20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนตุลาคม 2567

กาแฟสามถุงที่เปลี่ยนอุตสาหกรรมกาแฟโลกไปตลอดกาล     

คอลัมน์ถุงนี้ที่เปิดชง เอกศาสตร์ สรรพช่าง เล่าเรื่องราวของสามแบรนด์ดังแห่งวงการกาแฟจากอิตาลี ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมกาแฟโลก

‘มรดกโลก’ หรือ ‘การพัฒนา’? ทางเลือกที่อาจไม่จำเป็นต้องเลือก เมื่อรถไฟความเร็วสูงใกล้มาเยือนอยุธยา

101 ลงพื้นที่จังหวัดอยุธยาในบริเวณที่มีแผนทำโครงการรถไฟความเร็วสูง ท่ามกลางข้อกังวลว่าอาจทำให้ถูกถอนจากการเป็นมรดกโลก

The Substance (2024) ความแก่ชราและเรือนร่างอันไม่เป็นที่ปรารถนา ในสายตาทุนนิยม

นักแสดงหญิงวัย 50 ที่ฉีดสารกระตุ้นเข้าร่างเพื่อให้เธอให้กำเนิดร่างใหม่ที่ “สาวกว่า สวยกว่าและสมบูรณ์แบบกว่า” ซึ่งนำไปสู่หายนะในชีวิตที่เธอไม่อาจเลี่ยง

The Substance (2024) เป็นหนัง body horror ที่หยิบเอามิติของความงามมาสำรวจผ่านแง่มุมของความสยดสยอง และบรรทัดฐานที่ไม่มีใครไปถึง

‘ตาคลี เจเนซิส’ จินตนาการเด็กสายวิทย์ จากศิษย์ห้องสายศิลป์

‘กัลปพฤกษ์’ เขียนถึง ‘ตาคลี เจเนซิส’ (2024) ในฐานะหนังไซ-ไฟที่แสนจะทะเยอทะยาน… แต่ความทะเยอทะยานนี้มันก็เป็น ‘คนละเรื่อง’ กับคุณภาพงานในสายตาของนักวิจารณ์ฝีปากกล้า เพราะหากมองในแง่ความสมเหตุสมผล ก็ดูเหมือนหนังยาวลำดับล่าสุดของ มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล จะยังห่างไกลจากมาตรฐานความเป็นไซ-ไฟในสายตาของ ‘กัลปพฤกษ์’ อีกหลายป้าย!

บทบาทของ ‘สถาบัน’ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว: รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ 2024

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ ชวนทำความเข้าใจผลงานของดารอน อาเซโมกลู, ไซมอน จอห์นสัน และเจมส์ โรบินสัน นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2024

‘เท้งทั่วไทย-ธรทั่วถิ่น-ทิมทั่วโลก’ ยุทธศาสตร์ 3 ขา ฝ่าตีตรา ‘ภัยคุกคามใหม่’

ประทีป คงสิบ ชวนมองยุทธศาสตร์การขยับของพรรคประชาชน หลังผ่านการถูกยุบพรรคก้าวไกลมา โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของผู้นำพรรคสามรุ่น

‘รักษาพื้นที่ทางการเมือง ขยับอำนาจประชาชน’ ตีโจทย์ใหญ่ประชาธิปไตยไทยในระยะถอนพิษ กับ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข

101 สนทนากับ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข เพื่อชวนวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองผ่านวิธีคิดแบบรัฐบาลเพื่อไทย อีกทั้งชวนอ่าโจทย์ใหญ่ที่ประชาธิปไตยไทยต้องเผชิญ

สถาบันทางเศรษฐกิจ

‘ประชาธิปไตย’ บนเส้นทางของสามนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล

ประชาธิปไตยสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ? อิสร์กุล อุณหเกตุ ชวนสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันทางการเมืองกับสถาบันทางเศรษฐกิจ ผ่านผลงานของสามนักเศรษฐศาสตร์ผู้คว้ารางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2024 ดารอน อาเซโมกลู, ไซมอน จอห์นสัน และ เจมส์ เอ. โรบินสัน

มหากาพย์ Alice Guo (1): ชีวิตยิ่งกว่าหนังของนายกเทศมนตรีฟิลิปปินส์ ผู้ถูกจับโป๊ะว่าเป็นสาวจีนสวมสัญชาติ

ชวนอ่านเรื่องราวของ Alice Guo นายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆ ในฟิลิปปินส์ที่ถูกจับได้ว่าเป็นสาวจีนสวมสัญชาติ จนเป็นข่าวดังและสะเทือนฟิลิปปินส์

