fbpx

” ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ….”
(ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1)

24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ปฏิบัติการอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังมาตรา 1 ของปฐมรัฐธรรมนูญสยาม หรือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 บัญญัติว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

จาก 2475 ถึงปัจจุบัน ชะตากรรมของประชาธิปไตยไทยสะท้อนความเป็นอนิจจังของสังคม รัฐประหาร 13 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ เหตุการณ์นองเลือดระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง อีกนับครั้งไม่ถ้วน เป็นบทสะท้อนว่า ‘ประชาธิปไตย’ ยังมิได้ลงหลักปักฐานถึงแก่นความคิด โครงสร้างการปกครอง รวมถึงวัฒนธรรมและจิตวิญญาณทางการเมืองของประเทศนี้

แต่อีกด้านหนึ่ง พลังสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในสังคมไทยก็ไม่เคยมอดดับลง ยิ่งมืดมิด กลับยิ่งสว่างแสงเสียด้วยซ้ำ

ขอนำเสนอชุดผลงานว่าด้วย “อภิวัฒน์สยาม 2475 : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” เพื่ออ่านอดีต เข้าใจปัจจุบัน 101 และมองอนาคตของประชาธิปไตยไทยในมิติการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม

นี่คือผลงานทั้งหมดที่ร่วมสร้างสรรค์ให้ “ประวัติศาสตร์ 2475″ กลับมามีชีวิตชีวาในสังคมไทยร่วมสมัยอีกครั้ง

สลายมายาคติ 2475

ในสังคมที่ประวัติศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือของการควบคุมกล่อมเกลาความคิดคนมากกว่าเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันอดีตของสังคมตนเอง

ประจักษ์ ก้องกีรติ สำรวจตรวจสอบมายาคติ 4 ประการในสังคมไทยเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 :

  1. 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่าม
  2. 2475 เป็นการปฏิวัติของนักเรียนนอกจำนวนน้อย
  3. 2475 เป็นการกระหายอำนาจและยึดอำนาจไว้กับกลุ่มตนเองเพียงลำพัง
  4. 2475 เป็นเพียงการรัฐประหาร ไม่ใช่การปฏิวัติที่แท้จริง

อะไรคือประวัติศาสตร์ 2475 ฉบับโรงเรียนไทยไม่ได้สอน สำหรับการต่อสู้ถกเถียงกับมายาคติทั้ง 4 ประการข้างต้น และหนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับ 2475 มีเล่มใดบ้าง ติดตามได้ใน “การปฏิวัติ 2475 ที่โรงเรียนไม่ได้สอน”

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล มองการอภิวัฒน์ 2475 ผ่านทัศนะทางประวัติศาสตร์กฎหมาย

……….

“ไม่เพียงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เท่านั้นที่พึงจดจำ เพราะหากกล่าวในแง่กฎหมายแล้ว วันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อนักกฎหมายและต่อความเข้าใจในระบบกฎหมายไทยสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฏตัวขึ้นของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย รวมถึงระบอบการเมืองปกครองแบบใหม่ที่กำหนดขึ้นไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกนี้ด้วย

“นี่คือปฐมบทแห่ง “ชีวิตรัฐแบบใหม่” ในระบอบการเมืองที่อุบัติขึ้นโดยผลของบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญไปพร้อมกันนั่นเอง

…..

“ความทรงจำที่มีต่อการอภิวัฒน์ 2475 จึงควรหมายถึงวันที่ 24 มิถุนายน และวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า หากไม่มี 24 มิถุนาฯ (เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น) ก็ย่อมไม่มี 27 มิถุนาฯ (ระบบกฎหมายที่ก่อตั้งบนฐานของเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น) และแม้จะมี 24 มิถุนาฯ แต่ถ้าไม่มี 27 มิถุนาฯ ก็ย่อมไม่มีความหมายใดๆ เช่นกัน …”

สฤณี อาชวานันทกุล ชวนเรากลับไปอ่าน “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ของปรีดี พนมยงค์ อีกครั้ง เพื่อสืบหาข้อคิดจากเค้าโครงการเศรษฐกิจในสายธารความคิดเศรษฐศาสตร์

สฤณีพยายามเสนอคำตอบเบื้องต้นต่อคำถามที่ว่า เราจะบรรลุเป้าหมาย “ความสุขสมบูรณ์” ของราษฎรดังเจตนารมณ์ของอาจารย์ปรีดีภายใต้เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างไร

ย้อนมองประวัติศาสตร์กฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากรัฐธรรมนูญยุคคณะราษฎร (2475-2489) สู่การ ‘รื้อสร้าง’ ความหมายโดยฝ่ายกษัตริย์นิยมหลังรัฐประหาร 2490

“อำนาจเก่าที่ยังไม่หายไป อำนาจใหม่ที่ยังไม่ตั้งมั่น”

ในเดือนมิถุนายนของทุกปี ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศย่อมเป็นโอกาสที่จะรำลึกถึงการอภิวัฒน์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่คณะราษฎรได้ร่วมกันก่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแผ่นดิน จากการปกครองโดยรัฐบาลที่มีกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย มาเป็นการปกครองโดยรัฐบาลที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

อ่านการฉายภาพ “ความร่วมมือ-ต่อรอง” ระหว่างคณะราษฎรกับพระปกเกล้า ผ่านถ้อยคำและภาษาที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ 

2475 ในหน้าประวัติศาสตร์

“24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

คือ ถ้อยคำจารึกบนหมุดคณะราษฎร ที่ระลึกถึงจุดอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับแรก โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

การปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สำเร็จลงได้ก็เพราะมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ระดับ “วางแผน 7 ปี ยึดอำนาจภายใน 3 ชั่วโมง” ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นคณะราษฎรแทบจะไม่มีกำลังในมือ ผู้ร่วมก่อการมีเพียงร้อยกว่าคน แต่สามารถยึดอำนาจได้สำเร็จโดยไม่มีการนองเลือด

………………………………………………

เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ?

