fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนมกราคม 2564

 

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนมกราคม 2564

 

 

บันทึกลับจาก ‘บางกลอย’ ปฐมบทการต่อสู้ของ ‘กะเหรี่ยงแก่งกระจาน’

 

โดย สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา

สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา เปิดปูมหลังชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ที่อยู่มานานกว่าร้อยปีก่อนประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรื่องราวก่อนถูกไล่ออกจาก ‘บ้าน’ของตัวเองเป็นอย่างไร และเพราะอะไรตอนนี้พวกเขาจึงต้องกลับไปที่เดิม

#saveบางกลอย น่าจะกลายเป็นแฮชแท็กที่เริ่มคุ้นตาคนจำนวนหนึ่งแล้วในขณะนี้ จากเหตุการณ์ที่ชาวกะเหรี่ยงจาก ‘บ้านบางกลอย’ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวมตัวกันประมาณ 80-90 คน กลับขึ้นไปทำมาหากินในถิ่นฐานเดิมที่เคยอพยพลงมา ซึ่งเรียกกันว่า ‘บางกลอยบน’ และ ‘ใจแผ่นดิน’ จนมีข่าวว่าทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะจัดเจ้าหน้าที่ 4 ชุดเดินเท้าเข้าไปติดตาม…”

“หลายคนคงรู้ดีว่านี่เป็นมหากาพย์เรื่องยาวที่ทั้งโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์นับร้อยปี และหลายคนคงรู้ว่าในปี 2553-2554 เจ้าหน้าที่รัฐเข้าเคยไปไล่รื้อจับกุม เผาบ้าน เผายุ้งข้าว ตั้งข้อหาบุกรุกป่า และตั้งข้อหาเป็นกองกำลังติดอาวุธ ในพื้นที่ ‘บางกลอยบน’ หรือ ‘ใจแผ่นดิน’ ภายใต้ชื่อ ‘ยุทธการตะนาวศรี’”

“หลายคนคงรู้แล้วว่าที่นี่มีนักต่อสู้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณอายุกว่า 100 ปี ชื่อ ‘ปู่คออี้’ และมีหลานชายชื่อ ‘บิลลี่’ ที่ลุกขึ้นมาสู้จนหายสาบสูญไป 5 ปี ก่อนจะมาพบชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถจับคนที่ทำร้ายเขามาลงโทษได้”

“และนี่เป็นครั้งแรกที่ ‘ผม’ ซึ่งเป็นนักข่าวชุดแรกที่เข้าไปพบเรื่องนี้ระหว่างเฮลิคอปเตอร์ตกในป่าแก่งกระจาน จะเขียนถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้น”

“ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเดียวกัน”

 

การร่วมชุมนุมกับ กปปส. “เป็นความสง่างามของผู้พิพากษา” ?

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนมองกรณีการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองของผู้พิพากษา ผ่านรายงานการประชุม ก.ต. ที่พิจารณาเรื่องการร่วมชุมนุม กปปส. ของ เมทินี ชโลธร ก่อนจะแต่งตั้งเป็นประธานศาลฎีกาคนล่าสุด

โดยหนึ่งใน ก.ต. มีความเห็นว่าการเข้าไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. นั้นควร “เป็นความสง่างามของผู้พิพากษา”

คำถามที่สำคัญคือ การวางตัวในลักษณะดังกล่าวจะกระทบต่อความไว้วางใจหรือความน่าเชื่อถือที่สาธารณชนมีผู้พิพากษาหรือไม่?

 

เหตุใดนโยบายสนับสนุน ‘โอกาสที่เท่าเทียม’ กลับบ่อนทำลายสังคม

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

“หากฟังดูเผินๆ การสนับสนุนให้สังคมส่งเสริม ‘ความเท่าเทียมของโอกาส’ (Equality of Opportunity) น่าจะเป็นนโยบายในอุดมคติที่ไม่มีใครโต้แย้ง การที่เราทุกคนมีสิทธิสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือทำงานอย่างเสมอภาค โดยไม่ขึ้นกับชนชั้นหรือสถานะครอบครัว ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมิใช่หรือ…แต่น่าเสียดายที่โลกของเราไม่ได้เรียบง่ายขนาดนั้น”

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร พาไปหาคำตอบว่า ทำไมนโยบายส่งเสริมความเท่าเทียมทางโอกาส ที่เหมือนจะดูดี กลับบ่อนทำลายสังคมและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์

“‘You can make it if you try – แค่ตั้งใจจริง ทุกสิ่งก็เป็นไปได้’ เป็นประโยคที่บารัค โอบามา กล่าวในสุนทรพจน์ต่างๆ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี บ่อยถึง 140 ครั้ง…สะท้อนแก่นของหลักการ Meritocracy ที่ยึด ‘ความรู้ความสามารถ’ เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าของปัจเจกชน”

“หลักการนี้เชื่อว่า สังคมควรตัดสินการแพ้ชนะระหว่างบุคคลบนฐานของความสามารถเฉพาะตัว เพราะเป็น ‘ปัจจัยภายใน’ ของปัจเจกบุคคล ที่ไม่ขึ้นกับ ‘ปัจจัยภายนอก’ อย่างเพศสภาพ ชนชั้น เชื้อชาติ หรือสถานะครอบครัว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ก็พร้อมยอมรับผลการตัดสินแต่โดยดี เพราะถือว่าได้รับผลลัพธ์ที่คู่ควรกับความสามารถของตนเองแล้ว”

“ถึงที่สุดแล้ว ระบบ Meritocracy จึงเป็นการแช่แข็งความเหลื่อมล้ำให้ดำรงอยู่ต่อไป เพราะทำให้การส่งเสริม ‘โอกาสที่เท่าเทียม’ เป็นสิ่งที่ดีและเพียงพอในตัวของมันเอง นอกจากคนรวยจะไม่ต้องตั้งคำถามกับเงินและความสำเร็จของตนเองแล้ว ก็ยังยกสถานะความดีของตนเองได้ด้วยการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสเป็นครั้งคราว”

 

‘แผนที่’ กำลังหลอกเราอยู่?

โดย ปรัชญพล เลิศวิชา

‘แผนที่’ กำลังบอกความจริงเราหรือเปล่า?

