fbpx

People

20 Apr 2017

อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้

หลังจากได้รับอิสรภาพ “อันวาร์” เล่าให้เราฟังว่าทหารมาขอจับมือด้วยรอยยิ้มและถามว่าเป็นมือยิงหรือมือวาง !

คงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก หากชีวิตคนหนุ่มคนหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่สื่อมวลชนอิสระ และนักเคลื่อนไหวสันติภาพในบ้านเกิดตัวเอง กลับถูกคุมขังในคดีอั้งยี่ซ่องโจร เป็นแนวร่วมก่อการร้าย และได้รับการพ่วงเป็นแกนนำก่อจลาจลเผาคุกจากฝ่ายความมั่นคงในเวลาต่อมา

มีกุญแจหลายดอกที่ช่วยไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่สามารถนำไปสู่ความเข้าใจอันเป็นพื้นฐานของสันติสุขได้ “อันวาร์” อาจเป็นกุญแจดอกหนึ่ง

“อันวาร์” คือใคร ชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรมอย่างไร

“ธิติ มีแต้ม” ส่งมอบกุญแจให้อยู่ในมือคุณแล้ว เชิญไขได้ตามอัธยาศัย

ธิติ มีแต้ม

20 Apr 2017

Thai Politics

19 Apr 2017

เรื่องที่จำต้องเล่าขานกันอีก จนกว่า…

เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน ประเดิมคอลัมน์ใหม่กับ 101 ด้วยการเล่านิทานเรื่อง ‘ไผ่ ดาวดิน’

“… ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรปรับสภาพจิตให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ตามความเป็นจริงให้ได้ว่า ทุกวันนี้ใครหรือผู้ใดควบคุมประเทศนี้อยู่ พูดให้ชัดขึ้นคงต้องเรียนว่า ความไม่ชอบมาพากลชนิดที่ยกหลักกฎหมายใดมาอธิบายก็ฟังไม่ขึ้นในกรณีของไผ่นี้ เราจำต้องปรับมุมมองใหม่ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ ว่ามันอยู่นอกเหนือกระบวนการปกติชอบธรรมไปแล้วแน่ๆ …

“… ยิ่งเรานิ่งเฉยไม่มีปากไม่มีเสียงอะไรเอาเสียเลย ยิ่งเท่ากับสมเป้าปรารถนาที่บรรดาผู้ครองเมืองต่างต้องการ”

เวียง วชิระ บัวสนธ์

19 Apr 2017

Thai Politics

12 Apr 2017

สื่อมวลชนไทยในสถานการณ์ปฏิรูปสื่อ

“เมื่อประชาชนอ่อนแอ สื่อมวลชนก็อ่อนล้า”

101 เลยชวน อายุษ ประทีป ณ ถลาง “นายประชา ช้ำชอก” กลับมาจับปากกา เขียนเรื่องแวดวงการเมือง สังคม และสื่อมวลชนไทยอีกครั้ง หลังจากก้าวออกจากวงการสื่อไปพักใหญ่

อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า สยามโพสต์ และไทยโพสต์ ประเดิมคอลัมน์ตอนแรกด้วยการวิพากษ์แนวทางการปฏิรูปสื่อ ในยุคสมัยแห่งความเสื่อมถอยตกต่ำเป็นประวัติการณ์ของสื่อมวลชนไทย

อายุษ ประทีป ณ ถลาง

12 Apr 2017

Politics

12 Apr 2017

“จ่านิวและป๋วย”: สมมติเสวนาว่าด้วยเสรีภาพในมโนธรรม การเกณฑ์ทหาร และการรับใช้ชาติ

ถ้าจ่านิวชวนอาจารย์ป๋วยถาม-ตอบเรื่องการเกณฑ์ทหาร ทั้งคู่จะคุยอะไรกัน!?

สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลองเขียน “สมมติสนทนา” ระหว่างจ่านิวและอาจารย์ป๋วยเรื่องเสรีภาพในมโนธรรม การเกณฑ์ทหาร และการรับใช้ชาติ ให้อ่านกัน

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

12 Apr 2017

Law

11 Apr 2017

ปรับ-ค่า-ปรับ

ประมวลกฎหมายอาญาของไทยบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2499 ตั้งแต่สมัยพี่แดง ไบเล่ย์ และพี่ปุ๊ ระเบิดขวด ยังครองเมือง โดยแทบจะไม่มีการแก้ไขบทลงโทษตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปเลย

ท่านทราบหรือไม่ว่า มูลค่าที่แท้จริงของค่าปรับจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จาก 2,000 บาทเมื่อปี 2499 จะเหลือเพียง 200 บาทในปัจจุบันเท่านั้น!

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? แล้วเราจะทำอย่างไรให้โทษปรับยังทรงพลังได้คล้ายเดิมเมื่อเวลาผ่านไป?

อิสร์กุล อุณหเกตุ นักวิจัยด้านนิติเศรษฐศาสตร์ (ศาสตร์ที่เอากฎหมายและเศรษฐศาสตร์มาแต่งงานกัน!) มีข้อเสนอเรื่อง “ปรับ-ค่า-ปรับ” ให้ชวนคิดกันต่อในรายงานพิเศษชิ้นนี้

อิสร์กุล อุณหเกตุ

11 Apr 2017

Law

5 Apr 2017

การปฏิรูปกฎหมายแข่งขันทางการค้า : ความหวังใหม่ของสังคมไทย?

ใครๆ ก็รู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยเต็มไปด้วยการผูกขาด ประสบการณ์ถูกเอาเปรียบในฐานะผู้บริโภคก็เคยโดนเข้ากับตัวกันทั้งนั้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า ตั้งแต่กฎหมายแข่งขันทางการค้าถูกบังคับใช้ในปี 2542 ยังไม่เคยมีผู้ประกอบธุรกิจถูกลงโทษแม้แต่รายเดียว!

เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2560 มีการแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าให้มีเขี้ยวเล็บในการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และลงมือจัดการผู้ผูกขาดที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดได้มากขึ้น

กนกนัย ถาวรพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่ำเรียนเขียนอ่านด้านกฎหมายแข่งขันทางการค้ามาอย่างต่อเนื่อง ชวนสำรวจประเด็นสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่ และตอบคำถามว่า ทำอย่างไรให้การปฏิรูปกฎหมายแข่งขันทางการค้าในครั้งนี้เป็นความหวังใหม่ของสังคมไทยได้อย่างแท้จริง

กนกนัย ถาวรพานิช

5 Apr 2017

Thai Politics

29 Mar 2017

คำ ผกา อ่านใหม่ ‘แผ่นดินของเรา’ : ว้าเหว่ ว่างเปล่า เสื่อมถอย

นีไม่ใช่งานวิจารณ์หนังสือ แต่เป็นแค่ ‘การกลับไปเยี่ยมบ้าน’ (Revisit) งานวรรณกรรมสมัยใหม่ที่เก่าแล้ว ของนักเขียนที่อื้อฉาวที่สุดคนหนึ่ง ผู้มีนามปากกว่า – คำ ผกา

คำ ผกา บอกว่า ไม่ได้ revisit จะให้เป็น ‘กระทู้ดอกทอง’ เพราะจะไม่โฟกัสไปที่ความเป็นหญิง หรือความเป็นชาย แต่แค่อยาก revisit โดยไม่มีเฟรมความคิดอะไรเลย แล้วไปเสี่ยงเอาข้างหน้าว่าจะเห็นอะไรจากการ revisit นี้

คุณอยากเห็น ‘การเสี่ยง’ ของเธอหรือเปล่าล่ะ!

คำ ผกา

29 Mar 2017

Thai Politics

27 Mar 2017

ไทยแลนด์ 4.0 บอกอะไร

ไทยแลนด์ 4.0 กลายเป็นกระแสสังคมที่ได้รับความนิยมสูงสุด พูดกันและอ้างอิงกันทุกวงการ โดยเฉพาะราชการไทย ช่วงนี้หน่วยงานใดจะเขียนโครงการอะไร ต้องมีติ่งหรือพ่วงคำว่าไทยแลนด์ 4.0 รับรองว่าโครงการผ่าน

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสส่วนงานข่าว พีพีทีวี อดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี คอลัมนิสต์ประจำ 101 ชวนคิดชวนคุยถึงคำเท่ล่าสุดในสังคมไทย … ไทยแลนด์ 4.0

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

27 Mar 2017

Thai Politics

23 Mar 2017

ทำไมคนชั้นกลางไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย

ธร ปีติดล กับ ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ สองอาจารย์หนุ่มจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุยกับ สมคิด พุทธศรี กองบรรณาธิการ 101 เปิดงานวิจัยใหม่สด ไขปริศนา “ทำไมคนชั้นกลางระดับบนของไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย” ที่นี่ที่แรก!