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เปิดบันทึกประวัติศาสตร์ปากคำ เล่านาทีพลิกแผ่นดินสยาม ตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 พร้อมทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว”

อ่าน ‘2475’ ฉบับ ‘ปรีดี พนมยงค์’

“…‘สวะสังคม’ (Social Scum) คือ เศษโสมม (Rottenmass) ซึ่งสังคมเก่าได้โยนทิ้งไป แต่ตกค้างอยู่ในสังคมใหม่ นักทฤษฎีสังคมฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายมีทรรศนะตรงกันที่ถือว่า ‘สวะสังคม’ เป็นชนชั้นวรรณะอันตราย (Dangerous Class) จึงต่างฝ่ายต่างไม่คบเข้าร่วมในขบวนการ เพราะ ‘สวะสังคม’ นั้นเห็นแก่ตัว (Egoist) เป็นสำคัญ ซึ่งแสดงด้วยอาการอวดดี (self conceit) ยกตนเองว่าวิเศษกว่าคนอื่น”

“สิ่งตกค้างของระบบเก่าชนิดนี้ มีทรรศนะที่ผิดจากกฎธรรมชาติและกฎแห่งอนิจจัง ดึงสังคมให้ถอยหลังเข้าคลองยิ่งกว่าพวกถอยหลังเข้าคลองที่จำต้องเป็นไปตามสภาวะของเขา แต่อย่างไรก็ตาม การดึงให้สังคมถอยหลังก็เป็นไปเพียงชั่วคราว เพราะในที่สุดกฎแห่งอนิจจังต้องประจักษ์ขึ้น…”

ย้อนอ่านบันทึกของ ปรีดี พนมยงค์ ต่อกรณีอภิวัฒน์สยาม 2475 ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การตัดสินใจยึดอำนาจ รวมถึงคำชี้แจงเกี่ยวกับข้อครหาต่างๆ อาทิ การชิงสุกก่อนห่าม, ความขัดแย้งกับรัชกาลที่ 7, การแตกคอกันเองในหมู่คณะราษฎร ฯลฯ

สุดา พนมยงค์ ประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ บุตรคนที่ 3 ของปรีดี พนมยงค์ คุยเรื่อง “คุณพ่อ”, ชีวิตครอบครัว และการอภิวัฒน์ 2475 กับ กษิดิศ อนันทนาธร

……….

กษิดิศ : การที่คุณพ่อต้องลี้ภัย เพราะ “การเมืองเป็นพิษ” ไปอยู่ในประเทศจีนและฝรั่งเศสเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษก่อนจากโลกนี้ไปนั้น คุณสุดามองอย่างไรกับพุทธภาษิตที่คุณพ่อยึดถือที่ว่า “อโถ สุจิณฺณสฺส ผลํ น นสฺสติ – ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้วย่อมไม่สูญหาย

สุดา : ผลที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่เป็นนามธรรม เป็นคุณค่าที่อยู่ในใจเรา เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะไม่สูญหายไปไหน อย่างงานที่คุณพ่อภูมิใจว่าได้รับใช้ชาติและราษฎรไทยทั้งการอภิวัฒน์ 2475 และการเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทย ก็เป็นสิ่งที่อยู่กับท่าน คนรุ่นหลังซึ่งได้ศึกษาหาความจริงก็จะพบเองว่าคุณพ่อได้ทำอะไรไว้บ้าง

โดย ทีมงานเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์

เปิดเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ อ่านจดหมายของ ‘ปรีดี’ ถึง ‘พูนศุข น้องรัก’ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2475 เพื่อขอโทษที่ต้อง ‘พูดปด’ ต่อครอบครัว ด้วยจำเป็นต้องปกปิดปฏิบัติการลับ 24 มิถุนายน 2475!

รู้หรือไม่ว่า ปรีดี พนมยงค์ คือผู้ที่ริเริ่มให้มีการวางรากฐานธนาคารชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม

กำเนิดธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย ก่อนการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เกิด ‘สภาพปฐมแห่งธนาคารกลาง’ หรือที่เรียกว่า ‘สำนักงานธนาคารชาติไทย’ ขึ้นแล้ว ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความพิเศษของประวัติศาสตร์ธนาคารกลางที่ไม่เหมือนใครในโลก

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม จะพาคุณไปสำรวจกันว่า ‘สำนักงานธนาคารชาติไทย’ ที่ปรีดี พนมยงค์ ผลักดันจนออกเป็นพระราชบัญญัติให้มีการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2482 มีที่มาอย่างไร ต้องเผชิญปัญหาอะไรบ้าง และเป็นรากฐานสำคัญในการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในอีกสามปีต่อมาอย่างไร

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทสำคัญในการถวายความอารักขาแด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9) ให้พ้นภัยสงคราม

………..

“คนจำนวนไม่น้อยคลางแคลงสงสัยในความจงรักภักดีของนายปรีดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเขาเป็นแกนนำคนสำคัญของคณะราษฎร เป็นผู้เขียนประกาศคณะราษฎร และร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประกาศว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่การที่นายปรีดีถวายความปลอดภัยแด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านี้ เป็นพยานหลักฐานสำคัญที่แสดงให้ปรากฏถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของเขา” – กษิดิศ อนันทนาธร

รู้หรือไม่ สวัสดีปีใหม่ 1 มกราคม ก็เป็นมรดกคณะราษฎร — ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าประวัติศาสตร์ว่าด้วย “1 มกราคม” ในฐานะวันปีใหม่ของสังคมไทย

……….

การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร คือการปฏิวัติสร้างระบอบการปกครองใหม่ของไทยตามอย่างสากล … มุ่งสร้างไทยทุกด้านให้เจริญศิวิไลซ์เท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว ทั้งในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ทั้งด้านการแต่งตัว การกินอยู่หลับนอน การทำงาน

เมื่อหลวงพิบูลฯ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2481 อีกหนึ่งปีต่อมา ช่วงปลายปี 2482 หลังจากสถาปนาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กลางถนนราชดำเนินกลาง สถาปนาวันชาติ 24 มิถุนายน เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ‘ไทย’ และสร้างเพลงชาติไทยใหม่แล้ว หลวงพิบูลฯ ก็เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาเรื่องวันเปลี่ยนปีศักราชให้เป็นวันที่ 1 มกราคม

กระบวนการสร้างเพื่อให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนปีศักราชตามอย่างสากล แทนแบบไทยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 1 เมษายน มีขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวันแรกปีแรก

คณะราษฎรทำให้เราได้สวัสดีปีใหม่ 1 มกราคม จากปี 2484 มาถึงทุกวันนี้ โดย “จงเป็นเวลารุ่งอรุณแห่งชีวิต ให้ชาติไทยได้รับความเจริญและก้าวหน้าขึ้นสู่ความรุ่งโรจน์ใหญ่หลวง ให้อาณาประชาราษฎรทั้งปวงได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ทั่วกัน” (พระราชบัญญัติปีประดิทิน 2483)

กล่าวโดยสรุป วันเปลี่ยนปีศักราช 1 มกราคม โดยคณะราษฎร ก็เพื่อสร้างชาติไทยให้มีความเป็นสากล และเพื่อสร้างประชาธิปไตยไทยตามหลักสากลนั้นเอง

รู้ไหมว่า ปรีดี พนมยงค์ เคยเป็นผู้เขียนบทและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์!

ภาพยนตร์ไทยขาวดำ ถ่ายทำในระบบ 35 มม. และพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้นจนจบ เรื่องนั้น คือ “พระเจ้าช้างเผือก” (The King of the White Elephant) ผลงานการเมืองเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนแนวคิดด้านสันติภาพของปรีดีได้อย่างดีที่สุด

เทพพิทักษ์ มณีพงษ์ ชมภาพยนตร์ที่สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในวันนี้ แล้วเขียนบอกเล่าความคิดของเขา จากมุมมองคน Gen Y

รู้หรือไม่ว่า กว่าที่ ‘ก๋วยเตี๋ยว’ จะกลายมาเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยในปัจจุบัน มันมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และเกี่ยวข้องกับการ ‘สร้างชาติ’ ในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างไร

วชิรวิทย์ คงคาลัย จะพาคุณย้อนประวัติศาสตร์การกินของคนไทย ที่เริ่มต้นจากการกินแบบ ‘กับน้อยๆ ข้าวเยอะๆ’ มาสู่ยุค ‘กับเยอะๆ ข้าวน้อยๆ’ ซึ่งเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างที่คุณคาดไม่ถึง

ในการเมืองไทย มีรัฐประหารแบบพลางรูปการยึดอำนาจของคณะตนเองได้อย่างเนียน ไม่มีการปรากฏตัวของทหารและรถถังรถเกราะบนท้องถนน แต่เตรียมพร้อมกำลังพลในกรมกอง และมียุทธวิธีที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย มีคณะยึดอำนาจเข้าสู่อำนาจได้ในลักษณะนี้ 3 ครั้งด้วยกัน นั่นคือรัฐประหารครั้งแรก 1 เมษายน 2476 รัฐประหารทางจดหมาย 6 เมษายน 2491 และรัฐประหารทางวิทยุกระจายเสียง 29 พฤศจิกายน 2494

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พาย้อนรำลึกถึงการอภิวัฒน์สยาม 2475 ผ่านกิจกรรมกินดื่มของคณะราษฎร

“บางวัน ข้าพเจ้ากับนายปรีดีออกจาก Sainte-Geneviève แล้วก็มานั่งเล่นที่ร้านกาแฟ Café Select มุมถนน Rue des Ecoles ตัดกับถนน Boulevard Saint-Michel ใกล้ๆ กับพิพิธภัณฑ์ Cluny นายปรีดีเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ที่ร้านกาแฟนี้ นายปรีดีและเพื่อนๆ ร่วมกันคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรารถนาให้สยามประเทศมีรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีเสรีภาพและประชาธิปไตย”

ทั้งเสริมว่า “เมื่อ 2 ปีก่อน (พฤษภาคม 2542) ข้าพเจ้าหวนกลับไปปารีสอีกครั้ง ร้าน Café Select ปัจจุบันเป็นร้านขายเสื้อผ้า ไม่หลงเหลือสภาพเดิมให้ปรากฏ”

พระที่นั่งอนันตสมาคม จากเดิมเป็นพื้นที่สัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่การเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการอภิวัฒน์สยาม 2475

คน 2475

11 พฤษภาคม 2563 เป็นวาระรำลึก 120 ปีชาตกาล ‘ปรีดี พนมยงค์’ รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน

101 ขอร่วมรำลึกถึงนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจที่เป็นธรรม และเสรีภาพทางการศึกษา ด้วยการชวนย้อนอ่านงานเขียน “ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม” (ตีพิมพ์ปี 2560) ของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้ชีวิตทางวิชาการเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของปรีดีและคณะราษฎร

ในวาระแห่งการจากไปของสามัญชนสยามคนหนึ่ง 101 ชวน ‘กษิดิศ อนันทนาธร’ เขียนรำลึกถึงคนผู้นั้น 

สตรีผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของมหาบุรุษ ‘ปรีดี พนมยงค์’ ทั้งในยามสำเร็จและล้มเหลว

สตรีผู้ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น 

สตรีผู้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยชีวิตของเธอ

“พูนศุข พนมยงค์”