ปรัชญพล เลิศวิชา ชวนมองอิทธิพลของแผนที่ต่อการสร้างความเชื่อและความคิดของผู้คน โดยเฉพาะแผนที่ดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทระดับชีวิตประจำวันของผู้คน

“แผนที่รูปแบบเดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อวางรากฐานให้รัฐและการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อการปกครองอย่างชัดเจน แผนที่ดิจิทัลก็ยังรับใช้เป้าหมายอันเดิมเช่นกัน แต่เข้มข้นกว่าเมื่อสามารถออกแบบวิถีชีวิตของผู้คนว่าเราจะเดินทางไปเส้นทางไหน เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร” – รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

“ช่วง PM 2.5 บางคนเปิดแผนที่ขึ้นมาแล้วสรุปเอาจากแผนที่เหล่านั้น แต่ไม่ได้ระมัดระวังข้อจำกัด เช่น เห็นว่าเพื่อนบ้านเรามีฝุ่นควันเยอะ เลยไปสรุปว่าฝุ่นควันไหลมาจากเพื่อนบ้าน ทั้งที่มันไหลมาจากทางนั้นจริงๆ หรือเปล่า ค่าข้อมูลที่แสดงจะสามารถนำมาสรุปแบบนั้นได้จริงๆ หรือเปล่า เราต้องระมัดระวังว่าจะคาดเดาหรือได้ข้อสรุปในแบบที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง” – ดร.ภูริพันธุ์ รุจิขจร อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Boonmee Lab

 

รัฐสภาไทยที่ไม่มีประชาชน

โดย รชพร ชูช่วย

คอลัมน์ Shaped by Architecture เดือนนี้ รชพร ชูช่วย เขียนถึงแนวคิดการออกแบบสัปปายะสภาสถาน และตั้งคำถามกับพื้นที่เพื่อประกอบ ‘ความดี’ แห่งนี้ ว่าใช้ได้จริงแค่ไหนในระบอบประชาธิปไตย

“‘สัปปายะ’ หมายถึงสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่เหมาะสม ที่เกื้อกูลในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย ทีมสงบ 10151 เห็นว่าวิกฤตทางการเมืองที่มีความวุ่นวายตลอดระยะเวลาหลายปีก่อนที่จะมีการประกวดแบบรัฐสภานี้ เกิดจากวิกฤตทางศีลธรรมของประเทศที่เกิดจากนักการเมืองฉ้อฉล ทางแก้คือการกลับไปสู่หนทางแห่งความสงบสุขที่เคยมีมาแต่กาลก่อนของประเทศ”

“รัฐสภาไทยที่เป็นพื้นที่ทำงานของนักการเมือง ต้องเป็นพื้นที่อันเหมาะสมที่จะทำให้คนประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกทำนองคลองธรรม นักการเมืองที่ดีต้องเป็นคนดี เชื่อว่าด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสามารถในการทำให้คนเป็นคนดีเช่นนี้ จะช่วยบรรเทาวิกฤตอันใหญ่หลวงของประเทศชาติได้”

“ในแบบของทีมที่ชนะเลิศนี้ ประเด็นที่เป็นหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือการที่อำนาจในการปกครองมาจากประชาชน ผู้แทนถูกเลือกโดยประชาชน เพื่อบริหารประเทศเพื่อประชาชน โดยการทำงานของผู้แทนเหล่านี้ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ หรือต้องมีการลงโทษที่เข้มแข็งหากมีการกระทำผิด ไม่ได้ถูกหยิบยกมาอ้างถึงสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นแต่อย่างใด”

 

“ถ้าดูแลคนในฐานะมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์จะงอกงาม” ทิชา ณ นคร

 

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

“…เรามีความเชื่อที่แข็งแรงมากว่าไม่มีใครเกิดมาเพื่อจะเป็นอาชญากร หรืออยากเป็นคนทำผิดกฎหมายแล้วมาอยู่ในที่คุมขังที่ไร้สิทธิและเสรีภาพ แต่บนเส้นทางอันยาวเหยียดของการเกิดและเติบโตในประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้คนที่ไม่ได้แข็งแกร่งพอหรือมีทุนชีวิตไม่มากพอ ต้องทำผิดพลาดแล้วเข้ามาอยู่ในสถานที่ที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพเขา”

“ถ้าเราสังเกตคนที่ออกมาจากเรือนจำ เขาก็ยังไม่ได้ถูกทำให้รู้สึกว่าตัวเองมั่นใจ มีที่หยัดยืน แล้วเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าในพื้นที่แห่งนั้นทำงานกับจิตใจและความคิดของเขา ดูแลเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างแท้จริง มนุษย์จะงอกงามตามที่เราได้ทุ่มเทพลังทั้งหมดทั้งมวลของเราลงไปนะ”

“ความคิดของคนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงโครงสร้างหรือระบบที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผู้แพ้ ทุกครั้งที่มีคดีปรากฏในสื่อเราจะเห็นแค่ปัจเจกผู้ผิดพลาด แล้วก็เกรี้ยวกราดกับปัจเจกผู้ผิดพลาดนั้นอย่างรุนแรง เราติดกับดักที่ปัจเจกและไปไม่ถึงโครงสร้างที่อัปลักษณ์ ไปไม่ถึงระบบที่ทำหน้าที่ประดักประเดิด ถึงที่สุดประเทศนี้ก็เหมือนโรงงานอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ผลิตผู้แพ้มาป้อนคุกหรือสถาบันจิตเวชอยู่ตลอดเวลา”

101 นัดคุยกับ ‘ป้ามล’ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม ผู้ทำงานกับผู้กระทำผิดมาหลายสิบปี ว่าด้วยประเด็นเรื่องข้อกำหนดกรุงเทพ และอนาคตของการดูแลผู้ต้องขัง

ประเด็นตั้งต้นมีเท่านี้ แต่ป้ามลพาเราทะลุทะลวงลงไปใต้ภูเขาน้ำแข็งของปัญหา ชี้ชวนให้มองโลกการทำงานกับผู้ต้องขังด้วยสายตาที่ละเอียดอ่อนขึ้น และโยงให้เห็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของสังคมที่ยังมีปัญหาอยู่หลายจุด

 

อาชญากรรมของอาชญากรรม

 

