fbpx
BLISSFULLY BLIND : สำรวจความมืดบอดของสังคมไทยไปกับการแสดงชิ้นใหม่ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์

BLISSFULLY BLIND : สำรวจความมืดบอดของสังคมไทยไปกับการแสดงชิ้นใหม่ของ ดุจดาว วัฒนปกรณ์

[et_pb_section admin_label=”section” transparent_background=”off” allow_player_pause=”off” inner_shadow=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” custom_padding=”0px|0px|54px|0px” make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” make_equal=”off” use_custom_gutter=”off” fullwidth=”off” specialty=”off” disabled=”off”][et_pb_row admin_label=”row” make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” use_custom_gutter=”off” gutter_width=”3″ allow_player_pause=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_equal=”off” parallax_1=”off” parallax_method_1=”on” parallax_2=”off” parallax_method_2=”on” parallax_3=”off” parallax_method_3=”on” parallax_4=”off” parallax_method_4=”on” disabled=”off”][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off” border_color=”#ffffff”]

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ และ จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ เรื่อง

วิวรรธน์ ทรัพย์อรัญ ภาพ

“ยุ่งจนจะเป็นบ้าแล้วค่ะตอนนี้” หญิงสาวผมสั้นตรงหน้าบ่นกับเราพร้อมเสียงหัวเราะ

อาจเป็นได้ว่าความรู้สึกหัวหมุนของ ดาว ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ที่ว่า อาจมาพร้อมกับหมวกหลากใบที่เธอสวมอยู่ ใบหนึ่งคือบทบาทนักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว (Dance Movement Psychotherapist) อีกใบคือการเป็นนักสื่อสารองค์กรในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพซึ่งเป็นงานประจำของเธอในตอนนี้ หรือจะเป็นหมวกที่โผล่มาเป็นระยะในฐานะนักการละครคนหนึ่งที่น่าจับตาของกลุ่ม B-Floor

สิ่งที่พิเศษนิดหน่อยคือหมวกใบสุดท้าย ที่เธอสวมไว้ในฐานะ ‘นักเฝ้าสังเกตการณ์’

การแสดงชิ้นใหม่ล่าสุดของดุจดาวมีชื่อว่า BLISSFULLY BLIND งานแนว Experiential Performance ที่คนดูสามารถมีส่วนร่วมกับการแสดง (เหมือนกับ Secret Keeper การแสดงใหญ่ครั้งที่แล้วๆ มาของเธอ) รอบนี้สิ่งที่เธอจะพาเราไปสำรวจไม่ใช่เรื่องภายในจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่เป็นจิตใจภายในที่เชื่อมโยงกับ ‘ปรากฎการณ์ทางสังคม’

 

 

ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผู้คนแบ่งฝักฝ่ายมากที่สุดตั้งแต่ 2557 เป็นต้นมา ดุจดาวในฐานะนักสังเกตการณ์เฝ้ามองปรากฎการณ์ ‘ความมืดบอด’ ของผู้คน เฝ้ามองวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์รอบตัวของคนในสังคมไทย

สิ่งที่เธอค้นพบ คือต้นเหตุของความมืดบอดที่สกัดเราไว้ให้กลัวกับความเปลี่ยนแปลง จนเธออดไม่ได้ที่จะสื่อสารออกมาทั้งโดยการเคลื่อนไหวร่างกายแบบที่ถนัด และการใช้ ‘แสง’ เป็นอีกหนึ่งตัวละคร ที่จะชวนเราสำรวจตัวเองไปพร้อมๆ กัน

เรา – ในฐานะผู้สวมหมวกคนในสังคมคนหนึ่งที่อาจ ‘มืดบอด’ โดยไม่รู้ตัว จึงมาขอรายละเอียดรายวิชานี้เพิ่มเติมสักเล็กน้อย

ก่อนจะไปเข้าคลาสสำรวจความมืดบอดนั้นกับเธอ

 