“ตอนแต่งงานยังเด็กอยู่มาก อายุยังไม่ถึง 17 ปีเต็มเลย แต่ ‘การแต่งงานนี่ก็เป็นสิ่งที่เลือกเอง’ นะคะ แต่สำหรับท่าน (ปรีดี) คงคิดว่า ชีวิตนี้ต้องทำอะไรอย่างหนึ่งที่เป็นการรับใช้ชาติบ้านเมือง ควรจะมีใครมาอยู่เคียงข้างที่จะช่วยเหลือการงานกันได้ เป็นอย่างนั้นมากกว่าที่จะคิดเรื่องโรแมนติก” 

 

กษิดิศ อนันทนาธร ถ่ายทอดถ้อยคำของ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้เป็นภรรยารัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์ ตั้งแต่ ‘แรกรู้จัก’ ‘เริ่มรัก’ ไปจนถึงผ่าน ‘มรสุมของชีวิต’ เมื่อปรีดีต้องหลบหนีไปต่างประเทศ จนกระทั่งกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง 

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึง วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์ ลูกสาวคนเล็กของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส กับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ และลูกสะใภ้ของ “ศรีบูรพา” นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับ “จูเลียต” นางชนิด สายประดิษฐ์ 

“แม้วาณีจะเป็นลูกสาวคนเล็กและลูกสะใภ้ของบุรุษทั้งสองที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก แต่คุณวิเศษของวาณีไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ผลของการที่วาณีก่อสร้างไว้ดีแล้วในช่วงชีวิตของเธอ” 

“สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานคำไว้อาลัยมายังพี่สาวทั้งสองของผู้วายชนม์ ความตอนหนึ่งว่า “พี่วาณีจากพวกเราไปแล้ว งานแสดงภาพถ่ายของข้าพเจ้าที่จัดเป็นประจำทุกปี มีแต่พี่ๆ สองท่าน (พี่สุดา และพี่ดุษฎี) ที่ยังมาตามเคย แทนที่จะมีสามท่าน ข้าพเจ้ายังมีความทรงจำที่ดีและถือได้ว่า พี่วาณีเป็นคนดีคนหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้จัก”

6 เมษายน 2560 ฉลบชลัยย์ พลางกูร จากโลกนี้ไปในวัย 100 ปีเศษ

ในวันประชุมเพลิง 17 เมษายน 2560 กษิดิศ อนันทนาธร เขียนเล่าเรื่อง 100 ปีแห่งชีวิตของครูใหญ่แห่งโรงเรียนดรุโณทยาน

ปูชนียบุคคลผู้ควรค่าแก่การก้มหัวให้ 

ครูผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความจริง ความดี ความงามขึ้นในลูกศิษย์มายาวนานกว่า 60 ปี

ภรรยาผู้เสียสละสามี จำกัด พลางกูร เสรีไทยคนสำคัญ ไปในภารกิจ “เพื่อชาติ เพื่อ humanity”

สตรีผู้กล้าเผชิญหน้ากับอำนาจอธรรม ผู้อุปการะลูกหลานของผู้ที่ถูกการเมืองเป็นพิษเล่นงาน ตั้งแต่ลูกของ 4 รัฐมนตรีอีสาน ลูกของผู้ต้องหาคดีสวรรคต เรื่อยมาจนเป็น “คุณป้า” ของนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

101 ขอร่วมรำลึกถึงชีวิตและงานของ “ครูผู้มีชีวิตเพื่อผู้อื่น” ด้วยความเคารพอย่างที่สุด 

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้ใช้ชีวิตโลดแล่นตามอุดมคติแห่งคณะราษฎร ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการศึกษา นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ และนักธุรกิจ

“ซิม วีระไวทยะ” ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากปรีดี พนมยงค์ จนถูกหยอกว่าเป็นหนึ่งในสองอัครสาวกของเขา – ซิมเป็นพระสารีบุตร สงวน ตุลารักษ์ เป็นพระโมคคัลลานะ

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกหลังการอภิวัฒน์ 2475 ผู้ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในสังคม เรียกร้องให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ทั้งหมด ให้เป็น “นาย” เสมอกัน

“ซิม วีระไวทยะ” เป็นนักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “สฺจจํ” เพื่อตอบโต้ผู้กล่าวหาและโจมตีคณะราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม ชื่อของหนังสือพิมพ์มาจากพุทธภาษิต “สจฺจํ เว อมตา วาจา – ความสัจแลเป็นวาจาไม่ตาย”

ชีวิตของ “ซิม วีระไวทยะ” เต็มไปด้วยความน่าทึ่งอีกสารพัดอย่าง เราอยากชวนคุณผู้อ่านค้นหาชีวิตของคนที่เราไม่ควรลืม รวมถึงปริศนาชื่อ “ดวงใจ” มาจากไหน จากงานเขียนของ กษิดิศ อนันทนาธร ในซีรีส์ “2475” ของ 101

“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

กษิดิศ อนันทนาธร เปิดปูม ‘ปฐมรัฐธรรมนูญ’ แห่งสยาม ด้วยเกร็ดชีวิตของผู้ลงมือพิมพ์ดีดร่างปฐมรัฐธรรมนูญบนเรือจ้างกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

‘ชุบ ศาลยาชีวิน’ — ศิษย์แห่งปรีดี พนมยงค์

“26 กุมภาพันธ์ 2492 หลังจากนายปรีดี พนมยงค์และพวก ล้มเหลวในการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ถูกพรากไปนับแต่การรัฐประหารทางทหาร ที่มีการฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 จนถูกให้ชื่อว่าเป็น ‘กบฏวังหลวง’ นั้น ปรีดีต้องหลบหนีการจับกุมของทางการอย่างยากลำบาก กว่าจะหลบออกไปลี้ภัยนอกประเทศได้