โดย ปกป้อง ศรีสนิท

มนุษย์มักจะจัดลำดับหรือจัดชั้นของสรรพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแชมป์เหนือแชมป์ สุดยอดคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สุดยอดเหตุการณ์ต่างๆ

อาชญากรรมก็ถูกมนุษย์นำมาจัดลำดับชั้นเช่นเดียวกันว่าอะไรคือสุดยอดของอาชญากรรม ซึ่งคงเป็นเรื่องสุดยอดในทางที่เลวร้ายมากกว่าสุดยอดในทางที่ดี

ปกป้อง ศรีสนิท ชวนทำความรู้จักสุดยอดของอาชญากรรม คือ ‘การล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์’ อันหมายถึงการฆ่าหรือการกระทำอื่นๆ ที่ต้องการทำลายล้างกลุ่มคนบางกลุ่ม

 

ความเสียหายจะส่งต่อไปที่รุ่นต่อไป

 

โดย ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

“เวลาที่เราพูดว่านี่เป็นยุคทองของโฮมสคูลและโรงเรียนทางเลือก เราหมายถึงเฉพาะเด็กๆ จากชนชั้นกลางระดับกลางหรือชนชั้นกลางระดับสูง มิได้หมายถึงเด็กทุกคน”

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนมองผลกระทบของการปิดโรงเรียนที่จะส่งผลไปถึงคนรุ่นต่อไป เมื่อเด็กจากครอบครัวยากจนต้องอยู่บ้านเป็นปีเพราะโรคระบาด อาจทำให้ขาดทั้งความรู้พื้นฐานและทักษะเรียนรู้ นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

 

Editor’s Note 2021 : ปฏิบัติการเด็ดดอกไม้สะเทือนดาว

 

โดย ปกป้อง จันวิทย์

ชวนอ่านบทบรรณาธิการของ The101.world เตรียมรับความร้อนแรงของวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ ในปีใหม่ 2021

เมื่อปกป้อง จันวิทย์ วิเคราะห์บทเรียนการเมืองจาก ‘ปฏิบัติการเด็ดดอกไม้สะเทือนดาว’ ในรัฐจอร์เจีย จนพลิกทำเนียบขาว ส่งทรัมป์กลับบ้านเก่า ดันเดโมแครตครองวุฒิสภา และเปลี่ยนโฉมการเมืองอเมริกาอย่างไม่มีใครคาดถึง

“หลายคนเรียกชัยชนะของเดโมแครตในสงครามเลือกตั้ง 2020 ว่า ‘ปาฏิหาริย์จอร์เจีย’ แต่สำหรับคนที่ติดตามการเมืองสหรัฐอเมริกาอย่างเข้มข้นจะรู้ว่ากรณีจอร์เจียไม่ใช่ปาฏิหาริย์ ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ไม่ใช่ความโชคดี หากมาจากการตั้งหน้าตั้งตาลงแรงทำงานหนัก ไม่หยุดหย่อน ไม่ลดละ ไม่ท้อถอยของสามัญชนคนการเมืองในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องร่วมทศวรรษ

และสถาปนิกการเมืองคนสำคัญที่เปลี่ยนสี ‘จอร์เจีย’ จากแดงเป็นน้ำเงิน จนเปลี่ยน ‘สหรัฐอเมริกา’ ได้สำเร็จ คือ สตรีผิวดำวัย 47 ปี นักต่อสู้เพื่อสิทธิเลือกตั้ง อดีตนักการเมืองจอร์เจียผู้พ่ายแพ้ในศึกชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐครั้งก่อน จนเอาคืนได้อย่างถึงใจในครั้งนี้”

เธอคือใคร คิดอะไร ทำได้อย่างไร การเมืองอเมริกาถูกเขย่าไปทางไหน และ ‘จอร์เจียโมเดล’ มีบทเรียนอะไรให้ ‘นักเด็ดดอกไม้’ ในสังคมการเมืองไทย ได้เรียนรู้ถึงวิถี ‘สั่นสะเทือนดวงดาว’

 

รวยต่อไม่รอแล้วนะ! : คุยกับ ธร ปีติดล ในวันที่พิษจากโควิดผลักช่องว่างระหว่างเรากับเขาให้กว้างขึ้น

 

โดย ภาวิณี คงฤทธิ์ 

แม้โรคโควิด-19 จะแพร่ระบาดแบบไม่เลือกหน้า แต่ดูท่าพิษของมันจะส่งผลกระทบให้แต่ละคนไม่เท่ากัน เมื่อรายงานของ Bloomberg Billionaires Index เผยว่า ขณะที่ผู้คนทั่วทั้งโลกกำลังบาดเจ็บหนักเพราะพิษเศรษฐกิจแต่ในปี 2563 กลุ่มมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุด 500 อันดับแรกของโลกกลับสามารถสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ข้อมูลที่ชวนขยี้ตาอ่านซ้ำนี้ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า อะไรคือที่มาให้คนรวย ไม่ใช่แค่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่ดูเหมือนจะได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ

ภาวิณี คงฤทธิ์ คุยกับ ธร ปีติดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด ถึงปัจจัยที่ทำให้กลุ่มคน Top 1% รวยขึ้นแม้จะอยู่ท่ามกลางภาวะโรคระบาด พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าการจัดการโรคระบาดของภาครัฐในครั้งนี้สะท้อนลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนอย่างไร

“ส่วนใหญ่คนที่รวยจนติดท็อปประเทศหรือท็อปโลก ไม่ได้เก็บเงินในลักษณะเงินฝากแต่เป็นการลงทุนในหุ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในตลาดการเงิน ฉะนั้นเมื่อตลาดการเงินยังวิ่งขึ้นได้ ก็ไม่แปลกที่เขาจะรวยขึ้น”

“ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับวิกฤต โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจ มักจะดึงลักษณะที่ไม่ปกติของระบบการเมืองออกมา เพราะทันทีที่เกิดวิกฤต รัฐต้องตัดสินใจว่าจะเลือกกระจายผลกระทบอย่างไรและไปที่ใคร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปในลักษณะ win-win solution แต่จะมีคนบางกลุ่มได้รับผลกระทบมากกว่าเสมอ เพราะวิกฤตทำให้รัฐเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเลือกว่าจะดูแลใครก่อน เรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับทุกรัฐบาลเสมอมา”

“เราต้องกลับมาถามว่า ระบบการเมืองในปัจจุบันเป็นระบบการเมืองที่แคร์ใคร วิกฤตโควิดสะท้อนชัดแล้วว่าภาครัฐดูแลใครมากกว่ากัน”

 

ถ้าไม่มีโจว เอินไหล… ก็ไม่มีมหาอำนาจจีนในวันนี้

 

โดย ปิติ ศรีแสงนาม

“ผู้ใดคัดค้านโจว เอินไหล เราโค่นล้มผู้นั้น”

8 มกราคม เนื่องในวาระครบรอบ 45 ปี การถึงแก่อสัญกรรม โจว เอินไหล – ชวนอ่านบทความของ ปิติ ศรีแสงนาม ที่เขียนบทความไล่เรียงเรื่องราวของหนึ่งในมหาบุรุษที่ชาวจีนเคารพรักมากที่สุด ผู้เป็นทั้งนายกรัฐมนตรีและนักการทูตที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์จีนไปตลอดกาล

“ในการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่พึ่งจะก่อตั้งในปี 1949 โจวต้องทำหน้าที่สานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่ Chinese-Soviet Treaty of Alliance 1950-1980 ที่ทำให้จีนกับโซเวียตกลายเป็นเพื่อนบ้านที่เกื้อกูลกัน อย่างน้อยก็อีก 30 ปีต่อจากวันสถาปนาจีนใหม่”

“ที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ที่คณะของ Henry Kissinger ไปเยือนกรุงปักกิ่งครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 1971 และจากการเจรจาของโจว เอินไหล ในที่สุดการเดินทางเยือนจีนของประธานาธิบดี Richard Nixon ก็เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1972 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้นำสหรัฐฯ เดินทางเยือนประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต”

“ผลงานสุดท้ายที่โจว เอินไหลฝากเอาไว้คือ การเดินทางไปเจรจากับประธานเหมา ทั้งที่ตนเองก็ป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพื่อขอร้องให้ผู้นำรุ่นที่ 2 ของประเทศ คือ คนหนุ่มซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกขับออกจากพรรคในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมได้กลับมาเป็นผู้นำของประเทศ เขาผู้นั้นก็คือ เติ้ง เสี่ยวผิง อีกหนึ่งมหาบุรุษผู้จะสืบทอดนโยบาย 4 ทันสมัยของโจว เอินไหล และพาให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน จนจีนกลายเป็นมหาอำนาจอย่างทุกวันนี้”

 

จับตาอนาคตไทยและโลก ปี 2021 : วัคซีน-รอยต่อระเบียบโลก-เศรษฐกิจปั่น-การเมืองป่วน

 

โดย กองบรรณาธิการ

คงมีไม่บ่อยครั้งนักในประวัติศาสตร์โลกที่จะเปิดปีใหม่ด้วย วิกฤตสุขภาพ วิกฤตการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจ

เป็นธรรมเนียมเปิดปี 101 เปิดวง Round Table มอง 2021 ฝ่าวิกฤตที่อาจเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

“หากระบบพันธมิตรเป็นเช่นนี้ เราจะเห็น ‘การทูตวัคซีน’ ในการจัดการปัญหาโรคระบาด จะมีประเทศที่ใช้วัคซีนของสหรัฐฯ ร่วมมือกับสหรัฐฯ และจะมีประเทศที่ร่วมมือกับค่ายจีน ใช้วัคซีนจากจีน หรือว่าต่างฝ่ายต่างพยายามสร้างพันธมิตร ทำการทูตวัคซีนเชิงรุก ในประเด็นการค้า แทนที่องค์กรการค้าโลกจะเป็นเวทีความร่วมมือการค้าระหว่างประเทศ เราจะเห็นจีนและสหรัฐฯ ต่างฝ่ายต่างสร้างห่วงโซ่การค้าของเชื่อมกับพันธมิตรของตนเอง ส่วนประเด็นโลกร้อน เราจะเห็นสหรัฐฯ และจีนออกมาแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นนโยบายหลักสำคัญของทั้งรัฐบาลไบเดนและแผนพัฒนาเศรษฐกิจจีน”- อาร์ม ตั้งนิรันดร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ China 5.0 และ จีน-อเมริกา

“เมื่อมีปัญหาโควิดเข้ามา สิ่งแรกๆ ที่รัฐบาลต้องทำคือการจัดลำดับความสำคัญในการใช้เงินก่อนที่จะไปกู้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าได้เกิดขึ้นหรือเปล่า นโยบายการคลังมีหน้าที่ลดผลกระทบของเศรษฐกิจ ถ้าเรารู้ว่ามีสถานการณ์ช็อกใหญ่ๆ การใส่เงินลงไปก็ทำให้ภาวะช็อกนั้นไม่ใหญ่จนเกินไป ถ้าการใส่เงินลงไปถูกทำอย่างคุ้มค่า เผลอๆ จะทำให้ GDP ไม่ลดลงมากเกิน หนี้ต่อ GDP อาจจะไม่เพิ่มขึ้น แต่การไม่ทำอะไรเลยหรือทำช้าเกินไปจะทำให้ GDP ร่วง หนี้ต่อ GDP อาจจะเพิ่มขึ้นเยอะกว่าด้วยซ้ำ” – พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

“ผมคิดว่าความขัดแย้งอย่างไรก็กลับมาที่เรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีกติกาซึ่งสร้าง 1.รัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กับ 2.รัฐบาลที่อ่อนแอเพราะสร้างรัฐบาลผสมจากพรรคจำนวนมาก มันเป็นส่วนผสมที่แย่ที่สุดในทางรัฐศาสตร์ จนได้รัฐเผด็จการแบบไม่มีสมรรถภาพสูง มันไม่ใช่กติกาที่ดีที่จะพาสังคมไทยไปต่อข้างหน้า และรองรับมหาวิกฤตที่ต้องแก้ไข ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสุขภาพ ดังนั้นชนวนความขัดแย้งอย่างไรก็ต้องกลับมาที่เรื่องรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง” – ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

จากแม่ฮ่องสอนถึงรัฐไทย: การเดินทางไกลของ ‘ชาติพันธุ์’

 