ที่ว่าตอนนี้ยุ่งมาก ยุ่งขนาดไหน

ชีวิตที่นี่จันทร์ถึงศุกร์มันคือการทำมาหากินค่ะ เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบ ตกเย็นก็ไปซ้อมละคร แล้วมันก็ใกล้จะแสดงแล้ว แถมสเกลงานของ BLISSFULLY BLIND มันขยับขึ้นไปอีก BANGKOK CITICITY GALLERY เป็นสเปซที่เราไม่เคยใช้ บวกกับโจทย์ที่เราอยากท้าทายอะไรใหม่ๆ ลองอยู่ในจุดที่ทำไม่ได้บ้าง ดูว่าจะว่ายผ่านมันไปยังไง มันเลยทั้งเหนื่อย ทั้งยาก ช่วงนี้รู้สึกเหมือนจะจมน้ำแล้ว (หัวเราะ)

ความยากที่ว่าคืออะไร

เรื่องนี้เราตั้งใจที่จะ ‘พูด’ ให้น้อยที่สุด ถ้าไม่พูดอะไรเลยเราจะยังเข้าใจกันไหม เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ลดการ dominate [ประสบการณ์คนดู] ให้น้อยลง เพราะครั้งที่แล้วตอน Secret Keeper เหมือนเราเล่นโซโล่ที่มีนักแสดง มีคนดู คอนเซ็ปต์มันตรงไปตรงมามากเลย เล่นกับความไว้ใจว่าคนเราจะเชื่อใจกันได้ยังไง ลองให้คนดูมาเล่าความลับ จบ มินิมอลมาก

คืองานเราเป็นงาน Experiential Performance ดาวสนใจว่าคนที่นั่งอยู่ระหว่างดูจะได้ประสบการณ์ร่วมไปยังไง นั่นคือสิ่งที่เราอยากสื่อสาร เมสเสจในงานของเรามันอยู่ในประสบการณ์ที่คนดูได้รับ

พอมาทำเรื่องนี้ เราให้น้ำหนักส่วนของการแสดงอยู่ประมาณ… (ยิ้ม) เขินจัง เกือบจะแค่ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ

ดาวเริ่มจากการไปคุยกับ ZIEGHT เพื่อออกแบบ Light Installation กันก่อน ถอดคอนเซ็ปต์ที่เราจะสื่อออกมาเป็นวัสดุงานศิลปะจัดวางแสง ให้โปร่งแสง โปร่งใส ทึบแสง เล่นกับพื้นที่ การมองไฟ การเปิดปิดไฟ เราอยากให้เซ็ตมันพูดได้โดยไม่มีนักแสดง ลงที่ตรงนี้ประมาณเกือบ 50% แล้วการแสดงของเราก็เข้าไปเติม 50% ที่เหลือ

เราต้องดีลหลายอย่าง ฉากจะทำงานยังไง การแสดงจะออกมายังไงไม่ให้ความหมายทับซ้อนกัน ต้องคิดว่าพอทั้งสองอย่างมาอยู่ด้วยกันมันจะสร้างประสบการณ์อะไรให้คนดู คนดูจะได้สารของเราไหม ดาวว่าเรื่องนี้มันทำงานซับซ้อนมาก ในแง่ที่ว่ามันไม่ตรงไปตรงมาเหมือนตอนที่ทำ Secret Keeper

ทำไมคุณถึงเลือกใช้ แสงเป็นจุดเด่นในการแสดงชิ้นนี้

พอได้คอนเซ็ปต์ออกมาเป็น BLISSFULLY BLIND เราคิดว่ามันเกี่ยวกับแสง คนเรามองเห็นได้เพราะแสง อยากเห็นก็ฉายไปสิ ถ้าเรามีแสงอยู่ในมือ เราก็จะเลือกมองสิ่งที่น่าสนใจ สิ่งที่เราชอบ ที่เราเชื่อมโยง ที่เราสนุก แต่จริงๆ แล้ว บางทีเราก็กำหนดแสงเองไม่ได้

สังเกตมาตั้งแต่เรื่องก่อนๆ ดูเหมือนคุณจะชอบใช้นักแสดงหญิงล้วนในงานของตัวเองนะ

นั่นน่ะสิ ขอบคุณมากที่ทัก ไม่เคยคิดเรื่องนี้เลย ดาวอาจจะทำงานกับความคิดและไอเดียตัวเองมากจนทุกเสียงที่พูด ทุกภาพที่เห็นเป็นภาพของตัวเรา บางงานก็ไม่อยากจะพูดเอง แต่บังเอิญว่าเราเป็นผู้หญิง แล้วภาพที่เกิดในหัว น้ำเสียง หรือมู้ดแอนด์โทนมันก็เป็นผู้หญิง แต่ถามว่ามีผู้ชายไหมก็น่าจะมีได้