“ในยามที่รัฐบุรุษอาวุโสพลั้งพลาดเช่นนี้ คู่ชีวิตของเขาอย่างท่านผู้หญิงพูนศุขเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญ ไม่เพียงการให้ความรักและกำลังใจ แต่ยังรวมถึงการจัดสถานที่หลบซ่อนให้อีกด้วย ในชั้นแรกท่านผู้หญิงนำปรีดีไปอยู่ที่บ้านถนนสุรวงศ์ของนายแพทย์โกวิท อัศวนนท์ ผู้เป็นหลานเขย แต่ก็เกรงว่าเมื่อทางการตรวจค้นตามบ้านญาติพี่น้องแล้วจะไม่ปลอดภัย ท่านผู้หญิงจึงต้องย้ายปรีดีไปยังสถานที่ซึ่งปลอดภัยกว่า

“หลังจากนั้น ก่อนที่จะสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ปรีดีจึงได้มาอยู่ที่บ้านฉางเกลือของนายอุดร รักษมณี บุคคลซึ่งไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน แต่ก็เต็มใจช่วยเหลือเพราะศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย และได้รับการร้องขอจากเพื่อนรักของเขาที่มีชื่อว่า สุธี โอบอ้อม

“บุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการรอดชีวิตของรัฐบุรุษอาวุโสในช่วงเวลาที่ตกต่ำที่สุด ก็คือ ‘สุธี’ ผู้นี้นี่เอง”

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าประวัติชีวิตของข้าราชการนามว่า สุธี โอบอ้อม ผู้ช่วยเหลือปรีดี พนมยงค์ ในช่วงเวลายากลำบาก ทั้งยังเป็นข้าราชการที่ทำงานหนัก และซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา

อ่านบทสัมภาษณ์ ดร.จริย์วัฒน์ สันตะบุตร บุคคลซึ่งอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ รักเหมือนลูกคนสุดท้อง

เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน และเป็นคนหนึ่งที่กล้าแหย่ให้อาจารย์ปรีดีหัวเราะอย่างมีความสุขได้ ในช่วงที่เป็นนักศึกษาในอังกฤษ เขามีโอกาสใกล้ชิดกับอาจารย์ปรีดีในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านที่ประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางไปขอความรู้จากท่านหลายครั้ง ได้สนทนา ได้เรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากท่านมามิใช่น้อย และได้เดินทางไปร่วมงานฌาปนกิจศพท่านที่สุสาน Père Lachaise ชานกรุงปารีสด้วย

ถึงชายผู้นี้จะมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และผูกพันกับอาจารย์ปรีดีอย่างมาก แต่ไม่บ่อยนักที่เขาจะเปิดเผยเรื่องราวระหว่างเขากับชายผู้ที่เขาเคารพรัก

“ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับคนอื่น”

ถ้อยประกาศนี้ไม่ใช่สักแต่พูดเพื่อเอาเท่ หากแต่เป็นประหนึ่งพันธสัญญาแห่งชีวิตในทางสังคมของ ‘ลูกผู้ชาย’ ชื่อ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ ตราบจนชีพวายโดยแท้

กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ‘ศรีบูรพา’ เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ หัวเรือใหญ่ของ ‘คณะสุภาพบุรุษ’ ผู้ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยเป็นโคมไฟส่องทางสังคม และขับเคี่ยวกับระบอบอำนาจนิยมอย่างโดดเด่นเห็นชัด นำร่องมาก่อนเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ด้วยซ้ำ

เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการ ‘สามัญชน’ ชวนผู้อ่านร่วมรำลึกถึง ‘สามัญชน’ คนสำคัญร่วมยุคสมัย ‘2475’

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เปิดกรุเอกสารเก่าเล่าเรื่อง “ขุนสมาหารหิตะคดี” หรือ “โป-ระ สมาหาร” นักการเมืองยุคหลังการอภิวัฒน์ 2475 ที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก

ทำไมชีวิตของขุนสมาหารฯ ถึงน่าสนใจ?

เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 1 จังหวัดพระนคร จากการเลือกตั้งครั้งแรก

เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม

เขาเป็นผู้แต่งและจัดพิมพ์ “พจนานุกรมกฎหมาย” หมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ความคิดและสังคมในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ของสยาม

เขาได้รับยกย่องจากหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ว่าเป็นแบบอย่างของผู้มี “คุณสมบัติที่ดีของการทำราชการ” อีกด้วย

คนรุ่นปี พ.ศ. 2475-2495 มองเรื่อง ‘คุณสมบัติที่ดีสำหรับการทำราชการ’ อย่างไร อ่านคำไว้อาลัยของพระองค์วรรณฯ ถึง ฯพณฯ โป-ระ สมาหาร ได้พร้อมกันนี้

กษิดิศ อนันทนาธร สนทนากับ ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน ธิดาของ “ท่านชิ้น” – ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ถึงเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวของ “ท่านชิ้น” ผู้มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยจากยุครัชกาลที่ 7 ถึงยุครัชกาลที่ 9 ตอนต้น โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในฐานะ “เสรีไทย”

101 สนทนากับ พันตรี พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ลูกชายของพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร และนายกรัฐมนตรี 5 สมัย

ในวัย 80 ปี เขามองการกระทำอันยิ่งใหญ่ของคณะราษฎรอย่างไร, ในยามสงครามจบสิ้น เขามองตัวเองในฐานะทหารผ่านศึกอย่างไร, ในวันที่ประชาธิปไตยส่องแสงริบหรี่ เวลาได้ยินคำว่าคณะราษฎร ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ เขารู้สึกอย่างไร, และในวันที่ทหารเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เขาคิดว่าคนแบบพระยาพหลฯ ยังมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ

“สุกหรือห่ามเนี่ยแปลว่ามันเป็นผลไม้แน่ๆ แต่มันจะมีผลไม้ได้มันต้องมีต้น อยู่ดีๆ ผลไม้มันจะออกมาโดยไม่มีต้นไม่ได้ ประเด็นคือต้นมันยังไม่มีเลย แล้วมันจะสุกจะห่ามได้ยังไง คณะราษฎรเขาไปเรียนต่างประเทศ ไปเห็นไอ้ต้นไม้ประชาธิปไตยว่ามันมีประโยชน์แน่ๆ กับแผ่นดินไทยกับราษฎรไทย เขาถึงกล้าเอาหัวพาดเขียงที่จะเอาต้นไม้ต้นนี้มาปลูกในแผ่นดินนี้”

พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ว่าด้วยประวัติ ประสบการณ์การเป็นนายกรัฐมนตรี ไปจนถึงการรักษาวาจาสัตย์ เรื่องราวอันเป็นที่มาของฉายา ‘เชษฐบุรุษ’ หรือผู้ที่เป็นผู้ใหญ่

“ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ” เป็นสุภาษิตที่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์) “เลือกเอามาเปนบทประจำดวงตราสกุลพหลโยธิน”

แม้เจ้าคุณพหลฯ จะตายจากไปกว่า 72 ปีแล้ว แต่ชื่อของท่านก็ยังปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยอย่างไม่เลือนในฐานะหัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยมาสู่สังคมไทย แม้ว่าหมุดคณะราษฎรอันเป็นอนุสรณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ท่านได้ไปยืนอ่านประกาศในย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ณ พระลานพระราชวังดุสิต จะปลาสนาการไปแล้วอย่างน่าฉงนก็ตาม

Play Video

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทำไมมักมีฝ่ายที่ไม่พอใจชอบอ้างว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม

101 ชวนฟังทรรศนะจากพันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ลูกชายพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำคณะราษฎร เพื่อเป็นการทบทวนอดีตและมองไปยังอนาคต

เมื่อต้นไม้ประชาธิปไตยไม่มีใครสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตได้ แล้วสังคมไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ท่ามกลางทหารเป็นใหญ่ในแผ่นดิน…

จาก 2475
ถึง ปัจจุบัน

101 ชวนอ่านทัศนะจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ‘ธรรมศาสตร์’ ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ถึงเหรียญสองด้านของ ‘2475’ หมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หัวเชื้อที่ทำให้ทั้งคนที่นิยมประชาธิปไตยและไม่นิยมประชาธิปไตย ได้แอ่นอกปะทะกันทั้งทางความคิดและร่างกายมาต่อเนื่องยาวนาน

“คณะราษฎรไม่ได้ล้มเจ้า เพราะตอนยึดอำนาจได้แล้ว รัชกาลที่ 7 ก็ยังอยู่ ตอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคมก็เป็นไปด้วยดี ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ แล้วเมื่อไปถึงการสละราชสมบัติแล้ว คณะราษฎรก็กราบบังคมทูลในหลวงรัชกาล 8 ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะไปบอกว่าเขาล้มเจ้าได้อย่างไร”

“ผมตีประเด็นแบบประวัติศาสตร์ว่าเหรียญมันมีสองด้าน ถ้าเราบอกว่าใจร้อน มันอยู่ที่ว่าใจร้อนในทัศนะของใคร แต่เอาเข้าจริงแล้ว ความคิดเรื่องประชาธิปไตยมันมีมานานมาก ไม่ใช่เพิ่งมามีตอนพระยาพหลพลพยุหเสนาไปเรียนที่เยอรมันแล้วกลับมา”

“ในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 สมาชิกคณะราษฎร มีเพียง 4 ท่านที่ถือว่าอาวุโส มีอายุระหว่าง 38-45 ปี สมาชิกส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปี จนถึง 35 ปีเพียงเท่านั้น

คณะราษฎรคือกลุ่มไทยใหม่ เป็น The Young Thai ที่มุ่งสร้างชาติไทยขึ้นมาใหม่ เข้าแทนที่กลุ่มสยามเก่า The Old Siam ที่ไม่สอดรับกับกระแสโลกสมัยใหม่อีกต่อไป …

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มไทยใหม่ ได้ร่วมกันพลิกแผ่นดินเพื่อปลูกความเจริญมั่งคั่งศิวิไลซ์ครั้งสำคัญ เหมือนยุคสิ้นระบอบเก่าราชอาณาจักรอยุธยา ที่กลุ่มคนอายุน้อยรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์ยุคสมัยกรุงธนบุรี ภายใต้การนำของพระเจ้าตากสินมหาราช หรือในการปฏิวัติตุลาคม 2516”

ชวนอ่านบทปาฐกถา “2475 : อดีต ปัจจุบัน อนาคต” ของ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

“ช่วงเวลาที่คณะราษฎรไปควบคุมตัวเจ้านายเพื่อเปลี่ยนระบอบนั้นมันเข้มข้นมาก แต่เรื่องพวกนี้เพียงบอกผ่านๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคปกติได้อย่างไร”

“การย้อนกลับไปอ่านเรื่องราวต่างๆ หรือหนังสือยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองมันเหมือนเป็นถ้ำ เวลาผมเบื่อๆ สังคมการเมืองปัจจุบัน ผมจะกลับเข้าไปในถ้ำนี้สำรวจดูว่าคณะราษฎรเขามีเหตุผลอย่างไรที่ต้องลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เป็นมณฑลแห่งพลัง มันชาร์จพลังชีวิตให้เรา”

ธิติ มีแต้ม สัมภาษณ์ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านพุทธศาสนาที่ผันตัวมาขุดค้นและลงลึกกับชีวิตของคณะราษฎร และ ‘2475’ จากกองหนังสือเก่าและเอกสารฝุ่นจับหลายหมื่นชิ้น ที่เรียกกันว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพ

มันออกจะดูนามธรรมหน่อยๆ เพื่อนก็มี หมาแมวก็มีอยู่เคียงข้าง ทำไมต้องถามว่า “หากว่ามีหมุดฯ เคียงข้าง” มีไปทำไม มีแล้วเกะกะรกหูรกตาไหม

กล่าวอย่างรวบรัดที่สุด ถึงตอนนี้ตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 ก็ครบ 85 ปีแล้ว แต่ลองใคร่ครวญกันสักหน่อยว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับชีวิตเราๆ ยิ่งพิจารณาจากภาวะที่บ้านเมืองมีทหารต้องการคืนความสุขปกครองอยู่ ยิ่งพิจารณาจากหมุดคณะราษฎรที่หายไป กลายมาเป็นหมุดสุขสันต์หน้าใสแทน ยิ่งน่าคิดเชื่อมสัมพันธ์ด้วย

ธิติ มีแต้ม รีวิวคนธรรมดาสามัญที่พยายามเชื่อมตัวเองกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นว่าคุณภาพชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างไร ตามด้วยลองเปรียบหลัก 6 ประการแบบฉบับหมุดสุขสันต์หน้าใสว่าแตกต่างจากฉบับคณะราษฎรอย่างไร

“ศิลปะเป็นการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าตัวเนื้อหาของมันจะพูดเรื่องการเมืองหรือไม่ก็ตาม” ธนาวิ โชติประดิษฐ ตอบคำถามนี้ในฐานะของคนที่คลุกคลีกับทั้งสองแวดวง

ในแวดวงวิชาการ เธอเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยวชาญเรื่องศิลปะร่วมสมัย สนใจประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและเทศ โดยเฉพาะแง่มุมทางการเมือง

ในแวดวงศิลปะ เธอเป็นนักวิจารณ์อิสระ ออกตัวชัดเจนว่าอยู่ฝั่งประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหาร

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล กองบรรณาธิการ 101 ชวน ธนาวิ โชติประดิษฐ มานั่งคุยเรื่องศิลปะร่วมสมัยกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์-วิพากษ์เรื่องหมุดเจ้าปัญหา จากหมุดคณะราษฎร ถึงหมุดหน้าใส

“ขณะที่โลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 วิทยาศาสตร์ท้าทายพระเจ้าครั้งแล้วครั้งเล่า ปัญญาลบล้างคติความเชื่อมากมายที่อยู่บนพื้นฐานของศรัทธาแต่โดยลำพัง มนุษย์กำลังไปดาวอังคาร แต่บ้านนี้เมืองนี้กลับยังเต็มไปด้วยเรื่องราวอันเหลือเชื่อเหนือเหตุผล

“อยู่กันด้วยอภินิหารของกฎหมายโดยไม่แยแสสนใจอารยธรรมและความเป็นไปของโลก!”

อ่านต่อบทความของ อายุษ ประทีป ณ ถลาง เรื่อง “หลักหมุดคณะราษฎร: ประเทศไทยภายใต้ระบอบปกครองประชาธิปไตย” ได้ที่นี่!

วจนา วรรลยางกูร คุยกับ เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ ผู้อำนวยการหลักสูตร BMCI วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงภาพของคณะราษฎรที่ปรากฏผ่านละครในฐานะ ‘ตัวร้าย’ การเมืองในละครหลังข่าว และทิศทางความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมละครไทยที่อาจนำไปสู่พื้นที่ของเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น

“เมื่อคนพูดถึงคณะราษฎรในฐานะที่ไม่ได้เป็นแค่คณะราษฎรในประวัติศาสตร์ แต่เป็นตัวแทนของคนบางกลุ่มที่อาจจะรู้สึกว่าอยากเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบถอนรากถอนโคน เลยทำให้คณะราษฎรถูกนำเสนอในด้านลบ”

“เป้าหมายของละครส่วนใหญ่คือเพื่อธุรกิจ เขาจะทำให้มันเข้มข้นขึ้นเพื่อให้คนดูสนุก แต่ความสนุกนั้นมาด้วยการทำให้เกิดตัวร้ายที่เห็นชัด บทบาทสำคัญกลายไปตกอยู่ที่คณะราษฎร

“กระแสการเมืองและกระแสสังคมในช่วงหลังมีคนส่วนหนึ่งมองว่าคณะราษฎรเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้ายที่ทำให้ตกหลุมอยู่ในประชาธิปไตยจอมปลอมอยู่นาน สิ่งเหล่านี้ผสมรวมกันจนทำให้ภาพของคณะราษฎรเป็นแบบนี้”

“นิทรรศการนี้รวบรวมข้าวของยุค 2475 จากหลายๆ ที่ และแทบหาดูไม่ได้แล้วมาจัดแสดง ปัจจุบันแทบไม่มีพิพิธภัณฑ์ไหนในประเทศไทยให้ความสำคัญต่อยุคสมัยทางศิลปะของศิลปะคณะราษฎร น่าจะเป็นไม่กี่ครั้งที่เราจะได้ดูของเหล่านี้” กิตติมา จารีประสิทธิ์ หนึ่งในภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และอาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงภาพรวมของ ‘Revolution Things’

101 ชวนเจาะลึกเบื้องหลังนิทรรศการ สนทนาเรื่องศิลปะ ค้นหาสปิริตแห่งการปฏิวัติ 2475 ฟังคำขานรับที่ประชาชนมีต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านข้าวของต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และฟังทัศนะของชาตรี กิตติมา ร่วมด้วย ประชา สุวีรานนท์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม (cultural genocide) เป็นข้อเสนอของนักกฎหมายชาวโปแลนด์ที่ต้องการให้เป็นคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเอาผิดการทำลายสิ่งก่อสร้างและศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างสงคราม

สิ่งก่อสร้างที่ถูกทำลายไม่ใช่อิฐปูน แต่ยังเป็น ‘อัตลักษณ์’ ของกลุ่มคน ทำให้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพื่อทำลายหลักฐานทางกายภาพ ลบประวัติศาสตร์ ทำลายความเป็นมาของกลุ่มชน

วจนา วรรลยางกูร พาไปสำรวจประเด็นการทำลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านสารคดี The Destruction of Memory และสะท้อนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับมรดกคณะราษฎรในมุมมองของ ชาตรี ประกิตนนทการ ซึ่งในกรณีของไทยควรเรียกว่า ‘การทำลายล้างทางอุดมการณ์’ (ideological cleansing)

ข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ปรากฏบนวิกิพีเดียบอกอะไรเราบ้าง?