โดย ธีรภัทร อรุณรัตน์

ธีรภัทร อรุณรัตน์ เขียนถึงความไม่เข้าใจของรัฐไทยที่มีต่อการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ จากการลงพื้นที่ห้วยปูลิง แม่ฮ่องสอน เมืองแห่งความหลากหลายทางประชากรซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจังหวัด ‘มีความสุขที่สุด’ แต่กลับ ‘ยากจนที่สุด’

แม้จะมีมติ ครม. 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วย ‘แนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง’ เพื่อแก้ปัญหาให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน จนถึงความสามารถในการรักษาวัฒนธรรม แต่เมื่อเวลาล่วงมา ปัญหาก็ยังไม่ถูกแก้ไข

“10 ปีผ่านมา ต้องกลืนน้ำลายขมคอ และพยักหน้ายอมรับว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ไข ไม่คืบหน้า หรือพูดให้ถึงที่สุด – ใต้ฟ้าเดียวกัน แต่คนยังไม่เท่ากัน”

 

จาก ‘ฮีโร่’ สู่ ‘ตัวร้าย’ เกิดอะไรขึ้นกับแจ็ค หม่า ที่รัฐบาลจีนติดป้ายว่าเป็น ‘นายทุนผีดูดเลือดผู้ชั่วร้าย

 

โดย โสภณ ศุภมั่งมี

“ในเวลานี้ หลายคนยังคงสงสัยข่าวการหายตัวไปจากสื่อของแจ็ค หม่า อยู่ ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีความกระจ่างมากขึ้นแล้วจากการรายงานของ Business Insider โดยมีการคาดการณ์ว่าเขาไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่กำลังเก็บตัวเงียบๆ หลังจากที่รัฐบาลจีนเข้ามาสอดส่องและตรวจสอบความโปร่งใสของอาณาจักรอาลีบาบาของเขาในช่วงปลายปีที่ผ่านมา”

“จากคุณครูภาษาอังกฤษกลายมาเป็นนักธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เขาสร้าง Alibaba ที่เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งใกล้เคียงกับยักษ์ใหญ่ Amazon มากที่สุดแล้ว แจ็ค หม่าเป็นคนแรกๆ ที่เราคิดถึงเมื่อพูดถึงนักธุรกิจระดับโลกในเวลานี้ ขนาดที่ว่าตอนที่โดนัล ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2016 นั้น แจ็ค หม่าคือชาวจีนคนแรกๆ ที่เขานัดเจอเลยทีเดียว”

“ความสำเร็จมากมายทำให้ฉายา ‘Daddy Ma’ ติดปากคนบนโลกออนไลน์ นอกเหนือจากงานที่บริษัทแล้ว เขายังถูกรับเชิญไปเป็นนักพูดในเวทีระดับโลกอยู่เป็นประจำ”

“แต่ช่วงหลัง ภาพลักษณ์ของเขากลับเปลี่ยนไป จาก ‘Daddy Ma’ ที่ใครๆ ต่างก็เชิดชูในความสามารถและเฉลียวฉลาด กลายเป็นคนที่รัฐบาลและชาวจีนหลายต่อหลายคนเรียกว่าเป็น ‘ตัวร้าย’ (Villain) และ ‘นายทุนผู้ชั่วร้าย’ (Evil Capitalist) หรือเลวร้ายถึงขั้นเรียกเป็น ‘ผีดูดเลือด’ เลยทีเดียว”

โสภณ ศุภมั่งมี เขียนถึง แจ็ค หม่า นักธุรกิจอันดับต้นๆ ของจีนและของโลก เกิดอะไรขึ้นกับเขาเมื่อจู่ๆ หายตัวไป และภาพลักษณ์ของเขาเปลี่ยนไปอย่างไรในสายตาคนจีน

 

ผัวเดียว หลายเมีย

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

“ระบบผัวเดียวหลายเมียมีความสำคัญต่อการค้ำยันระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยทำหน้าที่ผนวกรวมกลุ่มอำนาจต่างๆ เข้าสู่สถาบันกษัตริย์ผ่านการแต่งงานกับผู้หญิงของตัวแทนกลุ่มอำนาจต่างๆ”

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึงแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ปรากฏผ่านพัฒนาการกฎหมายครอบครัว เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 นำมาซึ่งการแก้ไขระบบครอบครัวให้เปลี่ยนมาสู่ระบบผัวเดียวเมียเดียว

“ระบบผัวเดียวหลายเมียไม่ใช่ลักษณะร่วมกันของสังคมไทยแต่อย่างใด หากเคยเป็นอำนาจทางสังคมของบุคคลบางกลุ่มที่สัมพันธ์กับการค้ำยันโครงสร้างอำนาจทางการเมือง

“ผัวเดียวหลายเมียในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อาจมิใช่เป็นเพียงเรื่องของรสนิยมหรือความมักมากส่วนตัวของชนชั้นนำเท่านั้น หากมีนัยทางการเมืองกำกับครอบครัวในรูปแบบดังกล่าว

“แต่ในสังคมประชาธิปไตย ผัวเดียวหลายเมียอาจไม่ได้มีนัยถึงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองแต่อย่างใด”

ออกแบบเมืองด้วยกลิ่น: ผัสสะที่ถูกมองข้ามนานนับพันปี

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

“ทุกมุมเมืองล้วนมีกลิ่นทั้งสิ้น เช่น กลิ่นอาหาร ถ้าเรานึกถึง food street ในเมืองใหญ่ๆ หลายแห่ง เราจะพบว่ามันมีการ ‘ออกแบบกลิ่น’ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เช่นถนนที่มีการปิ้งสะเต๊ะในสิงคโปร์ ถนนในไต้หวันที่มีการผัดหรืออบอาหาร ทำให้กลิ่นเหล่านี้โชยไปทั่วบริเวณ ยั่วน้ำลายผู้มาเดินให้ต้องควักกระเป๋าจับจ่ายใช้สอย”

คอลัมน์ TREND RIDER สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา ชวนสำรวจ ‘Smellscape’ หรือกลิ่นที่ลอยอยู่ในเมืองจากการออกแบบและวางผังเมือง

“หากไม่มีใครสนใจ อัตลักษณ์ทางกลิ่นของเมืองก็อาจจะหายไป หรือถูกกลิ่นอารยธรรมอื่นๆ (เช่น กลิ่นเครื่องปรับอากาศจากบ้านเรือน โรงแรม และห้างร้าน) เข้ามาเกลื่อนกลืนไปได้ นั่นเพราะกลิ่นเป็นสิ่งที่บอบบาง ชั่วคราว และสูญหายไปได้เร็วมาก แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราก็สามารถออกแบบและวางผังเพื่อให้เมืองยังคงมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เหล่านี้ได้อยู่”

 

The Murderous State

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

Somchai Preechasinlapakun analyzes the Thai state apparatus as what he names a murderous state , which is “a state that has the ability, mechanism, and preparedness at many levels to use deadly violence.”

