fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนตุลาคม 2565

ทำไมร้านอาหารเหนือจึงไม่ค่อยแพร่หลาย

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงข้อสังเกตที่อาหารเหนือไม่แพร่หลายในภูมิภาคอื่นๆ เมื่อเทียบกับอาหารอีสานและอาหารใต้ที่มีร้านกระจายตัวทั่วประเทศ

‘ธุรกิจรับจองตั๋วรถไฟ’ โอกาสเศรษฐกิจใหม่จากรถไฟลาว กับแผนธุรกิจสุดอลหม่านในวันที่ยังจองออนไลน์ไม่ได้

101 ชวนรู้จักธุรกิจรับจองตั๋วรถไฟลาว ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นมาจากช่องโหว่ระบบจองตั๋ว โดยต้องมาพร้อมกับแผนธุรกิจสุดอลหม่านเพื่อเอาชนะข้อจำกัดของระบบ

“ไม่ว่ะ คนรุ่นใหม่บางกลุ่มก็ไม่ได้ตื่นตัวทางการเมืองมากขนาดนั้นแล้ว” ว่าด้วย 6 ตุลาฯ และ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์

สนทนากับ ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักเคลื่อนไหวและนักกิจกรรมทางการเมือง กับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ในสายตาของคนรุ่นใหม่ และเพดานมาตรา 112 ที่ต้องดันไปให้ทะลุ

ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

วิษณุ วรัญญู ชวนมองข้อถกเถียงเรื่อง ‘อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ’ เมื่อการใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องตามหลักการเป็นเงื่อนไขปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญที่สถาปนาขึ้นมีความชอบธรรมและได้รับการเคารพปฏิบัติตาม

วีรชน 6 ตุลา : จารุพงษ์ ทองสินธุ์

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงชีวประวัติของ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ หนึ่งในวีรชนผู้เสียสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องคนอื่นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

ประเทศไทยไม่ต้องการศาลรัฐธรรมนูญ

มุนินทร์ พงศาปาน ชวนพิจารณาการดำรงอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญไทย โดยเฉพาะบทบาทในการปกป้องคุณค่าประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน

จะเลี้ยงลูกในสังคมที่ไม่มีกฎหมายและจริยธรรมอย่างไรดี

ในวันที่โลกป่วย จะทำอย่างไรให้เด็กๆ ของเรามี ‘เอ็มพาธี’ คือความสามารถที่จะเห็นความทุกข์ของสรรพสิ่ง

‘มายาพิศวง’ สูงส่งลงสู่ต่ำต้อย เมื่อความด้อยรสนิยมเป็นสิ่งงมงาย กับผลงานเรื่องสุดท้ายของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

‘กัลปพฤกษ์’ เขียนถึงหนังลำดับสุดท้ายในชีวิตของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล คือหนังเรื่อง มายาพิศวง ที่สะท้อนถึงความเป็นศาสตร์และศิลป์ของภาพยนตร์โดยแท้

น้ำเต้าหู้ มรดกอาหารสมัยคณะราษฎร

นริศ จรัสจรรยาวงศ์ เขียนที่มาความนิยมรับประทาน ‘น้ำเต้าหู้’ ซึ่งปรากฏทั่วแห่งหนในประเทศไทย โดยมีที่มาจากรัฐบาลคณะราษฎร

กับดักรายได้ปานกลาง: ความสำเร็จในอดีต = อุปสรรคสู่อนาคต?