วรรษกร สาระกุล ชวนมอง 2475 ผ่านโลกของข้อมูล เมื่อสถิติผู้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้สะท้อนความสนใจของผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ

ธนาพล อิ๋วสกุล เขียนถึงการกลับมาเกิดใหม่ของอุดมการณ์คณะราษฎร หลังจากที่ความทรงจำเรื่องคณะราษฎรกับการอภิวัฒน์สยาม 2475 ถูกทำให้ลบเลือนหายไปจากสังคมไทย ตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร 2490

Written (in Thai) by Thanapol Eawsakul (June 2017)

Translated by Tyrell Haberkorn (June 2018)

In this essay, first written in Thai in July 2017, Thanapol Eawsakul, public intellectual and editor of Fa Diew Kan journal, reflects on the actions of the People’s Party in 1932 and the changing meaning of their actions over the past 75 years.

Thanapol posits that the memory of the People’s Party has risen and fallen across different periods of Thai politics. The People’s Party has emerged and come to be seen as significant by citizens three times: during the first 15 years after the 1932 transformation, during the student movement between 1973 and 1976, and most recently, after the 19 September 2006 coup.

In each of these periods, the actions of the People’s Party were highlighted and commemorated, and the values of democracy, constitutionalism, and peoples’ participation guided social and political action. The disappearance of the plaque, perhaps intended as an attempt to erase the memory of the People’s Party, only served to indicate its heightened significance after the 22 May 2014 coup and the 13 October 2016 death of King Bhumipol Adulyadej.

“ถ้ามองในประวัติศาสตร์ยาวๆ ผมกลับเห็น ‘ปรีดี’ เต็มไปหมดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องโยงไปถึงศัพท์แบบปรีดี แต่สิ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังแสดงออกมา ผมว่าหลายอย่างคือการพัฒนาต่อยอดมาจากปรีดี”

เนื่องในวาระ 120 ปีชาตกาล ‘ปรีดี พนมยงค์’ 101 ชวนหาคำตอบเรื่องมรดกทางความคิดของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ ในสังคมไทยสมัยใหม่ กับ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญากฎหมาย และความคิดทางการเมืองและสังคมของปรีดี พนมยงค์

“ผมมองว่า ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของปรีดี นอกจากจะหมายรวมถึงทุกเรื่องที่ท่านทำสำเร็จแล้ว ยังต้องรวมเอาความล้มเหลวเข้าไปด้วย เพราะมันยังมีมุมที่ทำให้เราเห็นว่า อย่างน้อย ก็มีสามัญชนคนไทยคนหนึ่งกล้าลุกขึ้นมาบอกกับเราว่า พวกเราสามารถรับผิดชอบอนาคตของตัวเองได้”

24 มิถุนายน 2563 ครบรอบ 88 ปี ‘การอภิวัฒน์สยาม 2475’ ท่ามกลางบรรยากาศครึกครื้นจากการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง จุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยจากกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ ซึ่งครั้งหนึ่งเกือบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย มาในวันนี้กลับมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ หากแต่เรื่องราวภายหลังการยึดอำนาจมิได้จบลงแต่เพียงเท่านั้น ยังมีการต่อสู้ทางการเมืองอีกมากมายที่รอคอยให้ยุวชนคนรุ่นหลังเข้าไปค้นหา

คุยกับ ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ผู้เขียนหนังสือ ‘ราษฎรธิปไตย การเมือง อำนาจ และทรงจำของ (คณะ) ราษฎร’ ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อสถาปนาความหมายของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่นิ่งคล้ายไม่รู้หนาวร้อน นิ่งท่ามกลางการยื้อยุดช่วงชิงความหมายของผู้คนที่หลากหลาย ไม่ว่าจากชนชั้นปกครองหรือสามัญชน จนขับเน้นให้ความเป็นประชาธิปไตยในอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเด่นชัดขึ้น

Play Video

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย, เมธิชัย เตียวนะ, ชุติกาญจน์ บุญสุทธิ

หากนับตั้งแต่วันก่ออิฐ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยวันนี้ดำรงอยู่เป็นปีที่ 81 ยืนหยัดท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองในไทยครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นฉากหลังของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ พฤษภาฯ 35 พันธมิตรฯ นปช. และ กปปส. ฯลฯ เป็นพื้นที่เรียกร้องความเป็นธรรมของประชาชนจากทั่วทุกหย่อมหญ้า และเป็นวงเวียนที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเคยสัญจรผ่าน

พานรัฐธรรมนูญบนแท่น ผ่านร้อนผ่านฝน ผ่านลมผ่านหนาว ตั้งมั่นอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และเปิดพื้นที่โดยไม่ขวางกั้นว่าคุณอยู่สีไหน มาวันนี้ นาทีนี้ ความเป็นประชาธิปไตยของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยดำเนินมาอย่างไรในห้วงยามที่ประชาธิปไตยไหวเอน

ชวนรับฟังมุมมองผ่านสายตาของ ศรัญญู เทพสงเคราะห์, ธิดา ถาวรเศรษฐ และสุริยะใส กตะศิลา พร้อมฉากและเหตุการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save