fbpx
นอนดึกตื่นสาย หลอกร่างกายง่ายๆ ด้วยยาหยอดตาหยดเดียว

นอนดึกตื่นสาย หลอกร่างกายง่ายๆ ด้วยยาหยอดตาหยดเดียว

เป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยประถมว่า เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เราควรนอนให้เป็นเวลา และนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพราะระบบนาฬิกาชีวภาพในร่างกายมนุษย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อปรับการทำงานของร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทั้งระบบสมอง อุณหภูมิในร่างกาย การหลั่งฮอร์โมน ฯลฯ ทำงานตามการขึ้นและลงของแสงอาทิตย์ ที่กำหนดวงจรการใช้ชีวิตของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น (เรียกแบบเก๋ๆ ด้วยศัพท์ทางชีววิทยาว่า Circadian Cycle)

 

แต่ก็เป็นที่รู้กันอีกว่า บางคนก็เลือกไม่ได้ เพราะต้องทำงานในเวลากลางคืน (จะด้วยการต้องเข้ากะหรือจะมีงานค้างจนต้องปั่นโต้รุ่งตามแบบฉบับคนยุคใหม่ก็สุดแท้แต่) บางคนต้องเดินทางข้ามทวีป เขตเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน กลายเป็นอาการเจ็ตแล็กที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เองเพิ่งออกมาแนะนำว่า ช่วงเวลาที่โรงเรียนน่าจะเริ่มสอนหนังสือคือช่วงหลัง 8.30 น. หรือจะให้ดีก็ควรเริ่มตอน 9.30 น. (โรงเรียนในไทยสะดุ้งเป็นแถว) เพราะช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ Circadian Cycle ถูกขยับให้ช้าลงประมาณ 2-3 ชั่วโมง หมายความว่าพวกเขาจะนอนหลับเร็วเป็นเด็กอนามัยอย่างแต่ก่อนได้ยากขึ้น เมื่อนอนดึกก็จะตื่นสาย หากต้องตื่นเช้ามาเรียนให้ทัน อาการนอนไม่พอก็ส่งผลเสียกับการเรียนและร่างกายได้

นั่นทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ อย่างโรคเครียด ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ยันโรคใหญ่ๆ ที่เอาถึงตายอย่างโรคหัวใจ

แต่คุณรู้ไหม ว่าอีกไม่นาน ปัญหาของระบบนาฬิกาชีวภาพที่ไม่เป็นไปตามนาฬิกาการใช้ชีวิตของแต่ละคน อาจแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยยาหยอดตาเพียงหยดเดียว!

 

ตามปกติแล้ว ระบบนาฬิกาชีวภาพในร่างกายของเราถูกกำหนดด้วยส่วนเล็กๆ ในสมองที่มีชื่อว่า Suprachiasmatic Nucleus หรือ SCN ที่จะจับความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่ส่งมาจากสารเคมีต่างๆ ภายในร่างกาย หนึ่งในนั้นคือฮอร์โมนที่มีชื่อว่า ‘วาโซเพรสซิน’ (Vasopressin)

แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์รู้เพียงว่าหนึ่งในตัวส่งสัญญาณไปที่ SCN คือเรติน่าในดวงตา ที่จะบอกว่าตอนนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ได้เวลาที่นาฬิกาชีวภาพจะทำงานอีกครั้ง แต่ล่าสุดทีมนักวิจัยจาก University of Edinburgh เพิ่งค้นพบว่าที่บริเวณเรติน่าในตาของเรามีกลุ่มเซลล์ประสาทที่สร้างฮอร์โมนวาโซเพรสซินออกมาเมื่อมีแสงมากระทบ และติดต่อกันด้วยสายตรงไปถึงแผนก SCN ในสมอง

การได้รู้ว่าในเรติน่าของเราสามารถสร้างฮอร์โมนที่สื่อสารสัญญาณ มีส่วนในการควบคุมนาฬิกาชีวภาพ อาจทำให้เราผลิตสารเคมีทดแทนวาโซเพรสซิน นำเข้าสู่ร่างกายผ่านเรติน่าในดวงตา เพื่อแก้ปัญหาการทำงานของร่างกายที่ไม่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของบางคน

ลองจินตนาการภาพของยาหยอดตาที่ปรับสมดุลนาฬิกาชีวภาพ ที่หยอดให้พี่ยามก่อนเข้ากะตอนดึก ตอนตื่นมาอ่านหนังสือสอบตอนดึก หรือแค่หยดเดียวหลังเทคออฟ แล้วช่วยให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติเหมือนคนที่ทำงานตอนกลางวัน

 

ในอนาคต อาการ ‘เจ็ตแล็ก’ คงไม่ใช่ข้ออ้างให้เรานอนอืดเป็นวันได้อีกต่อไป!

 

อ่านเพิ่มเติม

บทความเรื่อง Cells in the retina light the way to treating jet lag จาก Eurek Alert, April 17, 2017

งานวิจัยเรื่อง Vasopressin casts light on the suprachiasmatic nucleus จาก The Journal of Physiology, April 12, 2017

บทความเรื่อง You Can Blame Your Eyeballs for Jet Lag ของ Jese Hicks จาก Vice, April 25, 2017

บทความเรื่อง Scientists Really, Really Think School Should Start Later ของ Jese Hicks จาก Tonic, April 15, 2017

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save