fbpx
เพศหลากหลายกับวัยเปลี่ยนผ่าน : โจโจ้ - ผู้กำกับ Gay OK Bangkok

ชัชพล เกียรติขจรธาดา: การน้อมรับปรับได้กับชีวิตที่เปลี่ยนผ่าน

[et_pb_section transparent_background=”off” allow_player_pause=”off” inner_shadow=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” make_equal=”off” use_custom_gutter=”off” fullwidth=”off” specialty=”off” admin_label=”section” disabled=”off”][et_pb_row make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” use_custom_gutter=”off” gutter_width=”3″ allow_player_pause=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_equal=”off” parallax_1=”off” parallax_method_1=”on” parallax_2=”off” parallax_method_2=”on” parallax_3=”off” parallax_method_3=”on” parallax_4=”off” parallax_method_4=”on” admin_label=”row” disabled=”off”][et_pb_column type=”4_4″ disabled=”off” parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text background_layout=”light” text_orientation=”left” admin_label=”Text” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off”]

เขาเคยถูกมองจากคนรอบข้างว่าคงบ้าไปแล้วแน่ๆ ที่ละทิ้งการงานที่มั่นคงอย่างการเป็นแพทย์ ไปสู่การทำงานสายอื่นซึ่งไม่รู้ว่าจะหาความมั่นคงได้เท่ากับอาชีพแรกหรือไม่ แต่สุดท้าย เขาก็ทำ – เขาเลือกเดินตามความฝันของตัวเอง

 

นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ ‘หมอเอ้ว’ ได้เลือกเส้นทางชีวิตใหม่ จากที่เคยทำอาชีพหมอ ผันตัวมาสู่การเป็นนักเขียน เขาเล่าว่าในช่วงเวลานั้น ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็น Coming of Age ก็ได้ เขาต้องพบกับความกดดันและความคาดหวังจากสังคมและคนรอบตัวอย่างมาก จนกลายเป็นความกลัวว่าเขาจะผ่านไปได้หรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้น หมอเอ้วก็เชื่อว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะยากเย็นเพียงไร พวกเราสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับทุกการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ในที่สุดหมอเอ้วก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้สำเร็จ เขากลายมาเป็นเจ้าของหนังสือแนววิทยาศาสตร์ชื่อดังที่ขายดิบขายดีไปทั่วประเทศอย่างเช่น ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ และ ‘500 ล้านปีแห่งความรัก’

และต่อไปนี้ก็คือ ส่วนหนึ่งของประสบการณ์และมุมมองแบบวิทย์ๆ ของหมอเอ้วที่มีต่อปรากฎการณ์ ‘Coming of Age’ จากงานเสวนา 101 Minutes at Starbucks

มุมมองของหมอเอ้วต่อ Coming of Age อาจทำให้เราได้รู้ว่าเรื่องวิทยาศาสตร์และสังคมนั้นสามารถจะเดินไปคู่กันได้อย่างไร

 

Coming of Age ในมุมมองของคุณเป็นอย่างไร

คำๆ นี้ แต่ก่อนไม่ได้ถูกยอมรับให้เป็นทางการ แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เริ่มมีการใช้คำนี้มากขึ้น ซึ่งมักถูกนำไปใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของคนจากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ ในมุมมองของผม Coming of Age คือสิ่งที่เรียกว่า ‘Bio-Psycho-Socio Mismatch’ พูดอีกอย่างก็คือ มันเป็นช่วงที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ร่างกาย สภาพจิตใจ และสังคม และหากทั้งหมดนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่สดคล้องกัน การเปลี่ยนผ่านจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ก็เกิดขึ้นได้ง่าย หากไม่สอดคล้องก็อาจจะลำบากหน่อย

ยกตัวอย่างเช่น เด็กสมัยนี้ที่โตเร็ว และเริ่มซ่า อยากจะคิดเองอะไรเอง หากสังคมยังไม่ยอมให้เปลี่ยน อันนี้ก็จะนำมาสู่ความขัดแย้งได้ ปัจจุบันลักษณะ Coming of Age จะเป็นแบบนี้ คือ ร่างกายและสภาพจิตใจของเด็กเปลี่ยนเร็วมาก แต่สังคมเปลี่ยนไม่ทัน จึงทำให้สังคมต้องบีบเอาไว้ อันนี้ก็ทำให้เด็กเกิดความสับสน จนค้นหาบทบาทตัวเองในสังคมไม่เจอ

