นับตั้งแต่การเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 2459 เป็นเวลากว่า 105 ปีแล้วที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ’ หรือที่ใครหลายคนคุ้นชินในชื่อ ‘สถานีหัวลำโพง’ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเดินทางของผู้คนหลากชีวิต ก่อนที่ในเดือนพฤศจิกายน 2564 จะเกิดกระแสข่าวการยุติการเดินรถไฟเข้า-ออกสถานีกรุงเทพทั้งหมด และย้ายไปใช้ที่สถานีกลางบางซื่อแทนภายในสิ้นปี 2564
ประเด็นการย้ายสถานีไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะตั้งแต่วินาทีที่ตอกหมุดสร้าง ‘สถานีกลางบางซื่อ’ เราต่างทราบกันดีว่านั่นคือวินาทีเดียวกันของการนับเวลาถอยหลังการใช้งานสถานีหัวลำโพง
แต่สิ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการคัดค้านจากสังคมอย่างมากคือ การตัดสินใจ ‘ปิดหัวลำโพง’ ครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยไม่ได้ถามความเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ
ขณะเดียวกันเมื่อมองไปยัง ‘แผนพัฒนา’ พื้นที่หัวลำโพงต่อจากนี้ว่าจะถูกเปลี่ยนบทบาทให้กลายเป็น ‘พื้นที่เชิงพาณิชย์’ ก็ยิ่งชวนให้เกิดข้อสงสัยตามมา จนในท้ายที่สุดกระทรวงคมนาคมมีคำสั่งชะลอย้ายการเดินรถไปที่สถานีกลางบางซื่อและยังเปิดให้ขบวนรถไฟทุกขบวนเข้าออกที่หัวลำโพงตามเดิมจนถึงมกราคม 2565 เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
ณ วินาทีที่เรายังไม่รู้ว่าปลายทางของ ‘สถานีกรุงเทพ’ จะเป็นอย่างไรต่อไป 101 ชวนย้อนมองถึงความหมายและคุณค่าของสถานีหัวลำโพงต่อสังคมไทยอีกครั้ง และตอบคำถามสำคัญว่า จริงหรือที่การพัฒนาคือการสร้างใหม่เพียงอย่างเดียว
Related Posts
-
-
มรดกรักจากสหรัฐฯ ถึงพัทยา101 Documentary ชวนท่องอดีตผ่านคำบอกเล่าของพนักงานในบาร์ที่พัทยา และอดีตผู้ประสานงานการซ้อมรบระหว่างกองทัพไทยและอเมริกา
Lasting Legacy มรดกประชาธิปไตยในอีสาน90 ปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราเหลือมรดกอะไรอยู่บ้าง? อ่านประวัติศาสตร์จุดแรกเริ่มของการนิยมรัฐธรรมนูญในเหล่าราษฎรสามัญ ตามรอยอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญและสัญลักษณ์ประชาธิปไตยที่ยังหลงเหลือในภาคอีสาน ภาคที่มีอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญหลงเหลืออยู่มากที่สุดในประเทศไทย
‘ดินแดง’ ดินแดนไม่ประนีประนอม101 ชวนชมสารคดี ‘ดินแดง’ ดินแดนไม่ประนีประนอม - มากไปกว่าร่องรอยความเสียหายตามบ้านเรือน ลึกไปกว่าความเจ็บปวดที่สะท้อนผ่านแววตาของชาวบ้านย่านดินแดง พื้นที่แห่งนี้กลายมาเป็นประจักษ์พยานของ ‘ดินแดน’ ที่ไร้การประนีประนอม และเป็นหลักฐานสำคัญอีกครั้งของการปราบปรามประชาชนอย่างเลือดเย็นของรัฐไทย
-
หัวลำโพง รถไฟ สถานีกรุงเทพ สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟ พื้นที่เชิงพาณิชย์ แผนพัฒนา
ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้มีอเมริกาโน่เย็นเป็นเพื่อนคู่ใจ ใฝ่ฝันที่จะเห็นสังคมที่ไม่ว่าใครก็เป็นตัวเองได้อย่างสบายใจ และเชื่อมั่นเสมอว่าพลังของตัวอักษรสามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้
จบจากหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชอบถ่ายวิดีโอ ตัดต่อ และภาพนิ่ง สนใจในประเด็นสังคม ความเหลื่อมล้ำ และการเมือง อีกทั้งชอบออกกำลังกายโดยเฉพาะฟุตบอลและวิ่ง
เรียนจบนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจวิถีชีวิตผู้คน ดนตรี สิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำ ชอบเล่าเรื่องผ่านงานภาพถ่ายและวิดีโอ