Somchai then breaks the kinds of violence the murderous state uses against the people into three types of killings: legal murder, extrajudicial killing, and internal power structure killing. Each of these types of killings represent different relationships of violence between the state and the people, but what they all share is the near impossibility of accountability.

Those in the employ of the murderous state continue to kill because they are never held responsible.

 

เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย 2020: เราไม่อาจหวนกลับสู่โลกแบบเดิมได้อีก

 

โดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

“หากเปรียบเศรษฐกิจโลกเป็นคนป่วย เมื่อปี 2019 คนป่วยคนนี้ก็ป่วยเป็นแค่หวัดธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ยังไม่หายป่วยดี กลับต้องมาติดไวรัสชนิดรุนแรงเพิ่มเข้าไปจนสภาพร่างกายทรุดหนักลงไปอีก”

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา พาย้อนมองเศรษฐกิจโลก-ไทยปี 2020 ปีที่เศรษฐกิจโดนโควิด-19 เล่นงานหนักจนทำให้เศรษฐกิจไม่อาจหวนกลับมาแบบเดิมได้อีก

“การถดถอยครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจไทยครั้งนี้ชวนให้คนไทยย้อนนึกถึงวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ที่สร้างความเสียหายและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยอย่างใหญ่หลวง แต่วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ถูกมองว่าอาจย่ำแย่และหาทางออกยากกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในตอนนั้นมาก”

“การมาของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้บาดแผลที่ชื่อว่า ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่ซ่อนอยู่ในซอกหลืบร่างกายของแต่ละประเทศมานานแล้ว ถูกฉีกให้กว้างขึ้น แถมยังถูกเปิดเผยออกมานอกเสื้อผ้าให้เห็นกระจ่างขึ้นไปอีก”

“เมื่อเกิดวิกฤตที่ไม่คาดฝันเช่นนี้มาซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ทรุดหนักลงไปอีก มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาจึงหลากหลายและเข้มข้นขึ้นยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนออกมาตั้งคำถามว่า บาซูก้าการคลังที่รัฐบาลไทยยิงออกมานี้จะช่วยเยียวยาเศรษฐกิจได้จริงและยั่งยืนหรือเปล่า”

“ถึงโควิด-19 จะเป็นไวรัสตัวเล็กๆ ที่เรามองไม่เห็น แต่กลับทรงพลานุภาพ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตคนทั่วโลกโดยสิ้นเชิง…ต่อให้การระบาดจะสิ้นสุดลง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เชื่อว่าชีวิตพวกเราจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้อีก”

 

การเมืองเรื่องศีลธรรม: สองทศวรรษของการใช้กฎหมายอิสลามที่อาเจะห์

 

โดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงเรื่องราวใน ‘อาเจะห์’ จังหวัดปกครองพิเศษในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวที่มีการใช้กฎหมายอิสลามอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2001 ไล่เรียงตั้งแต่ประวัติศาสตร์การใช้กฎหมาย จนถึงประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว

“อาเจะห์มีกฎหมายอิสลามใช้อย่างน้อย 300 ปีก่อนหน้าที่จะเกิดประเทศอินโดนีเซีย จนกระทั่งได้รับสมญานามว่าเป็น ‘ระเบียงแห่งเมกกะ’ ชาวอาเจะห์จึงมีชื่อเสียงเป็นที่รับรู้ของทั้งชาวอินโดนีเซียในที่อื่นๆ และสังคมภายนอกประเทศอินโดนีเซียว่าเป็นชาวมุสลิมที่มีความเคร่งครัดมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ”

“การเห็นชาวติมอร์ตะวันออกสามารถลงประชามติเพื่อกำหนดอนาคตของตัวเองได้ว่าจะเลือกอยู่หรือแยกตัวออกจากอินโดนีเซีย ทำให้ชาวอาเจะห์เรียกร้องในสิ่งเดียวกัน แต่ทว่าสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียตอบสนองคือการอนุญาตให้ชาวอาเจะห์ได้ใช้กฎหมายอิสลาม”

“ตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน กฎหมายอิสลามที่บังคับใช้ที่อาเจะห์ก็ยังไม่ได้ถูกใช้แบบ ‘องค์รวมทุกด้าน’ เช่นที่ผู้วางนโยบายและผู้เกี่ยวข้องคาดหวัง หากจำกัดอยู่ในด้านการแต่งกาย การบริโภคเรื่องดื่มมึนเมา การเล่นการพนัน และการประพฤติผิดทางเพศ โดยบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอิสลามคือการถูกเฆี่ยนต่อหน้าสาธารณชน และนวัตกรรมใหม่ในสังคมอาเจะห์คือ การมีตำรวจศาสนาคอยสอดส่องดูแลผู้ละเมิดกฎหมายอิสลาม”

“ประเด็นอื่นๆ ที่เป็นที่ถกเถียงโต้แย้งกันมากเช่นกันคือประเด็นที่ว่าการใช้กฎหมายอิสลามในอาเจะห์เป็นการใช้แบบเลือกปฏิบัติ ซึ่งโดยมากผู้ที่กระทำผิดกฎหมายและถูกลงโทษมักจะเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มผู้หญิงกล่าวว่าการใช้กฎหมายอิสลามอย่างเข้มงวดจะมุ่งประเด็นที่เรื่องการแต่งกายของผู้หญิง ในขณะที่ผู้มีอำนาจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายอ้างว่า กฎหมายอิสลามบังคับใช้กับทุกคนโดยเสมอภาคกัน”

 

เจาะสนามเกมการเมืองโลก เมื่อวัคซีนกลายเป็นอาวุธการทูต

 

โดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

“การกระจายวัคซีนไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการซื้อขาย การให้เปล่า หรือโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ล้วนไม่ได้เป็นการดีลแบบตรงไปตรงมา หากแต่เป็นภาพสะท้อนระเบียบการเมืองระหว่างประเทศได้อย่างน่าสนใจ”

“‘การทูตวัคซีน’ จึงเป็นสมรภูมิของการเมืองโลกในปี 2021 เมื่อแต่ละขั้วอำนาจต่างใช้วัคซีนสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองกันอย่างเข้มข้น คล้ายเป็นภาคต่อของสงครามการค้า และสงครามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว”

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา พาไปเจาะลึกว่าเกมการทูตวัคซีนกำลังเดินหน้าไปทางใด ชาติมหาอำนาจชาติไหนกระโดดเข้าร่วมการแข่งขันนี้บ้าง อะไรคือแรงจูงใจ ยุทธศาสตร์ และหมัดเด็ดของแต่ละชาติ

“เราจะได้เห็นบรรดาชาติเจ้าของวัคซีนเล่นเกมการทูตวัคซีนกันบนขา 2 ข้าง ทั้งในข้างของการเจรจาตรงกับแต่ละชาติหรือแต่ละภูมิภาค และขาของความร่วมมือพหุภาคีระดับโลกอย่าง COVAX สมรภูมิการทูตวัคซีนโควิด-19 จึงยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้น”

 

ผลงาน ‘อ่านใหม่’ ยอดนิยม เดือนมกราคม 2564

 

ทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม: สำรวจเส้นทางและอุปสรรคของสิทธิการทำแท้ง

 

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

“เวลาเราไปประชุมที่ไหนชอบมีคนถามแบบท้าทายว่า ถ้าทำให้การทำแท้งถูกกฎหมายแล้วคนจะแห่กันไปทำแท้งละสิ เราเจอคำถามนี้มาทั้งชีวิต เราได้แต่ตอบไปว่า คุณคงเข้าใจผิดอะไรบางอย่างนะ การที่ผู้หญิงคนหนึ่งตัดสินใจทำแท้งไม่ใช่เรื่องสนุกสนาน เขาผ่านการคิดและความทุกข์มามาก มันเจ็บปวดทั้งกายและใจ เคยฟังเพลงนี้ไหม Til it happens to you, you don’t know, How it feels…”

“ความพยายามหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สำเร็จ คือการตั้งคลินิกรับปรึกษาปัญหาท้องที่โรงบาลราชวิถีในปี 2537 โดยตั้งชื่อตามละครชื่อดังในสมัยนั้นว่า ‘คลินิกดาวพระศุกร์’ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือทัศนคติส่วนใหญ่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอาจยังไม่เห็นด้วย จึงพยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ต่อ ดังนั้นภายใน 1 ปีจึงมีผู้ใช้บริการแค่ 1,000 กว่าราย เนื่องจากไม่ได้ช่วยอะไรและยังมีข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย จนในที่สุดก็ต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีคนไปรับบริการ” — ทัศนัย ขันตยาภรณ์ จากเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม (CHOICES NETWORK)

“เวลาให้คำปรึกษาถ้าเขาเชื่อว่าบาป ก็เชื่อไป แต่คำถามที่เราตอบได้คือ ชีวิตเขาจะแย่จากบาปกรรมนี้ไหม ก็จะบอกไปว่า มีผู้หญิงมากมายที่ทำแท้งแล้วชีวิตเขาก็ดีไปตามลำดับ มีที่ผู้หญิงเคยทำแท้งแล้วชีวิตแย่ลง เพราะทุกคนมีขึ้นมีลงนะ ไม่ว่าจะเคยทำหรือไม่เคยทำ แต่การทำแท้งไม่ได้ทำให้รูปร่างหน้าตาน้องเปลี่ยนไป ไม่ได้ทำให้มีอะไรแปะหน้าผากหรือขี่คอน้องอยู่”

“หน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือทำให้ทุกๆ คนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียทางร่างกายและชีวิต รัฐต้องทำหน้าที่นี้ แต่ตอนนี้คุณกำลังละเลย ปิดกั้นไม่ให้ผู้หญิงเข้าถึงสิทธิอยู่ ถ้ารัฐมีคอนเซ็ปต์ว่ายุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องของสุขภาพที่ทุกๆ คนต้องรู้ เหมือนการบอกว่า มาออกกำลังกายกันเถอะ จะได้แข็งแรง อย่ากินน้ำตาลเยอะ เดี๋ยวเป็นเบาหวาน ก็ต้องพูดด้วยว่า การยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยนะ ไปทำที่โรงพยาบาลได้” — นิศารัตน์ จงวิศาล นักกิจกรรม ผู้ให้คำปรึกษาการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมจากกลุ่ม ‘ทำทาง’ และแอดมินเพจ ‘คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง’

 

ปัญหาความไร้เสถียรภาพของประชาธิปไตยในลาตินอเมริกาผ่านระบอบประธานาธิบดี

 

โดย เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

ปัญหาสำคัญของประชาธิปไตยในลาตินอเมริกาคือความไร้เสถียรภาพทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงปี 200-2016 ที่หลายประเทศเกิดวิกฤตการณ์ที่ทำให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเสมอไป

เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ พาไปสำรวจข้อถกเถียงถึงปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในลาตินอเมริกาผ่านแวดวงวิชาการที่มองเห็นว่าระบอบประธานาธิบดีเป็นปัญหาสำคัญที่ถูกเสริมด้วยปัจจัยอื่นๆ

การใช้อำนาจของประธานาธิบดีที่ถือว่าตนได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน จึงมีสิทธิและอำนาจในการ ‘ทำแทน’ จนไม่สนใจสถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุล ทำให้เกิด ‘ประชาธิปไตยแบบทำแทน’

ประชาธิปไตยแบบทําแทน หมายถึงระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่เข้มแข็งเป็นปึกแผ่น แต่ก็ยังธำรงอยู่อย่างครึ่งๆ กลางๆ และมีการจัดการเลือกตั้ง
ประชาธิปไตยแบบทําแทน ไม่ถอยกลับไปเป็นระบอบเผด็จการอำนาจนิยม แต่ก็ไม่ได้พัฒนาตนไปเป็น ‘ประชาธิปไตยแบบตัวแทน’ ดังเช่นในประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการไม่สนใจสถาบันตรวจสอบถ่วงดุลคือความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันทางการเมืองลดลง สถาบันเหล่านี้ค่อยๆ หมดอำนาจความสำคัญ และระบบพรรคการเมืองผุกร่อนลง

