fbpx

ASEAN บ่มีไกด์ Ep.12: สมรส(ยังไม่)เท่าเทียมในอาเซียน…ห่างเพียงเอื้อมมือ แต่คือแสนไกล!

เสียงเฮดังลั่นประเทศไทย เมื่อร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาในวาระแรก ท่ามกลางเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) เมื่อ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่นี่ก็เป็นแค่วาระแรกเท่านั้น หนทางยังอีกยาวไกลและเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ความหวังที่จะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด

ที่จริงแล้ว ไทยไม่ใช่ชาติแรกในอาเซียนที่ต่อสู้ผลักดันสิทธิสมรสเท่าเทียม เพราะมีประเทศอื่นที่พยายามต่อสู้มาก่อนหรือพร้อมๆ กับเรา คือเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา

แม้ความฝันจะขยับเข้ามาใกล้อยู่รอมร่อ แต่ประเทศเหล่านี้ก็ไม่เคยไปถึงสิทธิสมรสเท่าเทียมได้จริงเสียที ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ไปฟังเรื่องราวการต่อสู้ผลักดันสิทธิสมรสเท่าเทียมในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา กันได้ใน ASEAN บ่มีไกด์ ตอนล่าสุด

ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save