(นิ่งคิด) ดาวว่าตัวเองยังชอบความเป็นผู้หญิง เพราะบ้านเมืองนี้มันเดินไปได้ด้วยเพศหญิงในหลายๆ อย่าง และมันคงดูซอฟต์ดีด้วยมั้ง เออว่ะ… เป็นคำถามที่ดีมาก

 

 

อะไรทำให้ความมืดบอดของสังคมกลายเป็นสิ่งที่คุณสนใจ

ดาวพยายามค้นหาว่าทำไมคนในประเทศเราถึงชอบ blind แต่ก็ไม่ได้ blind กับทุกอย่าง เราเลือกที่จะมืดบอดในบางเรื่อง นี่ไม่ได้เจาะว่าฝั่งใครนะคะ มีสิบฝั่งก็ blind กันทั้งนั้น

พอไปค้นในทฤษฎีจิตวิทยา เลยได้รู้ว่ามันเป็นกลไกธรรมชาติของมนุษย์ที่จะหลับตาใส่บางอย่าง เพราะถ้าเรารู้ทุกอย่าง มันจะรู้สึกไม่มั่นคง ทำให้เรากลัว เราเลยเลือกมองแต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย ดาวพยายามจะทำความเข้าใจ ไม่อยากตัดสินว่าการเลือกหลับตามันดีหรือไม่ดี เพียงแต่ถ้าทำมากๆ มันจะ healthy ไหม? ก็คงไม่ เพราะเราจะไม่ค่อยเห็นโลกตามความเป็นจริง การ blind มากๆ บางทีกลายเป็นว่าเราเอาสิ่งอันตรายมาอยู่ใกล้ตัวด้วยซ้ำ แต่ถามว่าผิดไหม ไม่ผิด บางทีคนเราก็อยากจะรักษาความมั่นคงทางใจไว้

ลองไปดูว่าสังคมเราเลือกจะหลับตากันเพราะอะไร ก็เจอว่าบางอย่างมีรากจากวัฒนธรรม อย่างความกตัญญู พ่อแม่ปลูกฝังอะไรแล้วจะมีความเชื่อบางอย่าง พอโตขึ้น เจอฐานข้อมูลที่ไม่ตรงกับสิ่งที่เชื่อ ต่างกับเจตนารมณ์ของครอบครัว หลายคนรับไม่ได้ถ้าไปเจอข้อมูลชุดใหม่แล้วพบว่าพ่อแม่ผิด เขาก็เลือกที่จะหลับตาไป

มันจะมีหลายๆ อย่าง หลายๆ สมมติฐานที่เราไปสำรวจ แล้วถูกเคาะออกมาเป็นซีนย่อยๆ ร้อยกันเป็นเรื่องราวในการแสดงชิ้นนี้ …แต่รู้ว่าไม่อยากให้เล่า เพราะเดี๋ยวไปดูแล้วจะไม่สนุก (หัวเราะ)

จากการเฝ้ามองสังคมในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา คุณได้ค้นพบอะไร

ดาวว่ามันตลกมาก มันจะมีเทรนด์ ‘เลือกข้าง’ มีฝั่งที่เอาหรือไม่เอาทักษิณ เอาเพื่อไทย ไม่เอาประชาธิปัตย์ เลือกกันอยู่แค่นี้จนเรารู้สึกว่าการแบ่งข้างไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเรา แต่พอเข้าสู่ยุครัฐบาลทหาร มันกลับหลากหลายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นสีไหน มันจะมีทั้งความชอบและไม่ชอบรัฐบาลนี้ในเหตุผลที่แตกต่างกัน แล้วการเชื่อมโยงก็ประหลาดมาก เช่นบางคนบอกว่าทหารโอเคนะ แต่ถามว่าเพราะอะไร – เพราะพ่อตัวเองเป็นทหาร เราก็แบบ… เดี๋ยวก่อนๆ