ซูเปอร์คาร์ ความหรูหรา และการหลอกลวง

คอลัมน์ ‘Phenomenon’ สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา ชวนขบคิดเรื่องสัญญะของ ‘ซูเปอร์คาร์’ พร้อมหาคำตอบว่าสังคมแบบใดที่ทำให้รถประเภทนี้กลายเป็น ‘เหยื่อล่อ’ เพื่อลวงผู้คนไปสู่ ‘ความสำเร็จ’ แบบ ‘สำเร็จรูป’ ที่สุดท้ายแล้วอาจเป็นแค่การหลอกลวง

ตาคลี เจเนซิส : ความย้อนแย้งของการท่องเวลา

วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เขียนถึง ‘ตาคลี เจเนซิส’ (2024) ในแง่ที่สถานะการเป็นหนังไซ-ไฟของมันก็เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนถึงบทบาทของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเย็น อันเป็นบริบทประวัติศาสตร์บาดแผลที่เป็นฉากหลังของเรื่องด้วย

ล่องนาคาวิถี: ศรัทธาพันปีและการเปลี่ยนรูปของความเชื่อพญานาค

ตามรอยความเชื่อของคนลุ่มน้ำโขงจากภูลังกาถึงวังบาดาล เข้าใจพลวัตความเชื่อพญานาคที่เปลี่ยนตามยุคสมัย และทำความรู้จักเศรษฐกิจมูเตลู

ความขัดแย้งจะปะทุขึ้นเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่คนรุ่นใหม่ยังถูกกีดกันทางการเมือง : รื้อมายาคติ ‘การเมืองเรื่องรุ่น’ กับ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

101 สนทนากับ รศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อประเด็น ‘ความขัดแย้งระหว่างรุ่น’ พร้อมชวนถอดรื้อมายาคติของการเมืองเรื่องรุ่น และสำรวจการประกอบสร้างของ ‘รุ่นทางการเมือง’ ตลอดจนชวนหาทางออกเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งอย่างยั่งยืน

โศกาสาไถย

‘โศกาสาไถย’ : เมื่อความทุกข์กลายเป็นคอนเทนต์

คอลัมน์ ‘Phenomenon’ สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา พาสำรวจความหมายของคำว่า ‘โศกาสาไถย’ ชวนส่องสะท้อนปัญหาที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมยุคใหม่ ว่าเพราะอะไรผู้คนจึงโพสต์เรื่องเศร้าบนโซเชียลมีเดียเกินจริง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น

มหากาพย์ Alice Guo (2): “เขาวานให้เธอเป็นสายลับจีน!” คำเปิดโปงสะท้านฟิลิปปินส์ จากเจ้าพ่อจีนเทาในเรือนจำไทย

ชวนอ่านตอนที่สองของมหากาพย์ Alice Guo เมื่อเธอถูก เฉอ จื้อเจียง เจ้าพ่อจีนเทาที่อยู่ในเรือนจำไทยเปิดโปงว่าเธอเป็นสายลับของทางการจีน

‘บอร์ดเกมไทยโตได้กว่านี้ ถ้ามีคนสนับสนุนมากขึ้น’ : Hard Mode ของคนทำงานวงการเกมกระดานไทย

101 ชวนสำรวจอุตสาหกรรมบอร์ดเกมไทย ในวันที่คนทำงานในวงการส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับโหมดยาก (Hard Mode) และเส้นทางที่ไม่แน่นอนอันแทบไม่ต่างจากการทอยเต๋าและเดินหมาก!

ความเป็นมนุษย์: ความสำเร็จและข้อจำกัดที่ Generative AI ไม่อาจก้าวข้าม

อัครพัชร์ เจริญพานิช และสุกฤษฏิ์ วินยเวคิน เขียนถึงกระบวนการ ‘การลดทอนความซับซ้อนของโลก’ อันเป็นหลักการทำงานของ Generative AI รวมถึงข้อจำกัดด้านการเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์ของปัญญาประดิษฐ์

“มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ต้องคิดว่าเราจะเป็นมนุษย์แบบไหน” หาสมดุลของอนาคต เมื่อมนุษย์และเอไอรวมเป็นหนึ่ง กับ พัทน์ ภัทรนุธาพร