ฉัตร คำแสง พาอ่านงานวิจัยเศรษฐศาสตร์การเมืองของกับดักรายได้ปานกลาง ที่การพัฒนาในอดีตสร้างความแตกแยกในสังคม จนทำลายแนวร่วมอัปเกรดประเทศ

“ไม่ใช่เพราะเก่า ศิลปะจึงงาม” ประวัติศาสตร์ศิลป์และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ ‘สันติ เล็กสุขุม’

เรื่องราวชีวิตของสันติ เล็กสุขุม ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยหนุ่มที่ไฟแห่งศิลปินยังพลุ่งพล่าน สู่การเป็นอาจารย์ และคุยถึงความรู้ที่ตกผลึกในการเรียนรู้แก่นของประวัติศาสตร์ศิลปะ

เปิดความเห็นของนักอ่าน ใน ‘ความน่าจะอ่าน ขวัญใจมหาชน 2022’

เสร็จสิ้นการโหวต ‘ความน่าจะอ่าน ขวัญใจมหาชน 2022’ ถึงเวลาเปิดตัวหนังสือที่นักอ่านต่างส่งเข้ามาแนะนำพร้อมเหตุผลว่าทำไม ‘น่าจะอ่าน’ เล่มนี้

ล้านนาป็อป แต่ไม่ป็อปอย่างที่คิดกัน: ว่าด้วยอาหาร ดนตรี และพลังทางวัฒนธรรมแบบ ‘เหนือๆ’ ในสังคมไทย

ต่อเนื่องจากบทความของวันชัยที่ตั้งคำถามว่า ‘ทำไมร้านอาหารเหนือจึงไม่ค่อยแพร่หลาย’ ภิญญพันธ์ุชวนคุยต่อว่า อาจไม่ใช่แค่อาหาร ‘เหนือ’ เท่านั้นที่ไม่ค่อยแพร่หลาย แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยของ ‘ภาคเหนือ’ ด้วย

‘After Elizabeth’ สหราชอาณาจักรในสายลมแห่งการเปลี่ยนผ่าน กับ พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง

ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน 101 ชวน พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง สนทนาและวิเคราะห์บทบาทและมรดกจากยุคสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 วิถีการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์อังกฤษในโลกสมัยใหม่ กระแสสาธารณรัฐนิยมในอังกฤษ ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ไปจนถึงทางออกจากยุคสมัย ‘ขาลง’ ของสหราชอาณาจักร

เมื่อ ‘สังหารหมู่’ เป็นรูปแบบหนึ่งของการฆ่าตัวตาย .. และ ‘ฆ่าตัวตาย’ กำลังเป็นโรคระบาดในสังคมไทย กับ เดชา ปิยะวัฒน์กูล

สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา คุยกับ นพ. เดชา ปิยะวัฒน์กูล มองเหตุสังหารหมู่หนองบัวลำภู อันสะท้อนถึงการระบาดของการฆ่าตัวตาย และอำนาจนิยมในงานราชการ

ว่าด้วยการเป็นประธานเอเปกของไทย: ในยุคสมัยที่วิสัยทัศน์ด้านการต่างประเทศพร่ามัว

สุภลักษณ์วิเคราะห์การเป็นเจ้าภาพเอเปกของไทย ที่ประเทศไทยอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการเป็นเจ้าภาพ แต่เป็นเพียงการฉวยใช้การประชุมของผู้นำระดับโลกเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น

จากห้องทดลอง สู่โลกจริง: เศรษฐศาสตร์เชิงทดลองกับการใช้ Growth Mindset และมุมมองด้านอาชีพเพื่อเปลี่ยนอนาคต

ชวนมองผลการทดลองการใช้ growth mindset และมุมมองด้านอาชีพเพื่อเปลี่ยนอนาคตในกลุ่มนักเรียนด้อยโอกาส

สีจิ้นผิงกับการหมุนเวลากลับ

อาร์ม ตั้งนิรันดร เขียนถึง การหมุนเวลาย้อนสวนทางยุคเปิดและปฏิรูปของสีจิ้นผิง และเดิมพันของแนวการเมืองแบบความมั่นคงนำเศรษฐกิจที่อาจเสียสมดุลในวันที่เศรษฐกิจส่อเค้าที่จะทรุดลง

จาก 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา: การเคลื่อนไหวของชาวนาภาคเหนือในความทรงจำของ มนัส จินตนะดิลกกุล

101 สนทนากับมนัส จินตนะดิลกกุล อดีตนิสิตจุฬาฯ ผู้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทำงานกับชาวนาภาคเหนือจนวันที่ 6 ตุลาฯ กระทั่งเข้าป่าร่วมกับ พคท.