สมคิด พุทธศรี

23 Mar 2017

Thai Politics

17 Mar 2017

มาส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองกันเถอะ (เอ๊ะ! ทำไมแอบกลัว!)

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวคราวกฎหมาย ‘พระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยฯ’ ดังขึ้นมาให้ได้ยิน อูย! ฟังดูดี แต่มันจะ ‘ดีจริง’ อย่างที่คิดหรือเปล่า ไปติดตามกัน

วชิรวิทย์ คงคาลัย

17 Mar 2017

Thai Politics

17 Mar 2017

เปลี่ยนเผด็จการผ่านสู่ประชาธิปไตย-ง่ายเสียที่ไหน!

ใครๆ (ใช่-ทุกคนนั่นแหละ) ก็บอกว่าอยากปกครองแบบประชาธิปไตย การได้มาซึ่งประชาธิปไตยนั้น มันไม่ง่ายอย่างที่คิดนี่สิ แต่ละสังคมมี ‘กระบวนท่า’ เปลี่ยนผ่านตัวเอง ในอันที่จะขยับตัวลุกจากการปกครองที่ ‘ไม่ประชาธิปไตย’ ไปสู่ระบอบการปกครองที่เป็นประธิปไตยมากขึ้น ไปดูกันไหม ว่าการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการอำนาจนิยมสู่ประชาธิปไตยในแต่ละสังคมนั้น มันมี ‘ขั้นตอน’ อะไรบ้าง

วชิรวิทย์ คงคาลัย

17 Mar 2017

Law

16 Mar 2017

20 ปี รัฐธรรมนูญ 2540 : การปฏิรูปการเมืองไทยในอุ้งมือนักกฎหมายมหาชน

รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 หรือ “ฉบับประชาชน” กำลังจะมีอายุครบ 20 ปี สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบทวนเส้นทางการเมืองไทยในอุ้งมือนักกฎหมายมหาชน จาก พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2560 จากการปฏิรูปการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย สู่การปฏิรูปการเมืองแบบปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

16 Mar 2017

Interviews

9 Mar 2017

ตัวตน โศกนาฎกรรม สันติประชาธรรม และ ‘ความล้มเหลวอันสง่างาม’ ของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ปกป้อง จันวิทย์ สนทนากับ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ว่าด้วยที่ทางและน้ำยาของ ‘สันติประชาธรรม’ มรดกทางความคิดของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในสังคมไทยปัจจุบัน

ปกป้อง จันวิทย์

9 Mar 2017
1 90 91

MOST READ

Thai Politics

3 May 2023

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

3 May 2023

Law

25 May 2023

คำพิพากษาศาลฎีกา META แห่งเนติบัณฑิตไทย

ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ ชวนมองปัญหาเนติบัณฑิตไทยที่ยึดคำพิพากษาฎีกาเป็นสรณะเพื่อให้สอบผ่าน ไม่ต่างจากการใช้เทคนิคเล่นเกมเดิมซ้ำๆ แบบ play to win จนหยุดทักษะการคิดวิเคราะห์ปัญหา

ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ

25 May 2023

Thai Politics

10 May 2023

“เลี้ยงทหารพันวัน ใช้งานวันเดียว” อ่านกลยุทธ์เลือกตั้งในโค้งสุดท้ายการหาเสียง กับ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์

101 ชวน ‘ปราบ เลาหะโรจนพันธ์’ วิเคราะห์กลยุทธ์เลือกตั้งของพรรคการเมือง ใครเด่น – ใครด้อยจุดไหน และวิธีการต่างๆ สะท้อนอะไรในสังคมการเมืองไทย

สมคิด พุทธศรี

10 May 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save