fbpx

‘รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2564’ (Digital News Excellence Awards 2021) จัดโดย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

เว็บไซต์ The101.World ได้รับรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2564 (Digital News Excellence Awards 2021) จำนวน 3 รางวัล

รางวัลดังกล่าวจัดโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้สื่อมวลชนออนไลน์หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวดิจิทัลที่มีคุณภาพมากขึ้น ให้กำลังใจสื่อออนไลน์ นักข่าวดิจิทัล และกองบรรณาธิการข่าวออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญในการผลิตข่าวเชิงลึกเพื่อสร้างสรรค์และจรรโลงสังคม อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพข่าวที่นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์

ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่

1. ‘เส้นด้าย’ กับคำเตือนก่อนสาธารณสุขจะล่มสลาย ได้รับ ‘รางวัลดีเด่น’ ประเภทข่าวออนไลน์จากประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ยอดเยี่ยม

2. ยังไม่ทันตั้งไข่ เด็กไทยก็ถูกทอดทิ้งจากรัฐ : เมื่อ ‘เงินอุดหนุนเด็กเล็ก’ ไปไม่ถึงทุกคน ได้รับ ‘รางวัลดีเด่น’ ประเภทข่าวออนไลน์ส่งเสริมสังคมยอดเยี่ยม

3. ภารกิจในวาระสุดท้าย : การขนร่างผู้เสียชีวิตในยุค COVID-19 ได้รับ ‘รางวัลยอดเยี่ยม’ ประเภทข่าวออนไลน์ที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอยอดเยี่ยม

‘เส้นด้าย’ กับคำเตือนก่อนสาธารณสุขจะล่มสลาย

โดย วจนา วรรลยางกูร และ เมธิชัย เตียวนะ

“เวลาประมาณนี้แหละ ท้องฟ้าประมาณนี้ เดี๋ยวจะมีคนโทรมา”

อาสาสมัครกลุ่มเส้นด้ายพูดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศครึ้มฝนในช่วงเย็น ไม่ทันขาดคำเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น ปลายสายขอความช่วยเหลือให้เข้าไปดูที่ประชาสงเคราะห์ ซอย 6 เพราะมีคนตายในบ้าน 2 คน และมียายอีกคนที่อยู่กับศพตามา 6 วัน

“เป็นแบบนี้แหละ เวลาแบบนี้แหละ” เขากล่าวก่อนจะรีบจัดเตรียมอุปกรณ์เดินทางไปช่วยเหลือผู้ป่วย

101 ชวนฟังเสียงของ ‘เส้น-ด้าย’ อาสาด่านหน้าสู้โควิด ในภาวะวิกฤตที่ประชาชนต้องช่วยเหลือกันเอง ระบบราชการมีปัญหาอย่างไร ทางออกของวิกฤตนี้อยู่ตรงไหน

“หลายคนบอกกับเส้นด้ายว่าเขาโทรหาเส้นด้ายก่อนโทรหาหน่วยงานของรัฐ”

“ในการจัดการโควิดครั้งนี้รัฐมองว่าแค่รัฐคนเดียวจะทำได้ทุกอย่าง ผมคิดว่ามันเป็นการบริหารจัดการที่ผิดที่ผิดทางและทำให้เราก้าวมาอยู่ที่จุดวิกฤตตอนนี้”

“หลายครั้งเราถูกตำหนิจากหน่วยงานรัฐ เพราะเราไปภายใต้การร้องขอของหน่วยงานหนึ่ง แต่ไปถึงก็โดนอีกหน่วยงานตำหนิว่าเรามาทำไม ทำไมคุณมาแบบนี้ มันผิดขั้นตอน”


ยังไม่ทันตั้งไข่ เด็กไทยก็ถูกทอดทิ้งจากรัฐ : เมื่อ ‘เงินอุดหนุนเด็กเล็ก’ ไปไม่ถึงทุกคน

โดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และ เมธิชัย เตียวนะ

“หลังจากยื่นเอกสารเมื่อแรกเกิด รอจนลูกสาวอายุ 9 เดือน แม่เจี๊ยบถึงได้เงินอุดหนุนก้อนแรก แต่ยังไม่ทันดีใจที่มีเงินมาช่วยค่านม ค่าแพมเพิร์ส เพราะเมื่อลูกสาวอายุครบขวบสองเดือน เธอก็ไม่ได้รับเงินอุดหนุนอีกเลย”