สวัสดีค่ะคุณวัฒน์: จดหมายจากไอดาถึงวัฒน์ วรรลยางกูร

จดหมายจากไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการคนสุดท้ายของวัฒน์ วรรลยางกูร บทพูดปิดในงานเสวนาความน่าจะอ่าน 2022 ว่าด้วย ‘ตัวละครนอกหนังสือต้องเนรเทศ’

ผลงานใหม่เดือนตุลาคม 2565 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

เงื่อนไขที่ควรเรียกร้อง หาก กสทช. ‘จำต้อง’ อนุญาตดีลทรู+ดีแทค

การควบรวมทรู+ดีแทคสร้างผลกระทบต่อตลาดและผู้บริโภคอย่างรุนแรง 101 PUB เสนอเงื่อนไขขั้นต่ำที่ กสทช. ควรกำหนหาก ‘จำต้อง’ อนุญาตให้ควบรวม

ให้เสียงเยาวชนมี ‘ความหมาย’: เปิดกระบวนการนโยบายให้เยาวชนมีส่วนร่วม

คิด for คิดส์ ชวนสำรวจปัญหาการขาดช่องทางการมีส่วนร่วมอย่าง ‘มีความหมาย’ ของเยาวชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และเสนอแนวทางขยายช่องทางดังกล่าว เพื่อให้นโยบายตอบสนองปัญหาและความต้องการของเยาวชนได้ดีขึ้น

คุมกัญชาเสรีอย่างไรให้ปลอดภัยกับเด็กและเยาวชนที่สุด

เมื่อการปลดล็อกกัญชาเสรีเป็นไปโดยขาดมาตรการกำกับที่รัดกุม เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบมากที่สุด คิด for คิดส์ ชวนสำรวจผลกระทบ ชี้ช่องโหว่ร่าง พ.ร.บ. กัญชาฯ และเสนอทางออกเชิงนโยบาย

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนตุลาคม 2565

From Trojan Horse to Pegasus: When the Big Brother is watching you

101 Documentary ชวนชมสารคดี ‘เปกาซัส’ เจาะปัญหาว่าด้วยการใช้สปายแวร์เพื่อหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงจากขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย

กำไลอีเอ็ม

กำไลอีเอ็ม ตรวนแห่งศตวรรษที่ 21 และการถูกพรากอิสรภาพโดยรัฐ

‘กำไลอีเอ็ม ตรวนแห่งศตวรรษที่ 21 และการถูกพรากอิสรภาพโดยรัฐ’ วิดีโอที่สำรวจภาวะลักลั่นของกระบวนการยุติธรรมไทย ที่ใช้กำไลอีเอ็มอันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คืนเสรีภาพให้มนุษย์ มาใช้กับคนที่ต้องคดีอาญาเพียงเพราะใช้เสรีภาพในการแสดงออก

6 ตุลา 2519 ความทรงจำผ่านสายตาคนรุ่นใหม่

101 สำรวจความคิด-ความทรงจำของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เมื่อ 46 ปีที่แล้ว ในวันที่นักเรียนนักศึกษาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง

นวราตรี 2022 ศรัทธา ความเชื่อในขบวนแห่จากวัดแขก หลัง 2 ปีแห่งความซบเซา

เทศกาลนวราตรีปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ได้กลับมาจัดหลังหยุดเว้นระยะไป 2 ปีจากการระบาดของโควิด-19 สำหรับหลายๆ คน การได้กลับมาร่วมพิธีบูชาองค์เทพที่พวกเขาเคารพนับถือจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจหลังพวกเขาต้องเผชิญความยากลำบากของชีวิตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