 

Coming of Age ของคุณรอบล่าสุดคืออะไร

ผมว่าในปัจจุบัน Coming of Age เกิดขึ้นบ่อย ก็เพราะว่าสังคมเริ่มเปิดโอกาสให้เราเปลี่ยนตัวเองได้บ่อยขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ในยุคของพ่อแม่เรา พอเขาโตมาเป็นวัยรุ่นและต้องก้าวเข้าสู่เป็นผู้ใหญ่ เขาจะรู้สึกว่าเปลี่ยนครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตตามสังคมที่กำหนดมา ไม่ต้องรู้สึกเจอปัญหาอะไรมาก แต่พอเป็นสมัยนี้ สังคมจะปล่อยให้เราได้ลองอะไรใหม่ๆ เปลี่ยนตัวเองอยู่เสมอ บางครั้งต้องเปลี่ยนจากงานที่มั่นคง โดดไปทำงานอย่างอื่น

อย่างกรณีผม ผมเป็นหมอมานานพอสมควร ก็เข้ามาทำงานตามระบบ ไม่ได้เจอการเปลี่ยนแปลงแบบหนักมาก แต่พอมาช่วงหนึ่งผมเริ่มรู้สึกอยากเปลี่ยนอาชีพ อยากไปทำอะไรอย่างอื่น ผมตัดสินใจเปลี่ยนการทำงานจากการเป็นหมอมาเป็นนักเขียน ช่วงนั้นถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เจอทั้งความท้าทาย ความกดดัน และความเปราะบาง เราต้องมีความเชื่อมั่นกับตัวเองอย่างมาก อย่างนี้คือ Coming of Age รอบล่าสุดสำหรับผม

 

แล้วถ้าพูดถึง Mid-life Crisis ล่ะครับ ในทางชีววิทยา ทางการแพทย์ หรือทางวิวัฒนาการ มันเป็นอย่างไร

ในความเห็นของผม คิดว่ามันอาจไม่ใช่เรื่องวิวัฒนาการ แต่เป็นเรื่องสังคมมากกว่า และจากที่ผมได้ศึกษามา จริงๆแล้ว ปรากฎการณ์ Mid-Life crisis มักเกิดกับคนยุค Baby Boomer เป็นหลัก เพราะว่าคนรุ่นนี้เป็นพวกทำงานหนัก เขาต้องทุ่มทุกอย่างเพื่อการงาน และการสร้างครอบครัว ดังนั้น พอเขาอายุประมาณสัก 40 ปี ก็เริ่มรู้สึกว่า “เอ๊ะ ฉันกำลังทำอะไรอยู่” เขาจะเริ่มตระหนักว่าทุกอย่างที่สร้างมาทั้งลูก ความมั่นคง และครอบครัวก็พร้อมหมดแล้ว แต่ความฝันในชีวิตตัวเองคืออะไร ในขณะที่คนยุคผม สังคมจะเปิดโอกาสให้สามารถค้นหาตัวเองได้ตลอดเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เสมอ บางคนสามารถรวย หรือไปถึงฝันได้แต่อายุยังน้อยๆ ดังนั้น จึงพูดได้ว่า Mid-life Crisis จึงเป็น Coming of Age ของคนยุค Baby Boomer ก็ว่าได้

 

ในช่วงสำคัญของชีวิตที่ตัดสินใจ เรามักเกิดปัญหาที่ว่าจะทำตามความคาดหวังของสังคม หรือตัวเองดี คุณเห็นว่าเราควรรับมืออย่างไร

