ขณะที่ประชาชนตั้งคำถามต่อนโยบายวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไปทั้งสังคม ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้ดำเนินการกับข้อมูลข่าวสารบิดเบือนผ่านสื่อต่างๆ มีการเตือนผู้มีชื่อเสียงให้เลี่ยงการโพสต์ข้อมูลที่วิจารณ์รัฐบาลและวัคซีน เพราะอาจเป็นการบิดเบือนข้อมูลและเข้าข่าย ‘เฟกนิวส์’
สิ่งที่ตามมาคือกระแสคัดค้านทั้งจากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป จนมีสื่อมวลชนรวมตัวยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าการออกข้อกำหนดฉบับที่ 29 ให้อำนาจ กสทช. ตัดเน็ตผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวนั้นเป็นสิ่งที่ขัดหลักรัฐธรรมนูญ
คำถามก็คือหากผู้สร้างเฟกนิวส์คือภาครัฐเองล่ะ?
101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนคุยกันเรื่อง ‘เฟกนิวส์’ และ ‘ดิสอินฟอร์เมชัน’ อะไรคือความหมายของสองคำนี้ และมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดการข้อมูลที่บิดเบือน โดยไม่ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ ทั้งในวิกฤตโรคระบาดและสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทย
ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร และ ภาวิณี คงฤทธิ์
………
อ่านเพิ่มเติม
วาทกรรมเฟกนิวส์กับบรรยากาศแห่งความ(ไม่)กลัว
เสียงที่ไม่อาจปิดกั้น: กฎหมายไม่ใช่ทางออกในการกำกับดูแลสื่อในความขัดแย้ง