จาก 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา : การเคลื่อนไหวของชาวนาภาคเหนือ

ในวาระครบรอบ 46 ปี 6 ตุลาฯ 101 ชวน มนัส จินตนดิลกกุล หรือ ส.เทอด อดีตนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสานงานโครงงานชาวนาของศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือมาร่วมย้อนความทรงจำในช่วงเวลานั้น

101 One-on-One Ep.280 ‘อนาคตจีนในสมัยที่ 3 ของ สี จิ้นผิง’ กับ วาสนา วงศ์สุรวัฒน์

101 ชวน รศ.ดร. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ถกประเด็นการขึ้นสู่สมัยที่ 3 ของสี จิ้นผิง จะนำพาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการต่างประเทศของจีนไปทางไหน และอะไรคือความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า

101 One-on-One Ep.278 ก่อร่าง ‘สร้างอนาคตไทย’ กับ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

101 ชวน ‘สุรนันทน์ เวชชาชีวะ’ ตีโจทย์การเมืองไทยบนถนนสู่การเลือกตั้ง วิเคราะห์ที่ทางของพรรคสร้างอนาคตไทยในภูมิทัศน์การเมืองใหม่ และมองบทบาทตัวเองในการเลือกกลับสู่สนามการเมืองไทยอีกครั้ง

101 One-on-One Ep.279 ‘กองทัพ-ตำรวจ กับ การเมือง’ กับ ทวี สอดส่อง

101 ชวน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการพรรคประชาชาติ อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาชวนคุยเรื่องการปฏิรูปกองทัพและตำรวจ และที่ทางของนโยบายเหล่านี้ในสนามการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

101 One-on-One Ep.281 ‘ชาติพัฒนากล้า’ กับ ภูมิทัศน์ใหม่การเมืองไทย กับ กรณ์ จาติกวณิช

101 ชวน กรณ์ จาติกวณิช คุยถึงแนวทางของพรรคชาติพัฒนากล้า พร้อมตีโจทย์เศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองไทย ในวันที่ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.49 ‘จูนคลื่นการเมือง’

ทันทีที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี สังคมก็จับจ้องไปที่พลเอกประยุทธ์ จันท์โอชา เพราะการกลับมาครั้งนี้ย่อมต้องจูนคลื่นการเมืองใหม่ เพราะ ‘ทรานซิสเตอรการเมือง’ ย่อมมิอาจเหมือนเดิมเมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเหลืออีกแค่ 2 ปีเศษเท่านั้น

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP. 50 : อวสานพรรคเล็ก?

ท่ามกลางการประกาศศักดาและความพร้อมของพรรคการเมืองใหญ่ พรรคการเมืองขนาดเล็กก็เริ่มขยับ ปรับกลยุทธ์สารพัดทั้งการ ‘ควบรวม’ และการย้ายกลับพรรคใหญ่ของส.ส.?หรือการเมืองแบบพรรคเล็กกำลังจะจบไป และปรากฏการณ์นี้สะท้อนอะไรในการเมือง

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.51 : การเมือง การมวย

การถูก ‘ชก’ ของศรีสุวรรณ จรรยา กลายเป็นกระแสดังที่คนต่างให้ความสนใจคำถามคือเราเห็นและเรียนรู้อะไรจากการมวย ในการเมืองรอบนี้บ้าง

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.52 ‘ประเทศไทยใส่เสื้อชูชีพ’

เข้าสู่ 2 เดือนสุดท้ายของปี 2565 แต่ดูเหมือนว่า สถานการณ์ประเทศไทยจะยังไม่ดีขึ้น หลายมาตรการ หลากนโยบายถูกนำเสนอ คล้ายเป็นเสื้อชูชีพให้ประเทศไทยก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ก็ยังมีคำถามอยู่ว่า เสื้อชูชีพทางการเมืองและเศรษฐกิจนี้ช่วยพยุงสังคมไทยได้หรือไม่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save