101 One-On-One Ep.168 : “อ่านไทย อาเซียน และอินโด-แปซิฟิก” กับ ดุลยภาค ปรีชารัชช

101 One-On-One Ep.168 : “อ่านไทย อาเซียน และอินโด-แปซิฟิก” กับ ดุลยภาค ปรีชารัชช

:: podcast :: 101 One-On-One Ep.168 : “อ่านไทย อาเซียน และอินโด-แปซิฟิก” – ดุลยภาค ปรีชารัชช

ในวันที่ 8 สิงหาคม 1967 สมาชิก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมลงนามใน ‘ปฏิญญากรุงเทพ’ อันเป็นจุดเริ่มต้นการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่รู้จักกันในนาม ‘อาเซียน’ (ASEAN)

53 ปีผ่านไป อาเซียนเติบโตและขยายความร่วมมือออกไปทั้งในและนอกภูมิภาค ขณะเดียวกัน จากระบบโลกที่ผันผวนและระเบียบโลกที่ระส่ำระส่าย อาเซียนต้องเจอความท้าทายและโจทย์ที่แหลมคมหลายประการ โดยเฉพาะการที่อาเซียนกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันทางยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างสองมหาอำนาจสหรัฐฯ-จีน

คำถามสำคัญคือ การยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอาเซียนยังสมเหตุสมผลอยู่หรือไม่ในยุคที่โลกพัวพันกันเช่นนี้ อะไรคือโจทย์ใหญ่ของอาเซียนในยุคโลกาภิวัตน์แบบย้อนกลับ อาเซียนจะก้าวย่างในการแข่งขันของมหาอำนาจอย่างไร ประเทศไทยอยู่ตรงไหน และเราควรวางยุทธศาสตร์อย่างไรในสภาวะเช่นนี้

101 สนทนากับ ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และอาจารย์ประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ 5 ทศวรรษอาเซียน รวมไปถึงภาพใหญ่อย่างไทย อาเซียน และอินโด-แปซิฟิก ในเกมกระดานของสองมหาอำนาจสหรัฐฯ-จีน

ดำเนินรายการโดย กานต์ธีรา ภูริวิกรัย กองบรรณาธิการ The101.world

101 One-On-One Ep.168 : “อ่านไทย อาเซียน และอินโด-แปซิฟิก” กับ ดุลยภาค ปรีชารัชช

MOST READ

Media

4 Nov 2022

จาก ‘เมนู’ สู่ ‘เมลิญณ์’ เมื่อถูกรัฐคุกคาม เยาวชนจึงลี้ภัย

เมลิญณ์ หรือชื่อเดิมคือ ‘เมนู-สุพิชฌาย์ ชัยลอม’ เยาวชนนักเคลื่อนไหวการเมือง จำต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังถูกคุกคามอย่างหนัก

ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา

4 Nov 2022

Media

6 Aug 2020

Innerscape Ep.6 เป็นครูศิลปะแบบไหนที่ไม่ทำให้เด็ก ‘กลัว’ ศิลปะ

Innerscape ศิลปะบนผืนใจ ตอนใหม่ ชวนคุยเรื่อง ‘ครูศิลปะ’ ผู้เชื่อมโยงระหว่างเด็กและศิลปะ ตัวแปรสำคัญที่อาจกำหนดว่า ศิลปะจะถูกระบายไปถึงผืนใจของเด็กหรือไม่

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

6 Aug 2020

Media

21 Dec 2018

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

คุณว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม? คุณเคยตั้งคำถามหรือมีอคติกับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศหรือเปล่า? ทำไม การถามเหยื่อว่า “ทำไมแต่งตัวแบบนั้น ถึงเป็นคำถามท่ี่ไม่ควรถาม?” การตั้งคำถามแบบไหน ที่ช่วยฟื้นฟูจิตใจเหยื่อ?

กองบรรณาธิการ

21 Dec 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save