101 ชวน พีพี – พัทน์ ภัทรนุธาพร นักเทคโนโลยีจาก MIT พูดคุยถึงงานวิจัย ‘Cyborg Psychology’ ไปจนถึงโปรเจกต์ศิลปะและภาพยนตร์ไซไฟที่เขาทำ พร้อมสำรวจพรมแดนความรู้และบทสนทนาใหม่ๆ ที่จะเปิดความเป็นไปได้ใหม่ให้กับมนุษยชาติ

ทุ่งลาเวนเดอร์ โรงลิเก ศาลเจ้า โรงฆ่าสัตย์: 4 ฉากทัศน์หลัง 20 ปี เหตุการณ์ตากใบ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล​ ชวนมอง 4 ฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์ตากใบ อันจะมีผลต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ ความขัดแย้งที่ชายแดนใต้ และบทพิสูจน์ความเป็นธรรมของสังคมไทย

กับดักรายได้ปานกลางไทย ถึงวิกฤตมนุษยธรรมพม่า: ความท้าทายของธนาคารโลกประจำไทย-พม่า ในสายตา ผอ. คนใหม่ ‘Melinda Good’

101 สนทนากับ Melinda Good ผอ. ธนาคารโลกประจำประเทศไทยและพม่าคนใหม่ ถึงวิสัยทัศน์และความท้าทายในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-พม่า

ผลงานใหม่เดือนตุลาคม 2567 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

กรุงเทพเมืองอยุติธรรม: บ้านราคาเอื้อมถึง(?)ถูกผลักสู่ชานเมือง คนถูกขับสู่ชายขอบ

กรุงเทพเมืองอยุติธรรม: บ้านราคาเอื้อมถึง(?)ถูกผลักสู่ชานเมือง คนถูกขับสู่ชายขอบ

101 PUB ชวนสำรวจว่าบ้านคนกรุงเทพฯ ถูกเบียดขับออกไปไกลแค่ไหน พื้นที่ใจกลางเมืองกับชานเมืองมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งงาน บริการสาธารณะ และโอกาสกันอย่างไร แล้วรัฐบาลควรดำเนินนโยบายแบบไหนเพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้เข้าถึงได้และเป็นธรรมยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

ปรึกษาหัวใจกับใครก็เหมือนกัน? แนวทางกำกับมาตรฐานนักจิตวิทยาการปรึกษา-จิตบำบัดอย่างสมดุล

ปัญหาการอวดอ้างชื่อและละเมิดผู้รับบริการ เรียกร้องให้ต้องกำกับนักจิตวิทยาการปรึกษา-จิตบำบัด แต่การสร้างมาตรฐานให้การดูแลหัวใจอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด

ต้องพิการแค่ไหนรัฐไทยถึงมองเห็น

ผู้พิการกว่าครึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบของภาครัฐ สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งคือเกณฑ์และการคัดกรองของรัฐที่มองไม่เห็นความพิการอย่างครบถ้วน

งานเสวนา ‘วัด-ก้าว-เปลี่ยน’: ขับเคลื่อนจังหวัดผ่านตัวชี้วัดแห่งอนาคต

ร่วมรับฟังแนวทางการจัดทำเครื่องมือชี้วัดบริบทพื้นที่ผ่านดัชนีชี้วัดความสามารถรายจังหวัด และดัชนีความก้าวหน้าของสังคมรายจังหวัด โดย 101 PUB ร่วมกับ สกสว.

อ่านดัชนีชี้วัดความก้าวหน้ารายจังหวัด : ก้าวต่อไปเพื่อพัฒนาไทยด้วยตัวชี้วัดแห่งอนาคต

101 ชวนอ่านเก็บความบางส่วนจากเสวนา ‘วัด-ก้าว-เปลี่ยน’: ขับเคลื่อนจังหวัดผ่านตัวชี้วัดแห่งอนาคต ว่าด้วยการทำเครื่องมือชี้วัดบริบทพื้นที่ ผ่านดัชนีชี้วัดความสามารถรายจังหวัด (Provincial competitiveness index) และดัชนีความก้าวหน้าของสังคมรายจังหวัด (Social progress index)

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนตุลาคม 2567

รื้อมายาคติ ‘การเมืองเรื่องรุ่น’ กับ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล 

101 สนทนากับ รศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล ชวนถอดรื้อมายาคติของ ‘การเมืองเรื่องรุ่น’ พร้อมหาหนทางคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างรุ่นในสังคมไทย

