fbpx
Beta Culture : วัฒนธรรม (ไม่) สมบูรณ์

Beta Culture : วัฒนธรรม (ไม่) สมบูรณ์

คุณอาจจะสงสัยว่า ‘เบต้า’ ที่เราหยิบมาใช้เป็นหัวข้อ Issue แรกของ 101 นั้น มันคืออะไร

 

หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่า ‘เบต้า’ มีที่มาจากอักษรตัวที่สองของพยัญชนะกรีก เมื่อเป็นตัวที่สอง จึงมีนัยซ้อนเข้าไปอีกชั้น หมายถึงการนับสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นอันดับสอง (second) รองถัดมาจากสิ่งแรก (first) ไปด้วย

พยัญชนะกรีกนั้นถูกนำไปใช้ในเชิงสัญลักษณ์มากมายหลายอย่าง ที่โด่งดังมากอาจเป็นการเปรียบเทียบพระเยซูว่าเป็นดั่ง ‘อัลฟ่า’ และ ‘โอเมก้า’ ซึ่งคือตัวอักษรแรกและตัวอักษรสุดท้าย หมายถึงพระองค์ทรงเป็นต้นทางและปลายทางของมนุษย์ อะไรทำนองนั้น

‘เบต้า’ ก็เช่นกัน เมื่อเบต้าเข้าสู่ภาษาอังกฤษแล้ว มีการใช้อย่างแพร่หลาย จากวงการหนึ่งไปสู่วงการหนึ่ง เขาบอกว่า มีการใช้ตัวอักษรเบต้า มากกว่าสิบวงการเลยทีเดียว เช่น ใช้ในการแทนค่าในวงการคณิตศาสตร์ ใช้ระบุตำแหน่งของโมเลกุลที่มาเชื่อมต่อกันในวงการเคมี ใช้ในการระบุตำแหน่งตัวรับ (receptor) ต่างๆ ในวงการแพทย์และชีววิทยา แต่ถ้าถามว่า ‘เบต้า’ ในวงการไหนที่ผู้คนรู้จักคุ้นหูคุ้นตามากที่สุด น่าจะหนีไม่พ้นเบต้าในวงการคอมพิวเตอร์นั่นเอง

แต่เดิม ในวงการไอทีหรือคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนา Hardware หรือ Software สักอย่าง จะมีการสร้าง ‘เวอร์ชั่นทดสอบ’ ขึ้นมาก่อน เพื่อดูว่าในการใช้งานจริงนั้น ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นยังมีช่องโหว่อะไรบ้างที่ต้องแก้ไข หรือมีจุดไหนบ้างที่คิดว่าเป็นจุดแข็ง ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า Testing Product

แต่ Testing Product นั้น ไม่ใช่ว่าจะมีกันอยู่แค่ขั้นตอนเดียวเสียเมื่อไหร่ เพราะกว่าจะออกมาเป็นโปรดักท์ต่างๆ ให้ใช้งานกันได้ ก็ต้องทดสอบแล้วทดสอบอีก เพราะฉะนั้นเอาเข้าจริง คำว่า ‘เบต้า’ จึงไม่ใช่ ‘ชื่อ’ ของผลิตภัณฑ์ทดสอบเพียงชื่อเดียว แต่ก่อนหน้าเบต้า ก็มีการทดสอบมาแล้วหลายขั้นตอน เช่น