“จริงอยู่ที่การเลี้ยงลูกคนหนึ่งย่อมใช้เงินมากกว่า 600 บาท แต่สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่มาก เงินจำนวนนี้อาจทำให้เด็กๆ ได้กินอิ่ม อยู่อิ่ม มีโอกาสเข้าเรียนมากขึ้น กระทั่งได้รับการรักษาที่ดีขึ้น”

“ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่คุ้นเคยกับการ ‘ตกหล่น’ ก่อนจะตั้งไข่ได้เสียอีก”

101 ชวนอ่านเรื่องราวของแม่และลูกเล็กที่สะท้อนให้เห็นความจำเป็นของสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดถ้วนหน้า เพราะนั่นคือเครื่องยืนยันว่าสังคมได้ให้ความสำคัญต่ออนาคตของชาติอย่างแท้จริง

“เมื่อพูดถึงการตกหล่น คนอาจจะมองเพียงเด็กยากจน 1 ใน 3 ที่เข้าไม่ถึงเงินอุดหนุน 600 บาท แต่สำหรับ สุนี ไชยรส แล้ว คำว่า ‘ตกหล่น’ ของเธอครอบคลุมถึงเด็กที่ไม่เคยถูกรัฐพิจารณาว่าควรได้เงินก้อนนั้นเลย”

“นโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า หมายถึงการให้อย่างถ้วนหน้าจริงๆ ไม่จำกัดเรื่องรายได้ เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ไม่ว่าเด็กจะอยู่ในสถานะไหนก็ควรได้รับ”

“ไม่ว่าเด็กจะรวยหรือจน มีผู้ปกครองหรือเป็นกำพร้าอยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก มีพ่อแม่อยู่ในระบบราชการหรืออยู่ในเรือนจำ เราต้องยอมรับความสำคัญของเด็ก ยอมรับว่าต้องมีสวัสดิการสังคม”

ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ The101.world


ภารกิจในวาระสุดท้าย : การขนร่างผู้เสียชีวิตในยุค COVID-19

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และ เมธิชัย เตียวนะ

“วัดที่เผาศพโควิดยังมีน้อย แต่ผู้เสียชีวิตยังเยอะและเพิ่มขึ้นทุกวัน”

“ต้องแล้วแต่ภาครัฐว่าจะยื่นอะไรเข้ามาช่วยเหลือ มันอยู่ในอก ก็พูดไม่ออกเหมือนกันเพราะตอนนี้เหมือนว่าเราต้องช่วยกันเองแล้ว”

ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2564 มีผู้เสียชีวิตจากโควิดเฉลี่ยวันละ 80 ราย ตอนนี้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมแล้วกว่า 2,700 ราย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564) ทำให้เกิดวิกฤตในการจัดการร่างของผู้เสียชีวิตจากโควิด

ภาคเอกชนและประชาชนต้องเข้ามาจัดการขนย้ายร่างผู้เสียชีวิตไปทำพิธีที่วัดด้วยตัวเอง ในขณะที่จำนวนวัดก็ยังไม่เพียงพอต่อการรับผู้เสียชีวิต ขณะที่สังคมยังคงตั้งคำถามว่าภาครัฐควรเข้ามาจัดการดูแลประชาชนอย่างไรในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้

101 พูดคุยกับ จักรกฤษณ์ แต่งตั้ง ผู้ก่อตั้งโครงการส่งผู้เสียชีวิตฟรีทั่วประเทศ ที่อาสารับภารกิจส่งร่างผู้เสียชีวิตจากโรงพยาบาล-บ้านจนถึงเตาเผาในวาระสุดท้ายของชีวิต

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

7 May 2020

‘โรคใหม่’ สร้าง ‘โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่’ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19

มองอนาคตการศึกษาไทยในวันที่โรคระบาดเข้ามาเปลี่ยนชีวิตคนทุกคน ใน 101 Public forum “โรคใหม่ – โลกใหม่ – การเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19”

กองบรรณาธิการ

7 May 2020

Spotlights

14 Aug 2020

“ถ้าคุณรักสถาบันจริง อย่ามองว่าคนที่เห็นต่างจากคุณนั้นเลวร้าย” – สุลักษณ์ ศิวรักษ์

101 สนทนากับ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการอาวุโส ถึงข้อเรียกร้องเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ของม็อบนักศึกษา

วจนา วรรลยางกูร

14 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save