fbpx

(แก๊ส)น้ำตาในชุมชน : คำถามจากชาวดินแดงที่ยังไม่มีใครตอบ

YouTube video

ช่วงเวลาบ่าย ณ บริเวณย่านดินแดง เงียบเหงากว่าที่เคย ชนิดที่ว่าหากไร้ร่องรอยเศษซากพลุไฟ ปลอกกระสุนแก๊สน้ำตา ความเสียหายตามบ้านเรือน และความเจ็บปวดที่สะท้อนผ่านแววตาของชาวบ้านย่านดินแดง คงยากที่จะเชื่อว่าค่ำคืนที่ผ่านมาพื้นที่แห่งนี้เพิ่งจะประสบกับการเป็น ‘พื้นที่ปะทะ’ ระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) กับกลุ่มผู้ชุมนุมอิสระ
.
เป็นระยะเวลากว่า 1 เดือนเต็มที่พื้นที่บริเวณดินแดงถูกบังคับเปลี่ยนสถานะชั่วคราว จากย่านที่อยู่อาศัยกลายมาเป็นพื้นที่เสี่ยงในการปะทะและการสลายการชุมนุม ส่งผลให้ชาวบ้านกว่าหลายร้อยชีวิตต้องแบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ล่าสุดมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ตั้งโต๊ะรับเรื่องราวร้องทุกข์จากชาวดินแดงที่ได้รับผลกระทบ เพื่อนำข้อมูลไปยื่นต่อกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ให้เข้ามาดูแลชดเชยผู้ได้รับความเสียหายจากการปะทะและการสลายการชุมนุม แต่ก็ต้องผ่านขั้นตอนสำรวจและประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นเสียก่อน จึงจะสามารถพิจารณามาตรการเยียวยาต่อไปได้
.
พลอย เจ้าของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ใต้แฟลตดินแดง 1 คือหนึ่งตัวอย่างของผู้ได้รับผลกระทบ แม้ตัวเธอเองจะเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ต้องสลายการชุมนุม แต่ก็เกิดคำถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติการรุนแรงถึงขนาดนี้ พลอยยังสะท้อนอีกว่า ทุกครั้งที่มีปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ คฝ. ไม่เคยลงมาสื่อสารกับชุมชนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หรือมีข้อควรระวังอะไรบ้าง ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและดำเนินไปอย่างไร้การรับฟังความเห็นจากชุมชน
.
สิ่งที่หลงเหลือไว้ให้พลอยหลังจากการสลายการชุมนุมในทุกค่ำคืน จึงมีเพียงร่องรอยความเสียหายภายในร้านและความกังวลที่ก่อขึ้นภายในจิตใจของเธอ เช่นเดียวกับอีกหลายครอบครัวในชุมชนย่านดินแดงที่เกิดคำถามว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save