ขั้นตอนแรกเรียกว่า Pre-Alpha (หรือ ‘ก่อนอัลฟ่า’) ขั้นตอนนี้พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการลองทดสอบก่อนที่จะมีการทดสอบอย่างเป็นทางการ เขาบอกว่าเริ่มมาตั้งแต่การออกแบบโน่นเลย แล้วถ้ามีการทดสอบก็เป็นทดสอบเล็กๆ ถัดมาถึงจะเป็นการทดสอบในขั้นที่เรียกว่า ‘อัลฟ่า’ ซึ่งถือเป็นเฟสแรกของ ‘วงจรชีวิต’ ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการทดสอบครั้งแรก จากนั้นจึงจะมาถึง ‘เบต้า’ ซึ่งก็คือการทดสอบ (อย่างเป็นทางการ) ครั้งที่สอง อัลฟ่าอาจจะทดสอบในวงแคบหน่อย แต่เบต้าจะเริ่มทดสอบในวงกว้างขึ้น หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ใกล้จะออกมาเป็นจริงเป็นจังได้แล้ว

Beta Horizon Issue ของ 101 ก็เป็นแบบนั้นด้วยเหมือนกัน!

ในตอนหลัง สิ่งที่เรียกว่า ‘เบต้าเวอร์ชั่น’ เริ่มมี ‘สัญญะ’ บางอย่างใส่เข้าไปด้วย เพราะคนที่จะได้ทดลองใช้ซอฟท์แวร์หรือเล่นเกมที่เป็นเบต้าเวอร์ชั่น ส่วนใหญ่จะต้องเป็นคน ‘วงใน’ หน่อยๆ

คือไม่ได้ ‘ใน’ มากเท่ากับคนที่มีโอกาสใช้ ‘อัลฟ่าเวอร์ชั่น’ แต่เป็นคนวงในที่อยู่ในชั้นนอกออกมานิดนึง ทำให้เป็นกลุ่มคนวงในที่มีจำนวนมากพอให้คนทั่วไปเห็นว่าคนเหล่านี้ ‘ได้ข้อมูลมาก่อน’ คนอื่น

พอเป็นแบบนี้ คนทั่วไปก็เริ่มอยากใช้สินค้าเบต้ากับเขาบ้าง เพราะดูเท่กว่า เพราะมีนัยของการเป็นผู้บุกเบิก / เป็นคนวงใน / กล้าเสี่ยง / และได้ทดลองของใหม่ก่อนคนอื่น

‘วัฒนธรรมเบต้า’ จึงถือกำเนิดขึ้นมา!

หลายผลิตภัณฑ์เลือกใช้วิธีเบต้าเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตลาด (เอิ่ม-101 ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละฮัฟว์!) โดยหวังว่าเป็นการสร้างความหวือหวาตื่นตาตื่นใจแก่ผู้บริโภค ในบางกรณีก็ถึงขั้นปล่อยผลิตภัณฑ์เบต้าที่แทบจะสมบูรณ์พร้อมออกมาแล้ว คือมีความเสี่ยงต่ำมาก โดยทั่วไปแล้ว เบต้าจะมีนัยของสภาวะที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่มีความเสถียร เสี่ยงกว่าคนอื่น และสามารถปรับปรุง และแก้ไขให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้ใช้ต้องเตรียมใจเผื่อไว้สำหรับความล้มเหลวหรือแปลกใจไว้

แต่กับ ‘วัฒนธรรมเบต้า’ ที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ที่เกือบสมบูรณ์พร้อมแล้ว คนที่ใช้เบต้าเวอร์ชั่น แทบไม่ได้ทดลองหรือเสี่ยงอะไรมากนัก แต่ได้เป็นผู้เสพและแสดง ‘สัญญะ’ ของ ‘ความเบต้า’ ให้คนอื่นเห็น รวมทั้งได้ใช้งานก่อนคนอื่นด้วย

ลักษณะสำคัญของสินค้าเบต้าคือมักมีอายุสั้น ทุกคนที่คุ้นชินในวัฒนธรรมเบต้าจะเรียนรู้ที่จะหาสินค้าเบต้าตัวต่อไปอย่างรวดเร็วเพื่อบำบัดความเบื่ออย่างรวดเร็ว

‘วัฒนธรรมเบต้า’ จึงสอดรับกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ที่อะไรต่อมิดอะไรเปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้เป็นอย่างดี

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save