สถานการณ์นี้คือ สถานการณ์คลาสสิก ตั้งแต่เด็กพวกเราส่วนใหญ่มักจะได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูจากพ่อแม่จนพูดได้ว่าวิธีคิดของพ่อแม่ก็มีส่วนในการก่อร่างอัตลักษณ์ของเรา กับอีกพวกหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ พวกนี้ก็จะมีความเป็นตัวเองสูง ปัญหาคือ เมื่อต้องตัดสินใจและเลือกระหว่างตัวเองหรือครอบครัว โดยส่วนตัวผม ผมไม่อยากให้มองว่า เราจะสามารถเลือกทางใดทางหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ ในสถานการณ์จริงๆ เราต้องประนีประนอม หรือค่อยๆ ปรับไป บางคนอาจจะจัดการบ้านเขา และตัวเขาเองให้ไปในทิศทางที่เหมาะสมได้ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้จำกัดที่คำตอบเดียว

คนส่วนใหญ่สามารถผ่านช่วงนี้ไปได้ โดยพวกเขาจะสามารถหาจุดที่ลงตัวได้ แต่ก็มีคนบางส่วนที่ไม่สามารถทำได้ ไม่สามารถหาจุดที่ยอมรับร่วมกันได้ จนเกิดปัญหาการฆ่าตัวตาย ในทางการแพทย์ เชื่อว่ามนุษย์จะสามารถปรับตัวเองต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ไม่ว่าพวกเขาจะเจอเหตุการณ์เลวร้ายอะไรมา อย่างเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ครอบครัวของเขาก็โดนฆ่าไปเกือบหมด แต่ที่สุดก็ปรับตัวได้ เราเรียกสิ่งนี้ว่า Resilience หรือ ‘ความยืดหยุ่นและยอมรับปรับได้’ แต่ภายในเวลา 6 เดือน ถ้าพวกเขาไม่สามารถจัดการให้ลงตัวได้ จนชีวิตเริ่มตกต่ำ ถือว่าอยู่ในสภาวะที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่นถ้าพบว่าสารเคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลงไม่ปกติ ก็ต้องไปหาหมอเพื่อรับยาที่มาปรับสมดุลของเคมีในสมองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตปกติได้ หรือไปรับคำปรึกษาในด้านอื่นๆ

 

คุณมาลงเอยที่การเขียนหนังสือได้อย่างไร

หลังจากเรียนจบหมอ ทำงานสักพัก ก็ไปเรียนต่อต่างประเทศ ระหว่างเรียนต่อ เราพยายามค้นหาตัวเองว่าต้องการทำอะไรกันแน่ สุดท้ายก็พบว่า เราอยากเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่ไม่ค่อยมีคนเขียนในไทย เป็นลักษณะถ่ายทอดความรู้ พอผมเรียนจบก็กลับมาประเทศไทย และได้หันเหชีวิตจากการเป็นหมอไปสู่การเป็นนักเขียน ตอนนั้นหลายคนรอบตัวคิดว่าผมต้องเป็นอะไรแน่ๆ พวกเขาสงสัยว่าตอนแรกมีการงานที่มั่นคงอยู่แล้ว ทำไมต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นนักเขียนด้วย แต่ไม่ได้แปลว่าอาชีพนักเขียนไม่ดีนะครับ ทำไมถึงเลือกทิ้งทุกอย่างที่พยายามสร้างมา และมาเจออนาคตที่ยังไม่แน่นอน ทั้งเพื่อนผม แฟนผม รวมถึงครอบครัวต่างสงสัยกันมากว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องเป็นบ้าไปแล้วแน่ๆ แต่พ่อผมก็พยายามทำความเข้าใจ ต้องบอกว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่กดดันอย่างมาก แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้

 

ถ้าให้แนะนำ คุณคิดว่า คนทั่วๆ ไปจะผ่าน coming of age ไปได้อย่างไร

มีงานวิจัยหลายชิ้นเคยบอกว่า เมื่อไปถามคนที่เขาเพิ่งตาบอดสนิท หรือขาขาดแขนขาด เขามักจะบอกว่า “ฉันจะอยู่ไม่ได้แน่ๆ ฉันจะต้องตาย” แต่จริงๆ แล้วมนุษย์เราจะมีสิ่งที่เรียกว่า Resilience คือการปรับตัวได้นั่นเอง ไม่ว่ามนุษย์จะเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายอะไรก็แล้วแต่ ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะใหม่

