fbpx

เงื่อนไขที่จะเกิดสงครามไต้หวัน

สงครามไต้หวันระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่ เกาะไต้หวัน และสหรัฐฯ พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ วันนี้ก็เกิดได้

เพียงแค่เกาะไต้หวันประกาศเอกราช (กฎหมายภายในของจีนก็บังคับให้จีนต้องรบทันที)

หรือเพียงแค่จีนตัดสินใจจะยกทัพรวมชาติ (ซึ่งสหรัฐฯ มีกฎหมายภายในที่ระบุไว้ว่า สหรัฐฯ ต้องช่วยให้ไต้หวันป้องกันตัวเองได้ ซึ่งอาจแปลว่าสหรัฐฯ จะมาช่วยไต้หวันรบกับจีนก็ได้)

หรือเพียงแค่สหรัฐฯ ประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและรับรองไต้หวันในฐานะรัฐอธิปไตย (ซึ่งจีนคงจะต้องยกเลิกความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ทันที และมีความเสี่ยงสูงมากที่จีนจะทำสงคราม เพราะมองว่าเป็นการข้ามเส้นแดงของจีน)

คำถามจริงๆ จึงเป็นว่า เงื่อนไขเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และจะเกิดขึ้นหรือไม่

หลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งสามฝ่ายหลีกเลี่ยงสงครามได้ด้วยสูตรง่ายๆ คือพลังของความคลุมเครือ ไต้หวันบอกว่าไต้หวันเป็นรัฐอยู่แล้วในชื่อสาธารณรัฐจีน จะประกาศเอกราชไปทำไม จีนบอกว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่อยู่แล้ว จะรบไปทำไม ส่วนสหรัฐฯ ก็บอกว่าตนมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่เป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนเกาะไต้หวันนั้นตนคบแบบเงียบๆ อย่างไม่เป็นทางการ ไม่ได้ยอมรับสถานะความเป็นรัฐของไต้หวัน

แต่ระเบิดเวลาดูจะเร่งเข้ามาทุกทีเมื่อถึงวันนี้ ต่างฝ่ายเริ่มเรียกร้องความชัดเจน ในไต้หวัน กลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มมีอัตลักษณ์ความเป็นไต้หวัน เริ่มมีขบวนการเรียกร้องการประกาศเอกราชแยกจากจีนให้ชัดเจน ถึงแม้พรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรคของไต้หวันยังคงมีจุดยืนไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานะของไต้หวันอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ท่าทีของไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวันคนปัจจุบันที่มาจากพรรคหมินจิ้นตั่ง ก็เริ่มมีจุดยืนที่แข็งกร้าวขึ้นต่อจีนแผ่นดินใหญ่ยิ่งกว่าผู้นำไต้หวันคนก่อนๆ

ส่วนจีนนั้น สีจิ้นผิงแม้ปากจะยังยืนยันความพยายามที่จะรวมชาติอย่างสันติ แต่ก็ขีดเส้นตายเอาไว้ว่าในปี 2049 ที่จีนจะฉลองครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองและก่อตั้งประเทศ จีนหวังจะรื้อฟื้นความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติจีนให้สำเร็จ ซึ่งสีจิ้นผิงประกาศว่าการรวมชาติได้สำเร็จเป็นเงื่อนไขหนึ่งด้วย ความหมายคือสีจิ้นผิงไม่เพียงต่อต้านการแยกชาติ แต่เริ่มขีดเดดไลน์การรวมชาติให้ชัดขึ้น หลายคนดูสภาพความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับว่าทางเดียวที่จะรวมชาติได้ทันเดดไลน์ก็คือต้องทำสงคราม

ส่วนสหรัฐอเมริกานั้น แต่เดิมประเด็นเรื่องไต้หวันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทุกคนเกรงใจจีน ดูจากตอนที่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2016 และไปรับโทรศัพท์แสดงความยินดีจากไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน ตอนนั้นทุกคนก็ด่าทรัมป์ว่าไม่รู้เรื่องรู้ราวและจะพาโลกเข้าสู่สงครามโลกกัน แต่ปรากฎว่ามาถึงตอนนี้ชนชั้นนำทางการเมืองของสหรัฐฯ ดูจะกล้าท้าทายเส้นแดงของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไมค์ ปอมปิโอ อดีต รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ และหนึ่งในว่าที่ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2024 ถึงกับมีนโยบายว่าสหรัฐฯ ควรสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่เป็นทางการกับรัฐบาลที่เกาะไต้หวัน

สายเหยี่ยวในฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐฯ เริ่มเรียกร้องให้สหรัฐฯ เลิกความคลุมเครือว่าสหรัฐฯ จะช่วยไต้หวันรบหรือจะเพียงขายอาวุธให้ไต้หวันเฉยๆ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศให้ชัดเจนไปเลยว่า ถ้าจีนรุกรานไต้หวันเพื่อรวมชาติ สหรัฐฯ จะประกาศสงครามกับจีนทันทีเพื่อพิทักษ์เสรีภาพและประชาธิปไตยของเกาะไต้หวัน ดินแดนที่เสรีที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย     

เมื่อได้รับคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามไต้หวัน ผมมักถามกลับว่า อยากฟังข่าวดีหรือข่าวร้ายก่อน

