fbpx
Reading in the Rain 10 หนังสือ ‘น่าจะอ่าน’ ในฤดูฝน

Reading in the Rain 10 หนังสือ ‘น่าจะอ่าน’ ในฤดูฝน

ฝรั่งเขาจะมี Summer Reading คือรายชื่อหนังสือสำหรับอ่านในช่วงฤดูร้อน แต่สำหรับเมืองไทย หลายคนบอกว่าฤดูร้อนร้อนเกินกว่าจะอ่านหนังสือได้ เลยอยากชวนคุณมาอ่านหนังสือในฤดูฝนแทน เพราะเวลาฝนตกไปไหนไม่ได้ การมีหนังสืออยู่ในมือจะเป็นเพื่อนที่ช่วยรักษาความหว่องได้ชะงัดนัก

แต่จะอ่านเล่มไหนดีล่ะ

 

เรื่องนี้ เราชักชวนคณะกรรมการ ‘ความน่าจะอ่าน’ ทั้ง 5 คน มาร่วมกันคัดเลือกหนังสือน่าอ่านที่เพิ่งออกใหม่จากงานสัปดาห์หนังสือที่ผ่านมา เอาไว้เป็นคู่มือให้คุณเสาะหามาอ่านในระหว่างฝนตก

รับรองว่า ‘น่าจะอ่าน’ ทั้งนั้น!

Recommended by : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

Art is art , Art is not art

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ เขียน

สำนักพิมพ์แซลมอนบุ๊คส์

Comment : นี่คือหนังสือศิลปะอ่านเข้าใจง่าย ทำให้เรื่องศิลปะกลายเป็นลมหายใจเข้าออก และไม่ต้องมองว่าศิลปะแม่งต้องเป็นของสูงอีกต่อไป

 

ยอดมนุษย์ดาวเศร้า

องอาจ ชัยชาญชีพ เขียน

สำนักพิมพ์ เป็ดเต่าควาย

Comment : หลากหลายเรื่องราวความเศร้า ที่ร้อยเกี่ยวกันเป็นเรื่องเดียว เป็นหนังสือที่สอนให้เรารู้ว่า ทุกคนต่างมีความเศร้า มีเฉดสีหม่นๆ เป็นของตนเอง อ่านแล้วอาจช่วยเยียวยาอารมณ์อึมครึมของคุณ

Recommended by : นิวัต พุทธประสาท

รวมเรื่องสั้น การไปสู่

ชาย บำรุงวงศ์ เขียน

สำนักพิมพ์บ้านเขาน้อย

Comment : เป็นรวมเรื่องสั้นที่ออกตัวมาแบบเงียบๆ เช่นเดียวกับตัวนักเขียน เป็นรวมเรื่องสั้นที่เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ส่วนตัว ครอบครัวคนจีนอพยพ ผ่านความทรงจำของตัวละคร ภาษาของผู้เขียนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรื่องสั้นเต็มไปด้วยเทคนิคที่เรียบง่าย และเต็มไปด้วยบรรยากาศที่สงัดเงียบ

 

Sad at First Sight: ความเศร้ามักจะเจอเรา ก่อนความรัก

Mind da Hed เขียน

Comment : นักเขียนสาวรุ่นใหม่กับผลงานรวมเล่มเล่มแรก เป็นการประกาศตัวในแนวงานเขียนร่วมสมัย ที่สั้น กระชับ และเรียกร้องต่อความรู้สึกอย่างโหยหาความรัก การลาจาก ความซึมเศร้า เหมือนภาพร่างทางความคิดที่กระจัดกระจาย แล้วกรอปมาเป็นองก์เดียว

Recommended by : ทราย เจริญปุระ

เนินนางวีนัส (Delta of Venus)

อนาอิส นิน เขียน

รังสิมา ตันสกุล แปล

สำนักพิมพ์ไลบรารี่ เฮ้าส์

Comment : นุ่มนวลชวนฝันและไม่ล้าสมัย ถึงจะเขียนมาหลายสิบปีแล้ว แปลเป็นไทยได้อบอุ่นมาก

 

พิพิธภัณฑ์แห่งความไร้เดียงสา (The Museum of Innocence)

ออร์ฮาน ปามุก เขียน

นพมาส แววหงส์ แปล

สำนักพิมพ์มติชน

Comment : ค่อยๆ อ่านไปและจะอยากโคว้ททุกหน้า เรื่องกระจุกกระจิกทั้งหมดในหนังสือสรุปได้ด้วยประโยคสุดท้ายปิดเล่มจากเคมาล…คนอ่านอย่างเราตายอย่างสงบ

Recommended by : สฤณี อาชวานันทกุล

แสบ (Dangerous Mind)

โหวเหวินหย่ง เขียน

อนุรักษ์ กิจไพบูลย์ทวี แปล

สำนักพิมพ์แมงมุม

Comment : สนุกวางไม่ลงยิ่งกว่า ‘ลวง’ จากผู้เขียนคนเดียวกัน เล่าเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวในโรงเรียนซึ่งลุกลามเป็นปัญหาระดับชาติ ตีแผ่ปัญหาการศึกษาไต้หวันได้อย่างรอบด้านลึกซึ้ง ซึ่งคนไทยอ่านแล้วน่าจะอินเช่นกันเพราะมีปัญหาคล้ายๆ กัน

 

ลมละเมอ

ทินกร หุตางกูร เขียน

สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

Comment : คุ้มค่าแก่เวลา 9 ปี ที่รอคอยงานใหม่ของนักเขียนคนนี้ ได้อารมณ์ครบรสทั้งไซไฟ ประวัติศาสตร์ บรรยากาศ magical realism ฯลฯ รู้สึกว่าใส่เรื่องการเมืองเข้ามาไม่ ‘เนียน’ เท่าที่ควร แต่ก็นับเป็นบทบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมาในรูปงานวรรณกรรมที่อ่านสนุกและฉุกให้คิดได้เยอะ

Recommended by : โตมร ศุขปรีชา

แว่นตากรอบทอง

จอร์โจ บัสซานี เขียน

นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ แปล

สำนักพิมพ์อ่านอิตาลี

Comment : หนังสือเล่มเล็กๆบางๆ อ่านจบในเวลาไม่นานนัก ว่าด้วยเรื่องของคนรักเพศเดียวกันในอิตาลียุคต้นศตวรรษที่แล้ว เป็นหนังสือที่เคยสร้างเป็นหนังมาก่อน เรื่องราวแผ่วเบา แต่ตัดขวางกับแนวคิดฟาสซิสม์ที่กำลังโด่งดังในยุคนั้น ทำให้สองวิธีคิดสะท้อนโต้ตอบกันอย่างสั่นสะเทือนรุนแรงแต่อ่อนโยน

 

คอสมอส (Cosmos)

คาร์ล เซแกน เขียน

ดร.นำชัย ชีววิรรธน์, ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ, ธิดา จงนิรามัยสถิต แปล

สำนักพิมพ์สารคดี

Comment : คาร์ล เซแกน คือนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักเขียน เขาเป็นเจ้าของเรื่อง Contact ภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครลืมเลือน เล่มนี้เป็นงานเขียนชิ้นเอกของเขา เขานำเรื่องราวของจักรวาล ดาราศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์และความลี้ลับของสรรพสิ่งมานำเสนอไว้ด้วยวิธีเล่าเรื่องประดุจงานวรรณกรรม เหมาะกับการค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ละเลียด เป็นอย่างยิ่ง

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save