_1=”on” parallax_2=”off” parallax_method_2=”on” parallax_3=”off” parallax_method_3=”on” parallax_4=”off” parallax_method_4=”on” admin_label=”row” disabled=”off”][et_pb_column type=”4_4″ disabled=”off” parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text background_layout=”light” text_orientation=”left” admin_label=”Text” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off”]

ในช่วงเวลาที่อากาศออกจะขมุกขมัว เปลี่ยนแปลงบ่อยจนแทบจะเดาไม่ออกว่าควรใส่รองเท้าแบบไหนออกไปเสี่ยงดวงนอกบ้าน หลายคนอาจเกิดอาการ ‘หดหู่’ ขึ้นมาเสียอย่างนั้น

 

ความหดหู่ที่ว่า อาจไล่เรียงไปตั้งแต่แค่ความขี้เกียจ ซึมเศร้า (ที่ไม่ใช่โรค) เหงาแบบเอ็มวีเพลงอกหัก กระทั่งออกอาการหนักถึงขั้นที่เราเริ่มตั้งคำถามถึง ‘การมีอยู่ของชีวิต’

แต่ในบางครั้ง อาการหลังสุดอาจไม่ได้มีเหตุผลแค่จากสภาพดินฟ้าอากาศ เพราะการครุ่นคิดถึงสารัตถะการมีอยู่ของชีวิต จมดิ่งอยู่กับการหาสาเหตุว่าทำไมตัวเองถึงตกอยู่ในวังวนของระบบอะไรบางอย่าง หรือในเมื่อเกิดมาสุดท้ายแล้วก็ต้องตายจากไป แล้วชีวิตหนึ่งเกิดขึ้นมาเพื่ออะไรกันแน่

คำถามจำพวกนี้หากเกิดอาการขึ้นบ่อยๆ จนไม่หลับไม่นอน ภาพสะท้อนยังติดอยู่ในใจ มันก็มีชื่อเฉพาะตัวที่เรียกกันว่า ‘Existential Crisis’

 

Existential Crisis คือวิกฤติทางอารมณ์ที่ว่ากันว่าเป็นผลพวงมาจากแนวคิดทางปรัชญาแบบ Existentialism หรือ อัตถิภาวนิยม ที่เกิดขึ้นในช่วงยุค Modernism ตั้งแต่ปี 1890 – 1945 ซึ่งมุ่งเน้นสำรวจแก่นแท้การมีอยู่ของมนุษย์ และบอกว่าอันที่จริงแล้ว เราทุกคนไม่ได้มีสารัตถะของการมีชีวิต มีแต่เพียงภาวะของ ‘การมีอยู่’ (Existence) และสิ่งที่ทำให้เราดำรงชีวิตในแบบที่เราเป็นเราอยู่ในทุกวันนี้ ก็คือความจริงและความรู้ สำคัญที่สุดคือ ‘เสรีภาพ’

นักปรัชญาสายนี้เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความมีอิสระและเสรีภาพในการเลือกและการกระทำทุกอย่าง เมื่อเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้ว แต่ละคนย่อมต้องรับผิดชอบต่อเสรีภาพในการเลือกของตัวเอง ปรัชญาแบบอัตถิภาวนิยมจึงไม่เชื่อในศาสนาที่บอกกันว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเรา เพราะการที่เราเป็น ‘เรา’ อย่างทุกวันนี้ ต่างเป็นการรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากการเลือกชอยส์ของชีวิตด้วยเสรีภาพที่ติดตัวมาทั้งนั้น

อย่างที่ ฌ็องปอล ซาร์ตร์ บอกเอาไว้ว่า ‘Man is condemned to be free’ (มนุษย์ถูกสาปให้มีเสรีภาพ)

ย้อนกลับไปถึงต้นสายปลายเหตุว่าอะไรกันที่ทำให้อยู่ๆ เหล่านักปรัชญาถึงนั่งครุ่นคิด ตกผลึกจนได้มาเป็นแนวคิดอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาในการเลือกของมนุษย์ สาเหตุสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก ‘สูญเสีย’ ตัวตนไปด้วยระบบสังคมในยุคนั้น ที่เต็มไปด้วยกฎและกรอบที่วางให้เราต้องทำตาม แม้กระทั่งการศึกษาเองก็ถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยกรอบที่วางเอาไว้

หนึ่งในนักปรัชญาสายนี้ที่เราคุ้นชื่อกันอย่าง ฟริดริช นีตเช่ เคยเสนอให้เราออกจากกรอบของสังคม เลิกเดินตามประเพณีและวัฒนธรรมที่สังคมวางเอาไว้อย่างที่คนที่นีทเช่เรียกว่าเป็นพวกยึดถือศีลธรรมแบบทาส (Slave Morality) และหันมาเดินตามเจตจำนงค์ของตัวเองตามแบบศีลธรรมระดับนาย (Master Morality)

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ หลายครั้งที่แนวคิดแบบ Existentilism เมื่อมาเจอกับโลกแห่งความเป็นจริง มันกลับกลายเป็นเหมือนศีลธรรมที่ดูจะเหมาะกับโลกอุดมคติซะมากกว่า

 