ล่องนาคาวิถี: ตามรอยพญานาค จากแม่น้ำ ขุนเขา สู่หน้าจอสมาร์ตโฟน

101 Documentary ตามรอย ‘นาคาวิถี’ เส้นทางความเชื่อจากคำชะโนดถึงบางกอก เพื่อสัมผัสสายใยผู้คนกับพญานาค ไปจนถึงทำความเข้าใจ ‘เศรษฐกิจมูเตลู’ ที่มาพร้อมความเปราะบางทางเศรษฐกิจของคนในสังคม

วงการบอร์ดเกมไทย 101 I วัฒน์-วัฒนชัย และ อาร์ม-วัชริศ

101 ชวนกางกระดานและวางการ์ด สำรวจอุตสาหกรรมบอร์ดเกมไทยที่อยู่ในโหมดยากและเดินบนเส้นทางที่ยังไม่มั่นคงและแน่นอน

101 Round table : เจาะลึกถนนสู่ทำเนียบขาว 2024

กมลา แฮร์ริส vs โดนัลด์ ทรัมป์ ใครจะเป็นผู้นำสหรัฐฯ ในอีกสี่ปีข้างหน้า วิเคราะห์อนาคตการเมืองสหรัฐและการเมืองโลกในรายการพิเศษ 101 Round table

101 Public Forum – เผชิญหน้า ‘20 ปีตากใบ’ หาทางออก ‘20 ปีไฟใต้’

101 ชวนมองก้าวต่อไปเหตุการณ์ตากใบ วิเคราะห์ท่าทีของภาครัฐ ถอดบทเรียนการพูดคุยสันติภาพ และแนวทางแก้ปัญหาที่ควรเป็นต่อไป

101 POSTSCRIPT Ep.106 : การเมือง 4 ก๊ก? เกมต่อรองแก้รัฐธรรมนูญ

101 POSTSCRIPT Ep.106 : การเมือง 4 ก๊ก? เกมต่อรองแก้รัฐธรรมนูญ

การแก้รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองระหว่าง ‘ภูมิใจไทย’ กับ ‘เพื่อไทย’ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกพรรคการเมืองล้วนได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเอื้อให้บรรดานักร้องหาเรื่อง “ร้ายสาระ” ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้ไม่เว้นวัน

ค.การเมือง EP.34 : คุณค่าความคิด ‘คนเดือนตุลา’

อิทธิพลทางความคิดของ ‘คนเดือนตุลา’ ที่ส่งผ่านมาสู่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีแนวโน้มที่จะไม่ทรงพลังเหมือนเดิมอีกต่อไป อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เป็นเช่นนั้น

ค.การเมือง EP.35 : 2 ด้านของ ‘ความเป็นจริงทางการเมือง’

หลังประกาศยุติบทบาททางการเมืองเมื่อปีก่อน ‘ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ’ กลับมามีตำแหน่งในรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง นำมาสู่การตั้งคำถามและข้อถกเถียงทางการเมืองว่าด้วยเรื่อง ‘ความเป็นจริง’ ทางการเมือง

ค.การเมือง EP.37 : การเมืองของ ‘ตากใบ’

คดีตากใบกำลังจะขาดอายุความในอีกไม่ชั่วโมง ท่ามกลางความอยุติธรรมของเหยื่อและปัญหาชายแดนใต้ พรรคเพื่อไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง

101 One-on-One Ep.343: 1 ปี อิสราเอล-ฮามาส สู่สงครามตะวันออกกลางเต็มรูปแบบ? กับ มาโนชญ์ อารีย์

ชวน ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ มาร่วมพูดคุยกันในประเด็นตะวันออกกลางว่าเราเห็นอะไรบ้างตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา และทิศทางสงครามหลังจากนี้จะไปทางไหน

101 One-on-One Ep.344: ฟังเสียงเตือนจากแม่น้ำ-อ่านวิกฤตสิ่งแวดล้อม กับ เพียรพร ดีเทศน์

ชวน เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ International Rivers สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านอุทกภัยครั้งนี้ รัฐไทยมีส่วนอย่างไรในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางการบริหารจัดการน้ำบนความร่วมมือระหว่างประเทศควรเป็นอย่างไร

101 One-on-One Ep.345:  แก๊งคอลเซ็นเตอร์ถึงเหล่าบอส ภาพสะท้อนวิกฤตหลอกลวงออนไลน์ กับ ทศพล ทรรศนพรรณ

101 ชวน รศ.ดร.ทศพล ทรรศนพรรณ มาพูดคุยในเรื่อง อะไรที่ทำให้ปัญหามิจฉาชีพออนไลน์ของไทยใหญ่โต รูปแบบของมันพัฒนาไปถึงไหน และทางออกของปัญหาคืออะไร?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save