 

ว่าด้วยเรื่อง Bullshit

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

“ความเท็จเดินทางไปครึ่งโลกแล้วก่อนที่ความจริงจะใส่รองเท้า” วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าเรื่อง bullshit เพื่อให้รู้ทัน bullshitter

 

สุขดาร์คจากยาเสพติด : ความสุขที่ต้องเสี่ยง

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

เช่นเดียวกับสารเคมีที่ทำให้เสพติดชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นป๊อปเปอร์ที่สร้างความสุขบนเตียงเพียงชั่วคราว หรือยาชนิดอื่นที่แรงกว่าและทำให้เรื่องบนเตียงสนุกสนานแบบน็อนสต็อป จะแค่ใช้ยาเพื่อปล่อยตัวเองไปจากโลกแห่งความเป็นจริง หรือจะเป็นเพศไหนที่ทำให้ความสุขแบบนี้แพร่กระจาย

ไม่ว่าจะเป็นใคร สารเคมีชนิดไหน ความสุขที่ต้องเอาสุขภาพและชีวิตเข้าไปเสี่ยงก็มีราคาที่ต้องจ่ายไม่ต่างกัน

 

ธรรมาภิบาลแบบไทยๆ มันเป็นแบบไหนกันนะ

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

 

ใครเป็นข้าราชการ ต้องรู้จักคำว่า ‘ธรรมาภิบาล’ เป็นอย่างดี เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องมีคำนี้ประกอบเข้าไปด้วย จนบางคนบอกว่าเหมือนต้อง ‘ยัดไส้’ คำนี้เข้าไป เช่นเวลาเขียนใบเสนอโครงการก็ต้องเขียนประมาณ

“… ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลของภาครัฐ …”

คำว่าธรรมาภิบาลไม่ได้เป็นที่รู้จักกันในแค่วงการภาครัฐเท่านั้น หากแพร่หลายไปสู่วงการอื่นๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ เราจะรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘บรรษัทภิบาล’

จนถึงวันนี้ ‘ธรรมาภิบาล’ ในไทยมีอายุมากกว่า 20 ปีแล้ว ผู้คนรู้จักอย่างกว้างขวาง มีการใช้กันในแทบทุกโอกาส ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ประหนึ่งว่าต้องใส่คำนี้เข้าไปให้ได้ทุกอณูตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ

แต่เดี๋ยวก่อน สังเกตกันไหมว่า เราในฐานะประชาชนธรรมดา ดูจะไม่ค่อยได้รับประโยชน์จากแนวคิดนี้สักเท่าไร

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

อย่างแรก จริงๆ แล้ว ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดตะวันตก การเอามาปรับใช้กับไทยยังมีปัญหาของมันอยู่ แล้วที่สำคัญ เวลาเอามาปรับใช้ ก็อาจเกิดการปรับใช้กันแบบผิดๆ ถูกๆ ที่เห็นได้ชัดมากในบ้านเราก็คือมักจะเอามาแค่รูปแบบ แต่ไม่ได้เอาเนื้อหาของธรรมาภิบาลมาปรับใช้อย่างเท่าทัน

หลายคนจึงคิดว่า สองเหตุผลนี่แหละ ที่ทำให้คำว่าธรรมาภิบาลออกฤทธิ์ไม่ได้อย่างเต็มที่ในประเทศไทย

 

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนมกราคม 2564

 

101 Round Table “จับตาอนาคตไทยและโลก ปี 2021”

 

โดย 101world

คงมีไม่บ่อยครั้งนักในประวัติศาสตร์โลกที่จะเปิดปีใหม่ด้วย วิกฤตสุขภาพ วิกฤตการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจ

โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างหนักทั่วโลก แม้วัคซีนจะเป็นความหวัง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอีกมากรอคอยอยู่ การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและจีน ยังคงเข้มข้นรุนแรง แม้สหรัฐฯ จะได้ผู้นำใหม่ที่หลายคนคาดหวังมากกว่าคนก่อน ส่วนการเมืองไทยมาถึงจุดที่ไม่อาจหวนกลับตั้งแต่ปี 2020 และไม่มีใครรู้ว่า ปลายทางของวิกฤตรอบนี้คืออะไร

เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะฝ่าฟันความวุ่นวายผันผวนนี้ได้อย่างไร

เช็คสถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจการเมืองไทยและโลก | ตอบโจทย์ อะไรคือความท้าทายที่ต้องพร้อมรับมือในปี 2021

 

101 One-On-One Ep.206 “จาก ม.112 ถึงรัฐธรรมนูญ : โจทย์การเมืองไทยแห่งปี 2564” กับ พริษฐ์ วัชรสินธุ

 

โดย 101 One-on-One

กว่า 21 คดี ผู้ต้องหาอย่างน้อย 41 คน ภายในระยะเวลา 2 เดือน ท่ามกลางข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ทำให้ ‘ม.112’ หรือ ‘กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์’ กลับมาเป็นปมของการเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปกว่า 2 ปี

ในขณะเดียวกันปมเดิมต่อเนื่องจากปีที่แล้วอย่างการออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลายออกง่ายๆ

101 สนทนากับ ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า ว่าด้วยสองโจทย์ใหญ่ของการเมืองไทยปี 2564 เพื่อร่วมหาคำตอบว่า สังคมไทยจะเปลี่ยนผ่านอย่างสันติได้อย่างไร

 

‘ตอบโจทย์ประเทศไทย 2564 : โควิด รัฐธรรมนูญ การเมืองท้องถิ่น’ กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

โดย 101 One-on-One

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ และโรคระบาด หนทางข้างหน้าดูจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

อะไรคือโจทย์ใหญ่ของประเทศไทย และเราจะออกจากหล่มนี้ได้อย่างไร

101 สนทนากับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้า อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย 2564 ว่าด้วยการจัดการวิกฤตโควิด-19, ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และอนาคตของการเมืองท้องถิ่นไทย

 

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save