20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนพฤศจิกายน 2567

ชุมชนบนที่ดินการรถไฟฯ: ชะตากรรมและการต่อสู้เพื่อบ้านหลังใหม่ ในวันต้องเตรียมคืนพื้นที่รับรถไฟความเร็วสูง

101 ลงพื้นที ‘ชุมชนบนที่ดินการรถไฟฯ’ ที่ถึงเวลาต้องจากลาเมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงมาเยือน และต้องต่อสู้เพื่อมีบ้านหลังใหม่ของตัวเองพร้อมกัน

หรูหรา

Quiet Luxury: เมื่อความหรูหราเป็นเรื่องของ ‘การเห็น’ และ ‘การถูกเห็น’

คอลัมน์ ‘Phenomenon’ สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา พาสำรวจความหมายของคำว่า ‘quiet luxury’ หรือความ ‘หรูเงียบ’ ที่อาจส่งเสียงดังกว่าการตะโกน

น้ำท่วม 2567: เชียงใหม่ที่ผมไม่เคยเห็น

ณัฐกร วิทิตานนท์ ชวนถอดบทเรียนสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระดับโครงสร้างของรัฐไทย

ทำไมคนน่าสนใจถึงน่าสนใจ?

นําชัย ชีววิวรรธน์ พาไขปริศนาว่าทำไมคนที่น่าสนใจถึงน่าสนใจและโดดเด่นกว่าชาวบ้าน หนำซ้ำการเป็นคนน่าสนใจอาจนำมาสู่โอกาสดีแบบที่คาดไม่ถึง!

เขื่อนปากแบง-เขื่อนหลวงพระบาง: การตะแบงของทุนและความบอบบางของชีวิตลุ่มน้ำโขง

สารคดีว่าด้วยชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากแบง-เขื่อนหลวงพระบาง รวมถึงผลกระทบต่อคนไทยผู้จ่ายค่าไฟฟ้าทุกคน

เมื่อ ‘ทนายอเวนเจอร์ส’ เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

สมชาย ปรีชาศิลปกุลชวนมองปรากฏการณ์ ‘ทนายอเวนเจอร์ส’ เมื่อสังคมไทยให้ความสนใจกับผู้ที่เคลื่อนไหวในปัญหาสังคมผ่านการใช้กฎหมายและสื่อสาธารณะ

เมื่อโรคร้ายทักทาย

นิติ ภวัครพันธุ์ เขียนบันทึกถึงช่วงเวลาที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเจ็บป่วย กระบวนการรับคีโม ไปจนถึงมุมมองต่อ ‘เวลาของโรงพยาบาล’

การเลือกตั้งสหรัฐฯ

เดิมพันประชาธิปไตยสหรัฐฯ มหาอำนาจจะยืนหยัดหรือถอยหลัง? – ตีโจทย์การเลือกตั้งอเมริกา กับ กัลยา เจริญยิ่ง

ในช่วงโค้งสุดท้ายของศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 101 สนทนากับ ผศ.ดร.กัลยา เจริญยิ่ง ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยโจทย์ประชาธิปไตยซึ่งเป็นเดิมพันใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ สำรวจนโยบายของสองทั้งสองพรรค พร้อมวิเคราะห์ว่าสหรัฐฯ จะมีที่ทางอย่างไรในฐานะมหาอำนาจ และมองไปข้างหน้าว่าไทยและโลกควรเตรียมรับมืออย่างไร 

ANORA โปรดอย่ามาด้อยค่าเพียงเพราะว่าดิฉันเป็นโสเภณี!

บทวิจารณ์หนังรางวัลปาล์มทองคำอย่าง Anora (2024) ว่าด้วยสาวขายบริการที่มีชีวิตดั่งซินเดอเรลลาชั่วข้ามคืนของ ฌอน เบเกอร์ ผ่านสายตาของนักวิจารณ์หนังที่ได้ไปเห็นบรรยากาศงานกาล่าช่วงที่หนังเข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์อย่าง ‘กัลปพฤกษ์’

ควันหลงนิติสงครามภาควิชาการ: กรณีการฟ้องร้องวิทยานิพนธ์และหนังสือของณัฐพล ใจจริง

ธนาพล อิ๋วสกุล ชวนทบทวนที่มาที่ไปของการฟ้องร้องผลงานของณัฐพล ใจจริงและบริบทภาพรวมของ ‘นิติสงครามภาควิชาการ’

Trump 2.0 ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน ไทยก็เหนื่อย

ปิติ ศรีแสงนาม ชวนมองฉากทัศน์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมกลับมาเป็นประธานาธิบดี ที่ไม่ว่าฉากไหน ไทยก็เหนื่อย