เราว่าระบบตรรกะความคิดมันเริ่มพิลึกกึกกือ มันเริ่มทำให้ดาวเห็นว่าพวกเราเอาอะไรมาเป็นตรรกะในการใช้ชีวิตและเลือกดีลกับสถานการณ์

ประเทศเราตอนนี้สถานการณ์มันไม่มั่นคงหรอก ไม่มั่นคงเลย ยิ่งไม่มั่นคง คนก็จะคว้าอะไรที่มันใกล้ของใครของมันมาซัพพอร์ทเหตุผล คนที่รู้สึกว่าความรู้ทางวิชาการเป็นสิ่งที่ทำให้เขาเข้าใจสังคม เพราะสังคมตอนนี้มันไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็จะจับทฤษฎีวิชาการบางอย่างเพื่อจะทำความเข้าใจให้ได้ คนที่บอกว่าเศรษฐกิจโอเคก็มีเงินเป็นที่ยึด ทั้งที่แบบ… แม่เจ้า เราแทบไม่มีสิทธิ์มีเสียงในประเทศนี้เลย

มันเป็นช่วงเวลาสามปีที่เราเห็นความหลากหลาย ความมืดบอด การเลือกหลับตาของคน เราอาจจะคิดว่าเขาไม่เห็นได้ยังไงวะ แต่เขาก็ไม่เห็นจริงๆ ดาวไม่อยากจะหงุดหงิดว่าเขาไม่เห็นได้ยังไง ดาวสงสัยว่าอะไรทำให้เขาไม่เห็นมากกว่า เราอยากจะทำความเข้าใจ วิถีทางที่จะทำให้เราเข้าใจว่าโลกใบนี้มีอะไรอื่นๆ อีกบ้างก็คือการไปคุยกับคนที่เห็นในสิ่งที่เรา blind เราไม่ต้องเห็นหมดทุกอย่างก็ได้ แต่เราน่าจะฟังคนที่เห็นอย่างอื่นด้วย เราถึงจะอยู่กันแบบมนุษย์ได้

มันอาจจะเป็นคำถามหรือความหงุดหงิดของเราว่า ‘เป็นอะไรกันนักกันหนา ถึงไม่สามารถยอมรับมุมมองของคนอื่นได้’ เพียงเพราะคุณ blind บางอย่าง ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่คุณไม่เห็นมันผิดหรือไม่มีอยู่จริง ทำไมต้องเสพเฉพาะสิ่งที่ตัวเองให้ค่า ให้แสงสว่าง แล้วทุกคนก็ไปกันแต่ทางนั้นโดยไม่หันไปมองจุดอื่น สิ่งเหล่านี้เลยกลายมาเป็นการแสดงเรื่องนี้

เป็นไปได้ไหมว่าที่เราเลือกหลับตา เพราะการตระหนักรู้ทุกสิ่งรอบตัวมันเหนื่อยเกินไป

เป็นไปได้ มันเหนื่อยแน่ๆ (หัวเราะ) ถ้าเรารู้หมดว่าเรื่องนี้คืออะไร เกิดจากอะไร แล้วมันดันไม่สอดคล้องกัน แถมยังทำอะไรไม่ได้ ต้องทนๆ อยู่ไป พอไม่เห็นทางออกมันก็ท้อแท้ คนเลยเลือกกลับเข้าที่มั่นคงของตัวเองดีกว่า มันคือการจัดการความไม่มั่นคงทางใจ เราทุกคนก็จัดการความกลัวกันอยู่แล้ว วิธีนี้ก็เป็นแบบหนึ่ง

เราเลือก มองบางอย่าง เลือก ไม่มองบางอย่างเพื่อให้เราไม่เจ็บปวดมาก ให้เรายังใช้ชีวิตอยู่ได้

รอบๆ ตัวเราหรือพื้นที่ที่เราอยู่ก็จะเป็นคนที่ไม่โอเครัฐบาลทหาร แก๊งนี้ก็มีความมืดบอดอยู่เหมือนกัน เรา [ทั้งสองฝั่ง] ชอบมองอันนู้นผิดหมด อันนี้ผิดหมด แล้วไม่สามารถยอมรับฟังสิ่งที่ต่างจากที่ตัวเองคิด ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูก ฝั่งที่คิดว่ารัฐบาลทหารไม่โอเคเพราะเขาลดสิทธิเสรีภาพของฉันในฐานะพลเมืองก็คิดว่าแนวคิดนี้ถูกที่สุด ถูกเสมอ ถูกกว่าอื่นใด

