101 In focus EP.182 : การเมืองขยับแล้ว การศึกษาจะเขยื้อนต่ออย่างไร

ในวาระที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ หนึ่งในนโยบายที่ถูกจับตามองคือ นโยบายการศึกษา เพราะเมื่อย้อนมองเส้นทางการศึกษาไทยที่ผ่านมาจะพบว่า ฝ่ายการเมืองมีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้การศึกษาไทยรุ่งหรือร่วง

หากนักการเมืองที่เข้ามาทำงานการศึกษาเปิดกว้างรับฟังและเลือกนักการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์มาทำงานก็อาจทำให้ประเด็นปัญหาต่างๆ ถูกแก้ไขและมีนวัตกรรมใหม่ได้ แต่หากนักการเมืองมาจากกลุ่มที่มีฐานความคิดแบบเก่า-ปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงก็อาจไม่สร้างความเปลี่ยนแปลงและอาจยิ่งซ้ำเติมปัญหาเดิม

เมื่อการเมืองไทยขยับสู่ฉากใหม่ของการเปลี่ยนแปลง สะท้อนจากผลคะแนนของพรรคการเมืองรุ่นเล็กที่เฉือนพรรคการเมืองเก่าไปได้หลายล้านเสียงอย่างคาดไม่ถึง นโยบายการศึกษาที่ชูขึ้นมาตอนหาเสียงจะถูกเขยื้อนต่ออย่างไรให้เกิดขึ้นจริง แก้ปัญหาได้จริง และพาการศึกษาไทยออกจากหลากปัญหาที่ตกค้างมายุคต่อยุค

101 In Focus Ep.182 ชวนย้อนมองนโยบายการศึกษาในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาจากมุมมองของ 4 นักวิชาการในแวดวง และเปิดข้อเสนอ วิธีแก้ปัญหาการศึกษาไทยของว่าที่รัฐบาลใหม่ว่านโยบายเหล่านี้จะถูกเขยื้อนต่อให้เกิดผลอย่างไร

ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world

…………

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่

การเมืองขยับ การศึกษาต้องเขยื้อน: เมื่อการศึกษาไทยไม่อาจเปลี่ยนได้ด้วยความกลัว

‘การศึกษาเพื่อทุกคน’ ว่าที่รัฐบาลใหม่ตีโจทย์อย่างไร?

MOST READ

Media

4 Nov 2022

จาก ‘เมนู’ สู่ ‘เมลิญณ์’ เมื่อถูกรัฐคุกคาม เยาวชนจึงลี้ภัย

เมลิญณ์ หรือชื่อเดิมคือ ‘เมนู-สุพิชฌาย์ ชัยลอม’ เยาวชนนักเคลื่อนไหวการเมือง จำต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังถูกคุกคามอย่างหนัก

ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา

4 Nov 2022

Media

6 Aug 2020

Innerscape Ep.6 เป็นครูศิลปะแบบไหนที่ไม่ทำให้เด็ก ‘กลัว’ ศิลปะ

Innerscape ศิลปะบนผืนใจ ตอนใหม่ ชวนคุยเรื่อง ‘ครูศิลปะ’ ผู้เชื่อมโยงระหว่างเด็กและศิลปะ ตัวแปรสำคัญที่อาจกำหนดว่า ศิลปะจะถูกระบายไปถึงผืนใจของเด็กหรือไม่

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์

6 Aug 2020

Media

21 Dec 2018

พี่ๆ ข่มขืนหนูซ้ำทำไม?

คุณว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม? คุณเคยตั้งคำถามหรือมีอคติกับผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศหรือเปล่า? ทำไม การถามเหยื่อว่า “ทำไมแต่งตัวแบบนั้น ถึงเป็นคำถามท่ี่ไม่ควรถาม?” การตั้งคำถามแบบไหน ที่ช่วยฟื้นฟูจิตใจเหยื่อ?

กองบรรณาธิการ

21 Dec 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save