fbpx
ไม่เอาถ่านหินแล้วจะเอาอะไร นิวเคลียร์มั้ย!

ไม่เอาถ่านหินแล้วจะเอาอะไร นิวเคลียร์มั้ย!

ถ้าไม่เอาถ่านหินแล้วจะเอาอะไร?

 

หลายคนอาจตั้งคำถามนี้ขึ้นมา เพราะการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินนั้น พูดได้เลยว่าราคาถูกที่สุด แต่ในเวลาเดียวกัน มันก็น่า ‘อี๋’ ที่สุดด้วย เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก โรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่มีขนาด 500 เมกกะวัตต์ ในแต่ละปีจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตั้งสามล้านตัน ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ว่าตอนนี้โลกคงรับอะไรแบบนี้ไม่ไหวแล้ว

ในอเมริกาเอง ยุคคุณโอบาม่าก็มีเคยนโยบายให้ทั้งประเทศเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนให้ได้ถึง 80% ภายในปี 2035 แต่นโยบายนี้เห็นทีจะไปไม่ค่อยจะรอด เพราะฉะนั้นก็เลยอยากชวนคุณมาตั้งคำถามแทนสหรัฐอเมริกา (และแทนรัฐบาลไทยที่ไม่เคยมีนโบายเกี่ยวกับพลังงานทดแทนกันชัดๆ) ว่า-ก็ถ้าไม่เอาถ่านหิน (ไม่ว่าจะสะอาดไม่สะอาด ซึ่งก็ต้องไปตั้งคำถามกันอีกว่าถ่านหินสะอาดมีจริงหรือเปล่า) แล้วเราจะเอาอะไร

คำถามนี้ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เห็นทีจะตอบยาก แต่บังเอิญว่า Wall Street Journal เขาก็สงสัยคล้ายๆ กันกับเรา (และที่จริงก็สงสัยมานานหลายปีแล้วด้วย เพราะบทความนี้ตีพิมพ์ในปี 2013) เลยไปถามเหล่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแหล่ว่า ถ้าจะต้องเป็นแหล่งพลังงานอื่นที่ไม่ใช่ถ่านหิน ควรจะเป็นอะไรดี มีความเห็นหลากหลายมาก เลยคัดคำตอบสั้นๆ มาให้คุณพิจารณา 5 คำตอบเก๋ๆ ด้วยกัน

1. ก๊าซธรรมชาติสิ :

อันนี้เป็นความเห็นของคุณเครก เพอร์รอง (Craig Pirrong) ซึ่งเป็นอาจารย์จากสถาบันการจัดการพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยฮุสตันในเท็กซัส เชี่ยวชาญเรื่องการเงิน และการจัดการพลังงาน คุณเครกบอกว่า ถ้าไม่ใช้ถ่านหิน ก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าก๊าซธรรมชาติอีกแล้ว ซึ่งก็เป็นความเห็นที่สอดรับกับหลายฝ่าย แม้แต่นิตยสาร Forbes ก็เคยมีบทความสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติที่ว่านี่ ไม่ได้หมายถึงต้องไปขุดเจาะมาอย่างเดียว แต่เป็นการผลิตเอธานอลจากพืชก็ได้ แต่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อนำมาทำก๊าซก็ถูกวิจารณ์มาก ในบราซิลตอนนี้เลยมีการทดลองผลิตเอธานอลจากกากอ้อย คือเอาของเสียมาใช้ประโยชน์ และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก

101.world ว่าไง : ก็น่าสนใจดี แต่ยังไงก็ยังมีปัญหาเรื่องคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ดี เพราะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ยังดี เพราะปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าถ่านหินหรือน้ำมันราว 50-60%

2. ไม่นะ ต้องพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น :

คุณโรเบิร์ต เรเปียร์ (Robert Rapier) จากบริษัทพลังงานหมุนเวียนระดับโลกอย่าง Merica International บอกว่า พลังงานทางเลือกอย่างพลังงานลมและแสงอาทิตย์นี่กำลังมาแรงมากๆ อย่างพลังลมนั้นมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 50 เท่า นับตั้งแต่ปี 1996 จนถึงปี 2011 แต่พลังงานแสงอาทิตย์ในแบบที่เรียกว่า Solar Photovoltaic คือเอาแสงอาทิตย์มาสร้างความร้อนกำลังเป็นความหวังใหม่ และเขาเชื่อว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์นี่แหละ ที่มาเป็นอันดับหนึ่งในอนาคต ซึ่งก็สอดรับกับความเห็นของคุณไมเคิล ลีวายส์ (Michael Levi) ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพลังงานชื่อ The Power Surge ที่บอกว่าไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะมาแน่ๆ ไม่ใช่ในแบบโรงงานใหญ่ แต่กระจายไปทั่วโลก อุปสรรคเดียวที่มีอยู่คือต้นทุนการติดตั้ง ถ้าทำให้ต้นทุนเรื่องนี้ถูกลงละก็…

101.world ว่าไง : โหย เราคิดว่าเจ๋งเลยน่ะสิ โดยเฉพาะในไทย เพราะพลังงานแสงอาทิตย์นี่มีเหลือเฟือ แค่ต้องคิดหาวิธีกักเก็บมันเอาไว้เวลามืดค่ำหรือไม่มีแดดเท่านั้น ซึ่งหลายที่ก็กำลังทำกันอยู่ เทคโนโลยีด้านนี้ก้าวหน้ามากๆ