ชุดความจริงโลกใบนี้ไม่ได้มีสิ่งที่ถูกต้องอยู่ชุดเดียว เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าตัวเองถูก เราก็เริ่ม blind แล้วล่ะ เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเรารู้ เราก็ blind ไปจากสิ่งที่เราไม่รู้ ดาวคิดอย่างนั้นนะ

 

 

แต่สุดท้ายเราก็ควรมีจุดร่วมที่ทุกฝ่ายควรยอมรับหรือเปล่า เช่นประเด็นความรุนแรงที่ไม่ว่าจะฝั่งไหนก็ไม่ควรจะเลือกหลับตาใส่แล้วบอกว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้

สิ่งที่ไม่ควรจะ blind คือเราควรจะสำรวจความรุนแรงให้มันครบทุกมิติไปด้วยกัน คนที่บอกว่าชอบธรรม มันชอบธรรมยังไง มันจะมีอะไรบนโลกบ้างที่แย่ไปหมดหรือดีไปหมด ไม่มีหรอกค่ะ คนที่เราคิดว่าแย่ที่สุด เขาอาจจะมีอะไรที่ดีเต็มไปหมด แต่เราแค่ไม่เห็นเฉยๆ

จุดร่วมหรือ common ground ที่ว่าสำหรับดาว คือการที่เราสามารถนั่งลง แล้วตอบคำถามว่าอะไรทำให้คุณเห็นแบบนี้ อะไรทำให้คุณคิดแบบนี้ ถ้าจะคุยกันเรื่องความรุนแรงก็เอามันเป็นตัวตั้งแล้วมองไปด้วยกัน อาจจะไม่ต้องคุยทั้งหมดก็ได้ อย่างน้อยก็ได้ฟังกัน คนเราไม่ควรจะไป blind มุมมองของคนอื่น

เหมือนเราต้องหาจุดที่อยู่ร่วมกันให้ได้

ใช่ เราเลือกที่จะหลับตาได้ แต่ประเด็นคือเวลามีคนมาบอกว่ากูเห็นอะไรสักอย่าง เราจะไปเถียงเขาได้ยังไง ในเมื่อเขาเห็นอย่างนั้น

เราควรจะมีความสามารถในการยอมรับมุมมองของคนอื่น ว่าอย่างน้อยเขาก็เห็นอย่างนั้น ไม่ใช่บอกมึงมั่ว แล้วไปบอกว่าที่เราเห็นคือมาตรฐานทั้งหมด

ทางเดียวที่ทำให้เราอยู่ได้โดยไม่ต้องทะเลาะกันก็คือ พอคนอื่นเห็นอย่างอื่น ก็ฟังเขา เคารพสิ่งที่เขาเห็น สุดท้ายมันก็กลับมาที่เราควรคุยกันแบบมี human connection อยู่ดี ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราหลงรัก เรื่องของความเป็นมนุษย์ เรื่องของความเห็นอกเห็นใจกัน

ตอนนี้พวกเราเริ่มเรียนรู้ที่จะฟังกันอย่างเข้าใจบ้างหรือยัง

เราว่ามันมีการตระหนักรู้สูงมาก เริ่มมีการพูดถึงว่าเราควรจะฟังกันอย่างไร หรือยิ่งมีข่าวการฆ่าตัวตาย คนเข้าใจโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น สังคมก็ได้เรียนรู้ว่าการฟังกันมันสำคัญ ทีนี้พอฟังแล้วก็ควรมีความสามารถในการยอมรับมุมมองของผู้อื่น ยอมรับได้ว่านั่นคือความจริงในมุมของเขา เรายอมได้ไหมถ้ามันไม่ตรงกับเรา ฉะนั้นการเคารพมุมมองของผู้อื่นคือสเต็ปที่หนึ่ง สองคือไม่ตัดสินเขาว่าสิ่งที่เขาเห็นหรือเชื่อมันถูกหรือผิด