ข่าวดี ก็คือ อย่างน้อยในระยะสั้นถึงปี 2024 ยังไม่มีสงครามไต้หวันแน่ เพราะในปัจจุบันประธานาธิบดีไบเดนยังคงประกาศชัดเจนว่านโยบายสหรัฐฯ ต่อประเด็นไต้หวันไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสำหรับจีนแล้วเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ นอกจากนั้น ไช่อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน ถึงแม้จะดุดันอย่างไร ก็ยังคงไม่มีจุดยืนจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประกาศเอกราช ตัวสีจิ้นผิงเองก็ยังคงให้คำมั่นในการพูดคุยทางโทรศัพท์กับไบเดนว่า จีนจะใช้ความพยายามอย่างที่สุดในการรวมชาติอย่างสันติ เพระคนจีนจะไม่เข่นฆ่ากันเองเด็ดขาด

แต่ข่าวร้ายก็คือ โดยทั่วไปในวงการความมั่นคงทั้งในจีนและสหรัฐฯ ต่างมองว่าสงครามไต้หวันนั้นช้าเร็วก็ต้องเกิด คำถามคือจะยืดเวลาไปได้เท่าไรมากกว่า เพราะยุทธศาสตร์และการลงทุนทางการทหารของจีนนั้น มีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือเพื่อชนะเด็ดขาดให้ได้หากมีสงครามไต้หวัน หลายคนมองว่าจีนจะตัดสินใจทำสงครามรวมชาติ เมื่อถึงจุดที่ศักยภาพทางการทหารของจีนเหนือกว่าสหรัฐฯ และไต้หวันอย่างชัดเจนในการปฏิบัติการสมรภูมิไต้หวันให้สำเร็จ

เควิน รัดด์ อดีตนายกฯ ออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันเป็นประธาน Asia Foundation ได้เคยประเมินว่าจีนจะบรรลุศักยภาพด้านการทหารดังกล่าวในช่วงปลายทศวรรษ 2030 สงครามจึงจะมีโอกาสเกิดในช่วงนั้น 

ปัญหาคือ ถ้าคุณเป็นฝ่ายเหยี่ยวในกองทัพสหรัฐฯ และคุณมีความเชื่อทำนองนี้ ก็อาจมีความคิดว่า เหตุใดเราจะนั่งอยู่เฉยๆ รอจนถึงวันที่จีนชนะแน่นอน สู้บีบให้จีนเข้าสู่การรบตั้งแต่ทศวรรษนี้ไม่ดีกว่าหรือ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเหยี่ยวในจีนเองก็อาจมีคนที่มองว่า เรื่องอะไรจะรอให้สหรัฐฯ ตื่นขึ้นและเร่งพัฒนาอาวุธให้เหนือกว่าเราไปอีก ถ้าในทศวรรษนี้โอกาสชนะเราเริ่มสูง เราทำสงครามเสียให้จบเร็วไม่ดีกว่าหรือ

ปี 2024 ซึ่งเป็นปีการเลือกตั้งสหรัฐฯ จึงมีความสำคัญมาก ตัวไบเดนมีจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้องการสงครามไต้หวัน ตัวทรัมป์เองก็เคยมีบันทึกที่ทรัมป์พูดชัดเจนกับที่ปรึกษาว่าเขาไม่ต้องการสงครามไต้หวันเช่นกัน แต่ว่าที่ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมาร์โค รูบิโอ วุฒิสมาชิกจากฟลอริดา นิกกี้ เฮล์ลีย์ อดีตทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ หรือไมค์ ปอมปิโอ อดีต รมว.ต่างประเทศ ต่างล้วนมีจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อจีนยิ่งกว่าทรัมป์และไบเดนเสียอีก โดยเฉพาะปอมปิโอถึงกับประกาศจะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อไต้หวันของสหรัฐฯ เลยทีเดียว ซึ่งถ้าทำจริงก็เสี่ยงมากที่จะนำไปสู่สงคราม

มีนวนิยายเล่าเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 3 เล่มหนึ่งชื่อ 2034: A Novel of the Next World War ซึ่งเขียนโดยอดีตนายพลสหรัฐฯ ย้ำอีกครั้งว่าหนังสือเล่มนี้เป็นนวนิยาย แต่ปีที่หนังสือคาดหมายว่าจะเกิดสงครามใหญ่คือช่วงปี 2034 โดยจุดเริ่มต้นของสงครามโลกก็คือสงครามช่วงชิงเกาะไต้หวันนี่เอง เพราะสุดท้ายสงครามไต้หวันย่อมจะเป็นสงครามโดยตรงระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเสี่ยงมหาศาลที่จะยกระดับเป็นสงครามนิวเคลียร์

สงครามยูเครนนั้น สหรัฐฯ หลีกเลี่ยงที่จะรบกับยูเครนโดยตรง มีเพียงส่งอาวุธช่วยเหลือ แต่ไต้หวันจะมีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ ต้องเข้าไปรบเอง เพราะเกี่ยวกพันกับผลประโยชน์สหรัฐฯ สูงมากด้วยความสำคัญของที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของเกาะไต้หวัน ส่วนคู่สงครามที่เหลือนั้น จีนมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 18 ของเศรษฐกิจโลกและเป็นแหล่งผลิตสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดในฐานะโรงงานโลก ส่วนไต้หวันก็เป็นแหล่งผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมเซมิคอนดัตเตอร์ ซึ่งเป็นหัวใจของซัพพลายเชนเทคโนโลยีของโลก

เรียกว่าสงครามไต้หวันจะเป็นหายนะต่อโลกยิ่งกว่าสงครามยูเครน ที่เพียงวันนี้ก็สร้างความสูญเสียมหาศาลและสั่นสะเทือนเศรษฐกิจโลกอย่างหนักหนาสาหัสมากแล้ว

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save