เออร์วิน ดี. ยาลอม นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ศึกษาปรากฎการณ์และอธิบายวิธีการบำบัดอาการ Existencial Crisis ได้อธิบายสาเหตุของความสับสนทางจิตนี้เอาไว้ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ต้องมาเผชิญหน้ากับภาวะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีอยู่ของตัวตนใน 4 ขาใหญ่ๆ นั่นคือ ความตาย เสรีภาพ ความโดดเดี่ยว และการไร้ความหมาย

ความตายคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เสรีภาพคือการเลือกที่จะสร้างโลกรอบๆ ตัวเองขึ้นมา โลกใบนี้ไม่ได้มีกฎเกณฑ์มาแต่แรก เราต่างหากที่ให้ความหมายกับมัน ความโดดเดี่ยวคือสภาวะที่ไม่ว่าเราจะใกล้ชิดกับคนอื่นแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องมีช่องว่างที่มนุษย์ย่อมหลีกหนีความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาไม่พ้น

ทั้งสามองค์ประกอบจึงนำมาสู่การไร้ความหมาย (Meaninglessness) ที่ผู้เผชิญภาวะ Existential Crisis จะเริ่มตั้งคำถามว่า ถ้าสุดท้ายเราต้องตาย และต่างต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยว แม้เราจะเป็นคนสร้างโลกและเส้นให้กับชีวิตตัวเอง แล้วคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตอยู่คืออะไรกัน

ส่วนใหญ่แล้วภาวะอารมณ์ที่การตั้งคำถามถึงการมีอยู่ฉุดให้การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ชอบครุ่นคิดกับความเป็นไปขอตัวเองและสังคมอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในช่วง mid-life crisis ที่น่าสนใจคือในเด็กในกลุ่มที่มีพรสวรรค์พิเศษ (หรือที่เราเรียกกันว่าเด็ก gifted) ช่วงอายุสิบต้นๆ บางคนก็ตกอยู่ในภาวะนี้เหมือนกัน

สาเหตุก็เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่กลุ่มนี้มักจะเป็น ‘นักอุดมคติ’ ที่มักจะตั้งคำถามกับตัวเองว่าอะไรทำให้สังคมรอบตัวดูผิดเพี้ยนและประหลาดไปจากสิ่งที่มันควรจะเป็น ตั้งคำถามกับกฎเกณฑ์ที่มาครอบการใช้ชีวิตตามเจตจำนงค์เสรีของมนุษย์ (หนึ่งในประเด็นปัญหาที่คนกลุ่มนี้ชอบหมกมุ่น) เช่นว่า ในโลกความจริงแบบที่เป็นอยู่ มนุษย์จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงซักแค่ไหนกัน หรือทำไมเรายอมให้ระบบทุนนิยม เงิน อาชีพเข้ามากำกับการใช้ชีวิตให้ไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ หรือทำไมคนเราต้องทำตัวมือถือสากปากถือศีลไปตามศีลธรรมที่สังคมกำหนดด้วยล่ะ

พอตั้งคำถาม สะดุดกับสิ่งที่คนอื่นเห็นว่า ‘มันก็เรื่องปกตินี่’ บ่อยครั้งเข้า เจ้าความรู้สึก ฉันเกิดมาเพื่ออะไร ก็ย้อนกลับมาในความนึกคิด ฉุดจิตให้หดหู่วนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

 

สภาพจิตใจที่เจ็บปวด สิ้นหวังและไร้ค่ากับชีวิต ภาวะวิตกกังวล และความรู้สึกโดดเดี่ยว คือผลที่ตามมาจากวังวนของ Existential Crisis อันไม่รู้จบ ที่น่ากลัวก็คือหากตกอยู่ในห้วงภาวะนี้นานๆ เข้า มันอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทางออกสุดท้ายเพื่อตอบปัญหาลงท้ายที่การ ‘ฆ่าตัวตาย’

วิธีการช่วยเหลือคนที่ตกอยู่ในวิกฤติแบบนี้ไม่มีคำตอบตายตัว หรือใช้ยาแรงด้วยการเข้าไปบอกว่า ‘เลิกเพ้อเจ้อได้แล้ว ชีวิตก็เป็นอย่างนี้นั่นแหละ!’ แต่เป็นแค่เรื่องง่ายๆ อย่างการนั่งลงข้างๆ เพื่อรับฟัง หรือสร้างหลักฐานถึงคุณค่าอีกด้านของการมีอยู่ ด้วยการสร้าง physical human connection อย่างการกอดหรือจับมือ

 

เพื่อให้ได้รู้ว่า ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง คุกขัง และความบ้าบอทั้งหลายที่ทำให้การมีอยู่ของชีวิตดูเป็นสิ่งไร้ค่า

อย่างน้อยพวกเขาก็ไม่ได้อยู่ในโลกนั้นเพียงลำพัง

 

อ่านเพิ่มเติม

-รายงาน เรื่อง COMPONENTS OF EXISTENTIAL CRISIS: A THEORETICAL ANALYSIS ของ International Journal of Psychology: A Biopsychosocial Approach ตีพิมพ์เมื่อปี 2560

-บทความ เรื่อง Existential Depression in Gifted Individuals ของ SenGifted ตีพิมพ์เมื่อปี 2554 

-คำจำกัดความของ Existential crisis

-การให้คำปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม

-คำจำกัดความของ Existentialism

-ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save