ทุกคนชอบบอกว่าคนอื่นคิดผิด อันนี้สิถูก เฮ้ย เราเป็นใครวะ แล้วทุกคนเอาหลักถูกผิดมาจากสิ่งที่ตัวเองสะสมมาทั้งชีวิต แถมไม่เอามาทุกอัน เราเลือกที่จะยึดบางหลักแล้วทำตัวให้สอดคล้องกับหลักพวกนี้ อะไรที่หลุดจากหลักพวกนี้จะมีคนบอกว่า ‘คิดอย่างนี้ไม่ได้’ เป็นไปได้ยังไงที่ประโยคนี้จะหลุดออกมา จริงเหรอที่เราสามารถบอกคนอื่นว่าคิดไม่ได้ มันเป็นคำที่ไม่ให้พื้นที่ทางความคิดเลย แค่คิด แค่มีมุมมองแล้วเล่าให้ฟังยังไม่ได้รับการเคารพ แล้วเราจะอยู่กันยังไง

สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้มากคือทัศนคติที่ว่า เราไม่รู้อะไรเลยอย่างน้อยเราก็ไม่รู้ว่าคนข้างหน้าเราเขาเห็นโลกนี้ยังไง ถ้าไม่รู้แล้วอยากรู้ไหม ถ้าอยาก ก็ฟัง

ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย คิดว่าสิ่งที่เรารู้มันอาจจะไม่ถูกก็ได้ ตัวเราก็จะมีความยืดหยุ่น แล้วมันถึงจะเริ่มฟังกันได้ เราไม่ได้เห็นโลกตามแบบที่มันเป็นเสียหน่อย ยืนกันห้าคนก็เห็นโลกคนละแบบ โลกนี้มีกี่ล้านคนล่ะ มันก็ต้องมีขัดกันบ้าง

 

 

คุณมีความมืดบอดอยู่ในตัวเองบ้างไหม

แต่เดิมมีมาก พอมาเริ่มทำเรื่องนี้ก็ถามตัวเองว่ามีมากแค่ไหน มีแบบที่ไม่เห็นเลย ลืมไปแล้ว เช่นบางความทรงจำที่คิดว่าไม่มีอยู่จริง แต่มันเคยเกิดขึ้นจริงว่ะ มันหายจากชีวิตเราไปตั้งสิบกว่าปี หรือประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดแล้วยังดีลกับมันไม่ได้ บางทีก็ blind มันไปชั่วคราว แต่อันนั้นเราแฮปปี้นะ blind ไปเถอะ บ๊ายบาย ก็มันไม่ได้ไปเดือดร้อนใครไงคะ มันเป็นเรื่องของเราคนเดียว

แต่ถ้าวันหนึ่งเรื่องที่เรา blind มันไปขัดขวางการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น เช่นเราอยากเป็นเพื่อนกับอีกคนมาก อยากสนิท อยากเข้าใจ แต่สิ่งที่เราปิดไปมันทำให้เราเข้าใจคุณไม่ได้

ดาวว่าอันนั้นควรมาพิจารณาตัวเองนะ ว่าเราจะยอมเปิดความมืดบอดนั้นเพื่อมาคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงกับคนอื่นได้ไหม

 

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#c4c4c4″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]

BLISSFULLY BLIND เปิดการแสดงตั้งแต่วันที่ 13 – 30 กรกฎาคม 2560 (ยกเว้นวันอังคารและพุธ) ที่ BANGKOK CITYCITY GALLERY สาทร ซอย 1 และสามารถเข้าชม Light Installation Exibition ได้ฟรี เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 15-16, 22-23 และ 29-30 กรกฎาคม 2017 เวลา 13.00-17.00 น.

บัตรราคา 700 บาท / นักเรียนนักศึกษา 450 บาท เข้าไปจองบัตรและชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

22 Feb 2022

คราฟต์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงอุตสาหกรรมเบียร์ไทย ที่ผู้ประกอบการคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่อาจเติบโตได้ เพราะติดล็อกข้อกฎหมาย และกลุ่มทุนที่ผูกขาด ทั้งที่มีศักยภาพ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

22 Feb 2022