เมื่อเจ้าหญิงไทยเล่นผีถ้วยแก้ว แล้วผีไทยในปารีสช่วยชีวิตผู้ก่อการ 2475

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องเล่าลี้ลับจากปารีส เมื่อผีนาม ‘อุ่น’ ได้เตือนหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) หนึ่งในคณะราษฎรให้พ้นภัยอันตรายถึงชีวิต

ความเป็นการเมืองของเพลง ‘เติ้ง ลี่จวิน’: ประวัติศาสตร์อารมณ์ของขบวนการเสรีนิยม ถึงพลังชาตินิยมจีนแผ่นดินใหญ่

ชยางกูร เพ็ชรปัญญา ชวนมองอิทธิพลจากเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่สังคมจีน จนถึงการถูกใช้เป็นภาพแทนอุดมการณ์การเมืองในแต่ละช่วงเวลา

“Champagne supernova และการฆ่าตัวตายครั้งสุดท้ายของชาลี”: ความตายชนชั้นกลางและความเป็นเหตุเป็นผล

อาทิตย์ ศรีจันทร์ เขียนถึง “Champagne supernova และการฆ่าตัวตายครั้งสุดท้ายของชาลี” งานเขียนลำดับล่าสุดของ พิชา รัตนานคร ที่ชวนครุ่นคิดถึงระบบตรรกะและเหตุผลในงานวรรณกรรม

COP29: วิกฤตโลกรวนราคาเท่าไร-ประเทศไหนต้องรับผิดชอบ?

COP29: วิกฤตโลกรวนราคาเท่าไร-ประเทศไหนต้องรับผิดชอบ?

การประชุม COP29 ถกเถียงประเด็นอะไร ท่าทีของเหล่าผู้นำประเทศสะท้อนอะไร และสุดท้ายแล้วความร่วมมือในการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะไปสู่ทิศทางใด

ชีวิตคือความโดดเดี่ยวและเสื่อมสลาย สำรวจโมงยามก่อนหน้าความตายในหนังของ ไดฮาจิ โยชิดะ 

ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวครั้งที่ 37 ที่ผ่านมานี้ 101 ได้รับโอกาสได้สนทนากับ ไดฮาจิ โยชิดะ และชวนเขาสำรวจประเด็นเกี่ยวกับชีวิต, ความตายและภาพยนตร์ด้วยกัน

ความพ่ายแพ้ของเดโมแครต และประชาธิปไตยในกำมือของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’

101 ชวนวิเคราะห์ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024 ผ่านสายตา ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ และสิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Fast Fashion กับเสื้อผ้ามือสอง

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงกระแส ‘Fast Fashion’ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จนกลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ เชื่อถือได้แค่ไหน?

รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ชวนสำรวจระบบการลงคะแนนและตรวจสอบผลคะแนนในการเลือกตั้งสหรัฐฯ เพื่อตอบคำถามว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ น่าเชื่อถือเพียงไร

ผลงานใหม่เดือนพฤศจิกายน 2565 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

ปราบมิจฯ ให้อยู่หมัด ต้องมอบหน้าที่ให้ธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

ทำไมมิจฉาชีพยังลอยนวลหลอกหลอนคนไทยไม่เว้นวัน? แล้วต่างประเทศทำอย่างไรถึงปราบมิจฉาชีพได้อยู่หมัด?

ตรวจก่อนเข้าปาก ย้อนถึงแปลงปลูก: ยกระดับความปลอดภัยอาหารด้วยการตรวจสอบย้อนกลับ

ภายหลังจากที่ตรวจพบสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท คนไทยต่างกังวลต่อความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคกันทุกวัน สิ่งนี้นำมาสู่คำถามว่าระบบการตรวจคุณภาพอาหารตามท้องตลาดของไทยมีข้อบกพร่องอย่างไร? และจะทำอย่างไรที่จะยกระดับอาหารในประเทศไทยให้ปลอดภัยขึ้น?

Quick win แล้วสิ้นใจ?: ประคับประคองศูนย์ชีวาภิบาลอย่างไรให้อยู่รอด?

นโยบายชีวาภิบาลกำลังเผชิญปัญหารอบด้านเพราะการเร่งทำให้ถึงเป้าหมาย quick win 100 วันแรก คิด for คิดส์ ชวนอ่านความท้าทายของนโยบายตายดีที่กำลังจะตายเสียเอง

สว. ในรัฐประชาธิปไตย มีอำนาจยับยั้งกฎหมายแค่ไหน?

สว. ในรัฐประชาธิปไตย มีอำนาจยับยั้งกฎหมายแค่ไหน?