หลายครั้งช่วงเวลาการปรับตัวนอกจากจะทำให้มนุษย์รู้สึกว่ากลับมาอยู่จุดสมดุลแล้ว มันยังสามารถสร้างความสุขอย่างคาดไม่ถึงได้อีกด้วย อย่างเช่น สำหรับคนที่เป็นอัมพาต ตอนเขาเริ่มกระดิกนิ้วเท้าได้เป็นครั้งแรก เขาบอกว่าเขามีความสุขอย่างมาก เป็นความสุขที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนในชีวิต ถึงขนาดที่บอกว่า “การเป็นอัมพาตคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเขา” หรือในอีกกรณีหนึ่ง มีนักกีฬาโอลิมปิกคนหนึ่ง เขารู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เขาบอกว่าการเป็นมะเร็งถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต “เพราะทำให้ได้โฟกัสกับสิ่งที่เขาเหลืออยู่”

ดังนั้นคำตอบก็คือ โดยธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ต้องเจอปัญหา และ Coming of Age ก็เป็นปัญหาหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นคนปกติ พวกเขาจะดิ้นรน และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อยอมรับมัน จะมีคนส่วนน้อยเท่านั้นเองที่จัดการไม่ได้ ส่วนนี้ทางการแพทย์ก็จะเข้ามาช่วยเหลือ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังอยู่ในช่วง Coming of Age 

ตอบแบบสั้นๆ ก็คือ เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อ เราเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับว่า “กำลังเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเรา” ดังนั้นก็ลองไปทำอย่างอื่นที่มันหลากหลายดู เช่น ตามหาความฝัน การไปอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือใหม่ๆ หรือการออกไปเที่ยว

 

ในช่วง Coming of Age ของหลายๆ คน พวกเขามักจะรู้สึกกดดันจากคนอื่น เช่นเห็นคนนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เริ่มแต่งงาน มีหน้าที่การงานใหญ่โต ก็อยากมีอยากเป็นบ้าง ตรงนี้คุณมองอย่างไร ดีหรือไม่ดีกันแน่

มันคือความพยายามในการ Fulfill ตัวเอง เพราะมนุษย์โดยธรรมชาติจะกลัวการตัดสินจากคนรอบข้างอยู่เสมอ เช่น ทำไมถึงทำอย่างนี้ ทำไมถึงไม่ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ เป็นต้น ซึ่งมองในแง่นี้ มันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะมนุษย์เราอยู่ในสังคม เราต้องได้รับการ Control จากสังคมบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องเกิดขึ้นอย่างพอเหมาะพอควร

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคนเราใกล้ชิดกันมากขึ้น ผ่านสื่อ social media ต่างๆ มนุษย์รอบตัวได้เข้ามาตัดสินกันมากขึ้น ตรงนี้ทำให้เรากลายเป็นพวกขยาดและกลัวการตัดสิน จนไม่กล้าทำอะไร บางครั้งพอทำอะไรพลาดมา ก็จะแย่อย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ตลอดชีวิต เขาสามารถ Fulfill ตัวเองได้ตลอด ซึ่งจะทำให้เขามีความมั่นใจในความสามารถและ Identity ตัวเองอยู่เสมอ กลัวการตัดสินน้อยลง และพอใจกับสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ ซึ่งเรามองว่ามัน Healthy ต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก เป็นชีวิตที่ดี และน่าอิจฉา (หัวเราะ)

สังคมไทยเรามี Coming of Age หรือเปล่า

ในนิยามของผม Coming of Age เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างตัวเรากับสังคม ฉะนั้น ถ้ามองว่าสังคมจะ Coming of Age ผมก็เลยไม่รู้ว่าสังคมจะไปขัดแย้งกับอะไร สำหรับผม สังคมจึงไม่มี Coming of Age

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

22 Feb 2022

คราฟต์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงอุตสาหกรรมเบียร์ไทย ที่ผู้ประกอบการคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่อาจเติบโตได้ เพราะติดล็อกข้อกฎหมาย และกลุ่มทุนที่ผูกขาด ทั้งที่มีศักยภาพ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

22 Feb 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save