Illustration and Infographics
Illustration and Infographics
เข้าใจข้อมูลยากๆ อย่างเพลินตาเพลินใจ ผ่านอัลบัมภาพประกอบและอินโฟกราฟิก
Filter
Sort
โทษอาญาเฟ้อ: ภาพสะท้อนจารีตปกครองแบบไทยๆ
หลายท่านคงเคยได้ยินการดำเนินคดีอาญาหลายคดีที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ทั้งคดีเช็คเด้งเนื่องจากผู้ผิดประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินกะทันหัน คดีหมิ่นประมาทที่ผู้ผิดอาจทำไปด้วยโทสะชั่วคราว คดีบุกรุกป่าไม้ที่ชาวบ้านต้องโทษจำคุกเพียงเพราะยืนยันสิทธิว่าตนเองอยู่มาก่อนการประกาศพื้นที่ป่า รวมทั้งอาจเคยได้ยินกฎระเบียบบางข้อที่คนทั่วไปอาจทำผิดได้เพราะไม่คิดว่ามีกฎหมายแบบนี้ เช่น การแต่งกายชุดนักศึกษาโดยไม่มีสถานะนักศึกษา พวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากร แต่อาจต้องรับโทษจำคุกและมีประวัติอาชญากรติดตัว ความผิดอาญาเหล่านี้เป็นตัวอย่างของการใช้โทษทางอาญามากและรุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับความหนักเบาของความผิด หรือที่เรียกว่า ‘โทษอาญาเฟ้อ’ ซึ่งเป็นปัญหาที่ตระหนักกันดีในหมู่ผู้ทำงานและผู้กำหนดนโยบายในระบบยุติธรรมอาญาไทย และที่ผ่านมาได้มีการเสนอมาตรการต่างๆ ที่ช่วยลดการใช้โทษอาญาเฟ้อ แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ บางมาตรการมีการเสนอและถกเถียงกันมายาวนานกว่า 40 ปี แต่ยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติจริง บางมาตรการเริ่มมีการใช้จริงแล้วแต่ก็มีข้อจำกัดพอสมควร ทำให้ไม่สามารถลดปัญหาอาญาเฟ้อได้ โทษอาญาเฟ้อมีสภาพและแนวโน้มเป็นอย่างไร? ทำไมการปฏิรูปลดโทษอาญาเฟ้อถึงยังไม่ค่อยมีความคืบหน้า? สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank สำรวจสภาพปัญหาโทษอาญาเฟ้อ และวิเคราะห์หาเหตุปัจจัยที่ขัดขวางการลดโทษอาญาเฟ้อเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ปัญหาโทษอาญาเฟ้อรุนแรงมากขึ้นสวนกระแสการปฏิรูปลดโทษอาญา ปัญหาโทษอาญาเฟ้อ หมายถึงการใช้โทษอาญามากเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับความหนักเบาของความผิด ทำให้เกิดผลร้ายกับผู้ทำผิดมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาของระบบยุติธรรมไทยที่รับรู้กันมานาน โดยใน พ.ศ. 2540 มีกฎหมายที่มีโทษอาญาบังคับใช้อยู่ 302 ฉบับ และตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาได้เกิดกระแสการปฏิรูประบบยุติธรรมอาญาที่พยายามจะลดปัญหาโทษอาญาเฟ้อ แต่ในช่วง […]

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
27 Sep 2023101 Visual Journal 2020 : Graphic
ตลอดปี 2020 นี้ เราทั้งสามคนได้อ่านบทความและทำภาพประกอบมารวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยบทความ ครบเครื่องทุกรสทั้งเรื่อง ระหว่างประเทศ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ
จากกว่าร้อยบทความ นี่คือ 10 ภาพประกอบเด่นพร้อมเบื้องหลังการตีความของพวกเรา ที่อยากชวนให้ทุกท่านมาร่วมคิดตามไปด้วยกัน

กองบรรณาธิการ
31 Dec 2020อคติที่สร้างระยะห่างระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติ
ย้อนมองอคติที่สร้างระยะห่างระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติ จนเรากลายเป็น ‘คนแปลกหน้า’ สำหรับกันและกัน

กองบรรณาธิการ
17 Sep 2020HAPPY SCHOOL MODEL KIT : 7 ตัวต่อชิ้นใหม่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ครู
เปิดเทอมใหม่ครั้งนี้ มาประกอบโรงเรียนปลอดภัย ด้วย ‘HAPPY SCHOOL MODEL KIT’ สำหรับ ครู กันเถอะ!
ทำอย่างไรครูถึงสามารถกลับมาสอนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ? 101 ชวนอ่านมาตรการดูแลครู ทั้งเรื่องสุขภาพกายใจ ช่วยเหลือแผนการสอน และความมั่นคงในหน้าที่การงานหลังวิกฤต COVID-19

กองบรรณาธิการ
29 Jun 2020การศึกษาโลกสะท้อนไทย ความเหลื่อมล้ำที่ยังไม่หายไป
101 ชวนคุณส่องเทรนด์การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผ่านรายงานของ World Bank Group ว่าด้วยภาพรวมการศึกษาโลก วิกฤตการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นนอกห้องเรียน