101 PUB ชวนสำรวจอำนาจกลั่นกรอง-ยับยั้งร่างกฎหมายของ สว. ในรัฐประชาธิปไตยคุณภาพดี เป็นบทเรียนสำหรับไทยในการคิดปฏิรูป สว. ให้มีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติและระบบการเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนพฤศจิกายน 2567

The Next Eleven: แก้เกมบอลไทย

101 ชวนรับฟังจากหลากหลายเสียงในวงการฟุตบอลไทย เพื่อเข้าใจปัญหาของการถ่ายเลือดใหม่ของ ‘ทีมชาติไทย’ ตลอดจนสำรวจวิถีทางของการพัฒนาเยาวชนไทย

“ไม่ได้ค้านความเจริญ แต่เราเดือดร้อน” ชีวิตไม่แน่นอนและการต่อสู้ของคนริมรางความเร็วสูง

101 ลงพื้นที่สำรวจชุมชนบริเวณริมรางรถไฟในจังหวัดสระบุรีและนครราชสีมาที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูง

Mission 12/100,000 – คุณเชื่อในเป้าหมายครั้งนี้แค่ไหน? | ศวปถ. x 101

วันโอวันพาไปสำรวจ ‘ความเชื่อมั่นของคนทำงานบนท้องถนน’ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการพาเป้าหมายครั้งนี้ให้สำเร็จ และคุยกับนพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ปัญหาอุบัติเหตุของไทยยังเป็นปัญหาเรื้อรังตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายที่ภาครัฐควรจะกำกับดูแล

แสวงหา ‘ความเข้าใจ’ ในตัวเองและผู้อื่นผ่าน MBTI | ปาจรียา สุริวงค์ | THE SEEKER interview series

พลอย – ปาจรียา สุริวงค์ | MBTI subject matter expert บทสนทนาที่ว่าด้วยการตามหาคำตอบของหนทางในการอยู่ร่วมกับ ‘อุดมคติ’ ที่เราวาดฝัน และ ‘ความเป็นจริง’ ของโลก สังคม เพื่อนมนุษย์ และคนรอบข้างที่อาจไม่ได้สอดคล้องไปกับอุดมคตินั้น

แสวงหา ‘การเยียวยา’ แผลในตัวเองผ่าน Crystal Singing Bowl | Pat Klear | THE SEEKER interview series

Pat Klear (แพท – เคลียร์) รัณณภันต์ ยั่งยืนพูนชัย – บทสนทนา ที่ว่าด้วยการแสวงหาไม่รู้จบของศิลปิน นักร้องนำที่ผู้คนรู้จักทั่วประเทศ และ energy healer ที่อยากทำงานเพื่อ ‘เยียวยา’ กายใจของผู้คน

101 One-on-One Ep.347: COP29 และโลกการเงินจะช่วยโลกร้อนได้ไหม คุยกับ ธารา บัวคำศรี

101 คุยกับ ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย เกาะขอบสนามการประชุม COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ถึงความหวังต่อการแก้ปัญหาโลกร้อน และภาคส่วนต่างๆ จะลงขันกันได้แค่ไหน และทำอย่างไรไม่ให้เป็นแค่การฟอกเขียว

ค.การเมือง EP.41 : อ่านเบื้องหลังเดิมพัน อบจ.อุดรธานี

ปราศรัยเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานีเป็นไปด้วยความดุเดือดระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนที่ต่างหาเสียงอย่างดุเดือดเผ็ดร้อน ชวนหาคำตอบว่าอะไรคือนัยจากศึกนี้

ค.การเมือง EP.39 : ทำไมการเมืองไทย หนีไม่พ้นชาตินิยม

เมื่อ ‘ชาตินิยม’ ถูกหยิบมาใช้เป็นอาวุธทางการเมืองอีกครั้ง ภายหลังเกิดข้อโจมตีเรื่องการเสียดินแดนของพรรคเพื่อไทย และการใส่ความว่าพรรคประชาชนเป็นแนวร่วม BRN

101 POSTSCRIPT Ep.107 : ‘ตากใบ’ ถูกต้องตามกฎหมาย แต่พังทางการเมือง

คดี #ตากใบ หมดอายุความโดยที่ไม่มีจำเลยคนใดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขณะที่อีกประเด็นร้อนคือ #นิรโทษกรรม เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดี ม.112

101 One-on-One Ep.346:  สงครามการค้าในยุคทรัมป์ 2.0 กับ อาร์ม ตั้งนิรันดร

ชวน อาร์ม ตั้งนิรันดร มาพูดคุยกันในประเด็นสงครามการค้าในยุคทรัมป์ 2.0 จะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนจะตึงเครียดขึ้นหรือไม่ และประเทศไทยต้องเตรียมรับมืออย่างไร

ความพ่ายแพ้ของเดโมแครต และประชาธิปไตยในกำมือของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’

101 ชวนวิเคราะห์ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024 ผ่านสายตา ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ และสิริพรรณ นกสวน สวัสดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save