3. ไม่รู้สิ ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณอยู่ที่ไหนในโลก :

โอ้โห! คำตอบนี้ไม่มีผิดแน่ๆ เพราะแต่ละที่คงจะมีแหล่งพลังงานแตกต่างกันไป อันนี้เป็นความเห็นของคุณเคต กอร์ดอน (Kate Gordon) ซึ่งเป็นรองประธานของโครงการพลังงานและภูมิอากาศที่ชื่อ Next Generation เธอบอกว่า ปัญหาพลังงานเป็นเรื่องของภูมิภาคต่างๆ แต่ละประเทศมีทรัพยากรและความต้องการพลังงานไม่เหมือนกัน ถ้าอยู่ไอซ์แลนด์ ก็พัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพได้ ถ้าอยู่ในแถบที่มีแดดจัด ก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ แต่สิ่งที่เธอเน้นย้ำก็คือ การใช้พลังงานแบบทางเลือกพวกนี้ มันไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานใหญ่ๆ อีกต่อไปแล้ว สร้างแค่เล็กๆ อยู่ได้ใช้ได้แค่บ้านของตัวเอง ต่างคนต่างมีเครื่องผลิตพลังงานที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศก็พอแล้ว

101.world ว่าไง : ไอ้ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือการที่คุณเคตเธอบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้โรงงานใหญ่ๆ กันแล้ว คือก็คงต้องใช้อยู่บ้างล่ะนะ แต่ไม่ถึงกับต้องสร้างเฉพาะที่มัน ‘ใหญ่’ อย่างเดียว สนับสนุนให้คนทั่วไปสร้างแหล่งพลังงานเล็กๆกระจายๆ กันไปได้ คือถ้าเทคโนโลยีมันดีแลถูก แต่ละบ้านก็เลือกวิธีผลิตพลังงานในแบบที่ตัวเองถนัดได้ แต่ก็ดูเป็นอุดมคติเพ้อฝันเหลือเกิ๊น เพราะบริษัทใหญ่ๆ กับรัฐคงไม่ค่อยอยากยอมให้อำนาจในการผลิตพลังงานไปตกอยู่ในมือคนตัวเล็กตัวน้อยหรอก-ควบคุมยาก!

4. ไม่ต้องเถียงกันหรอก นี่ไม่ใช่สงครามศาสนานะ :

คุณแอเรียล โคเฮน (Ariel Cohen) นักวิจัยด้านพลังงานจาก Heritage Foundation บอกแบบนั้น เขาเห็นว่า พลังงานหมุนเวียนไม่เห็นต้องมาจากแหล่งเดียวเลย เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีตั้งเยอะ แต่ละที่ใช้สองอย่างสามอย่างผสมกันก็ได้นี่นา กลางวันใช้แดด กลางคืนใช้ลม หมักก๊าซได้ก็ใช้ก๊าซ ถ้าอยู่ริมน้ำ ก็มีกระแสน้ำขึ้นน้ำลงให้ใช้ อยู่ริมทะเลก็มีพลังงานจากคลื่น หรือถ้ามันแย่จริงๆ จำเป็นจริงๆ ก็ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลบ้างบางทีก็ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ผลิตพลังงานต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) ให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็คล้ายๆ กับคุณทอดด์ เมเยอร์ (Todd Myers) ที่บอกว่าเดี๋ยวตลาดก็เลือกเองแหละ ว่าอยากใช้อะไรที่มันสอดคล้องลงตัวกับความต้องการและความสะดวกสบายที่สุด

101.world ว่าไง : ก็ดีครับ รอดูกันต่อไป ไม่ฟันธงดี

5. ใครจะไปรู้! :

วิ้ว! คำตอบนี้เจ๋งมาก มาจากคุณเจอร์รี่ เทย์เลอร์ (Jerry Taylor) แห่งสถาบัน Cao ในวอชิงตันดีซี เขาศึกษาทั้งเรื่องภาษีพลังงาน ตลาดน้ำมัน การควบคุมไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียน แต่ก็ยังให้คำทำนายที่แม่นยำที่สุด (แม่นกว่าข้อ 3 อีก!) คือ-ใครจะไปรู้ เพราะเขาบอกว่า อดีตไม่สามารถตัดสินอนาคตได้ การปฏิวัติเทคโนโลยีเกิดขึ้นทุกวัน ปัจจุบันนี้มีการวิจัยทางพลังงานมากมายจนผู้เชี่ยวชาญอย่างเขายังไม่สามารถฟันธงได้เลย เขาเคยเขียนหนังสือชื่อ Energy at the Crossroads หรือพลังงานตรงทางแยก บอกว่าโลกกำลังอยู่ตรงหัวเลี้ยวหัวต่อของการใช้พลังงาน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูกันต่อไป

101.world ว่าไง : อืมม์ เป็นคำตอบที่ทำให้ดินแตกระแหงไปเลย (เพราะถูกทุบเสียแรง!) แต่ก็จริงของเขานะนี่ (พยักหน้า)

 

อ่านเพิ่มเติม

-บทความ The Experts: What Renewable Energy Source Has the Most Promise? จาก The Wall Street Journal, April 17, 2013, 5:06 PM

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save