กองบรรณาธิการ
28 Jan 2020เจ็บ แต่… “ไม่จบ”
101 พาไปสำรวจข้อมูลเชิงลึกว่าด้วย ‘ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน’ โดยเฉพาะในมุมของผู้ถูกกระทำ ทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ คำว่า “เจ็บแต่จบ” อาจใช้ได้กับความเจ็บปวดบางกรณี แต่ไม่ใช่กับกรณีต่อไปนี้อย่างแน่นอน

กองบรรณาธิการ
8 Nov 2019อัพเดท ’10 เทรนด์ฮิต ติดเรือนจำทั่วโลก’ จากรายงาน Global Prison Trends 2019
101 พาไปอัพเดท ‘10 เทรนด์ฮิต ติดเรือนจำทั่วโลก’ จากรายงาน ‘Global Prison Trend 2019’

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย
5 Nov 2019โลกของผู้ใหญ่ vs ฝันของเด็ก
การ์ตูนชิ้นล่าสุดจาก ‘Friendly People’ หนึ่งในผลงานประกอบซีรีส์ ‘สนามเด็กเล็ก: ทุกข์หรือสุขของพ่อแม่’

ภาพิมล หล่อตระกูล
20 Sep 20196 ความจริงที่ผู้หญิงควรรู้ ก่อนคิดที่จะมีลูกในที่ทำงาน
เราสามารถเลือกงานและชีวิตที่ Work-Life Balance ได้ หรือจริงๆ เราเลือกได้แค่งานและชีวิตที่ Work – ไร้ – Balance พบกับ 6 ความจริงที่ผู้หญิงควรรู้ ก่อนคิดที่จะมีลูกในที่ทำงาน

กองบรรณาธิการ
13 Sep 2019Workshops : เคล็ดลับวิธีรักลูก สไตล์ ‘พ่อแม่รังแกฉัน’
คุณรู้หรือไม่ เด็กปฐมวัยมีภาวะเครียดจากการต้องเร่งเรียนเพื่อสอบ ป.1 เพราะต้องแข่งขันกันสอบเข้าโรงเรียนชื่อดังที่มีอัตราการรับ 1 ต่อ 20
คุณรู้หรือเปล่า เด็กเล็กของไทยมีพัฒนาการที่ไม่สมวัยกว่า 32%
อะไรคือทางออกในการคัดเลือกเด็กเข้า ป. 1?
วิธีไหนไม่ควรทำ ถ้าอยากส่งเสริมพัฒนาการการเด็กเล็กให้สมวัย?
แล้วรัฐควรมีส่วนร่วมอย่างไร เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็กให้สมวัยอย่างยั่งยืน?

กองบรรณาธิการ
6 Sep 2019รีวิวชีวิตดีๆ ในกรุงเทพฯ Bangkok-บางคอก with friendly people
การ์ตูน โดย Friendly People เสนอเรื่องราวของกรุงเทพฯ – รถติดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด, ฟุตปาธที่ให้เราได้เล่นเกมหลบระเบิดกันทุกวัน, คนแน่นเอี้ยดที่ป้ายรถประจำทาง, โครงการทิ้งร้างบนถนนใหญ่, รถเมล์ที่ผ่านไปหลายปีก็ยังเหมือนเดิม, หลุมกว้างบนถนนที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ดวงจันทร์ และประชาชนอีกนับพันที่รอขึ้นรถขบวนเดียวกันกับเรา

ภาพิมล หล่อตระกูล
26 Jul 2019พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?
คุณว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม? คุณเคยตั้งคำถามหรือมีอคติกับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศหรือเปล่า? ทำไม การถามเหยื่อว่า “ทำไมแต่งตัวแบบนั้น ถึงเป็นคำถามท่ี่ไม่ควรถาม?” การตั้งคำถามแบบไหน ที่ช่วยฟื้นฟูจิตใจเหยื่อ?

กองบรรณาธิการ
21 Dec 2018จำไว้ จะได้ไม่ลืมกัน : ‘ยากันลืม’ คู่มือเตือนความจำสำหรับทุกคน
คุณเป็นคนชอบถามอะไรซ้ำๆ หรือเปล่า?
คุณยังอายุไม่เยอะใช่ไหม?
คุณไม่ออกกำลังกาย?
รู้หรือเปล่าคุณมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อม!
ภาวะสมองเสื่อมมาไวกว่าที่คุณคิด
ให้คู่มือ “ยากันลืม” ช่วยสังเกต ป้องกัน และชะลอ ‘ภาวะสมองเสื่อม’ ไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรัก
จำไว้ให้ดี แล้วเราจะได้ไม่ลืมกัน

กองบรรณาธิการ
19 Jan 2018“ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน” ยากันล้ม : คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
การหกล้มหนึ่งครั้ง คุณอาจไม่ได้แค่เจ็บตัว แต่อาจเจ็บใจ (ที่น่าจะรู้วิธีป้องกันก่อน) และอาจเจ็บลามไปถึงคนใกล้ตัว ที่ต้องเข้ามาช่วยดูแล
จะดีแค่ไหน ถ้าเรามี “ยากันล้ม” ที่มีสรรพคุณเป็นคู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
