มิถุนายน เดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายทางเพศกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงสังคมและโครงสร้างทางกฎหมายไทย ทั้งการเกิดขึ้นของพาเหรดไพรด์ครั้งแรกอย่าง ‘บางกอกนฤมิตไพรด์’ พร้อมกับการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมและ พ.ร.บ. คู่ชีวิต ที่ทำให้ LGBTQIA+ ได้มีความหวังที่จะมีสิทธิแต่งงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. คู่ชีวิตกำลังเป็นที่ถกเถียงในรายละเอียดเนื้อหาของตัวกฎหมาย โดยเฉพาะ ‘สิทธิ’ ที่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศจะได้รับ รวมถึงมุมมองเรื่อง ‘ความเท่าเทียม’ ‘การยอมรับความหลากลายในฐานะมนุษย์’ ที่สะท้อนออกมาแตกต่างจาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
มากไปกว่าประเด็นการแต่งงาน ยังมีปัญหาสิทธิของ LGBTQIA+ เรื่องอื่นๆ ที่ต้องมีการพูดคุยและพิจารณาตัวกฏหมายเช่นกัน อย่างกฎหมายรับรองเพศสภาพของคนข้ามเพศ ไปจนถึงการยอมรับความหลากหลายทางเพศในมิติอื่นๆ เช่น การทำงานในบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานรัฐมีองค์กรที่ช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิต LGBTQIA+
ความหลากหลายทางเพศจึงไม่ใช่แค่เรื่องการสมรสเท่านั้น สังคมไทยจึงต้องขบคิดมิติอื่นๆ ของสิทธิ LGBTQIA+ ไปด้วยกัน ติดตามรายละเอียดเนื้อหาเหล่านี้ได้ใน 101 In Focus Ep.132 ‘ยอมรับแต่ไม่เท่าเทียม’ สิทธิ LGBT อยู่ตรงไหนในสังคมไทย
ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร และ สุดารัตน์ พรมสีใหม่
อ่านเพิ่มเติม
ชำแหละคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ : ตรรกะใดซ่อนอยู่ในสมรส(ไม่)เท่าเทียม
ผู้พิการ LGBT ชายขอบแห่งขอบของความแปลกแยก
