fbpx

Brexit 101 โดย พีเทอร์ ไมตรี อึ๊งภากรณ์

กองบรรณาธิการ 101 เรื่อง

 

แล้วสหราชอาณาจักรก็ออกจากสหภาพยุโรปในที่สุด – ห้าทุ่มตรงของวันที่ 31 มกราคม ตามเวลาอังกฤษ หรือหกโมงเช้าของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ตามเวลาไทย

จากวันลงประชามติ 23 มิถุนายน 2016 ที่ผู้สนับสนุน “Leave” มีชัยเหนือ “Remain” ด้วยคะแนน 52% ต่อ 48% “Brexit” ก็กลายเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกต่างจับตามอง – อย่างเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม

จากการลาออกของเดวิด คาเมรอน ผ่านเทรีซา เมย์ ถึงบอริส จอห์นสัน ความวุ่นวายของการเมืองเรื่อง Brexit ตลอด 3 ปี 7 เดือน ก็จบลง ด้วยชัยชนะถล่มทลายของพรรคอนุรักษนิยมในการเลือกตั้ง 12 ธันวาคม 2019 จอห์นสันกลายเป็นผู้นำที่ get Brexit done ได้เสียที นำพาสหราชอาณาจักรเข้าสู่ช่วง “เปลี่ยนผ่าน” จากวันนี้จนถึงสิ้นปี 2020

get Brexit done ก็จริง แต่การเมืองอังกฤษยังห่างไกลจากเสถียรภาพ ทั่วโลกยังคงจับตาผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจาก Brexit ตั้งแต่เรื่องความตกลงทางการค้าระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรป และอังกฤษกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไปจนถึงกระแสเรียกร้องเอกราชของสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ

หากคิดว่าที่ผ่านมา — ยากแล้ว

สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ — ยากกว่า

 

…………………………

 

ตลอดสามปีที่ผ่านมา 101 ติดตามสถานการณ์ Brexit มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลงานเขียนส่งตรงจากยุโรปของ “พีเทอร์ ไมตรี อึ๊งภากรณ์” ผู้ผ่านประสบการณ์ทำงานที่องค์การการค้าโลก (World Trade Organization – WTO) มากว่าสองทศวรรษ

101 รวบรวมผลงานเขียนเกี่ยวกับ Brexit ของพีเทอร์มาให้อ่านกันอีกครั้ง มาทบทวนกันว่ากว่าที่สหราชอาณาจักรจะเดินมาถึงจุดนี้ ได้ผ่านอะไรมาบ้าง

Can A UK-EU Brexit Deal Really Emerge From This Chaos? (ตีพิมพ์ มิถุนายน 2017)

When Complexity Challenges Public Opinion And Democracy. —Brexit, Two Years Later (ตีพิมพ์ มิถุนายน 2018)

Five Days Of Mathematical Impossibility In The Parallel Universe Of Brexit (ตีพิมพ์ ตุลาคม 2018)

And I Leave You With Brexit (Again), As It Heads Into Ever Darker Hours (ตีพิมพ์ ธันวาคม 2018)

Five Thoughts As Brexit Takes A Mini-Break (ตีพิมพ์ เมษายน 2019)

Part 1: Red Queen Theresa’s Race

Part 2: Dishonesty And Trade-Offs

Part 3: They Ain’t Seen Nothing Yet

Part 4: Is The Prime Minister The Problem?

Part 5: Democracy And Sovereignty Weaponised

Brexit 2020: Words Rule With Two Questions Answered But Plenty More To Fight Over (ตีพิมพ์ ธันวาคม 2019)

 

…………………………

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save